กล้วยหิน ของดีภาคใต้ กล้วยที่นิยมนำมาเป็นอาหารนกกรงหัวจุก

กล้วยหิน ของดีภาคใต้ กล้วยที่นิยมนำมาเป็นอาหารนกกรงหัวจุก

ชื่ออื่นๆ :

ต้นกำเนิด : ฝั่งแม่น้ำปัตตานี เขตพื้นที่หมู่บ้านเรือขุด ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

ชื่อสามัญ : Saba

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa sapientum Linn (ABB group) “Kluai Hin “

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

กล้วยหิน ของดีภาคใต้ กล้วยที่นิยมนำมาเป็นอาหารนกกรงหัวจุก
ผลกล้วยหิน

ลักษณะของกล้วยหิน

กล้วยหินมีความเด่นเฉพาะตัว  เป็นพวกเดียวกับกล้วยน้ำว้า  ความเด่นของกล้วยหิน  เมื่อเปรียบเทียบกับกล้วยชนิดอื่นมีหลายประการ  เช่น   เป็นกล้วยที่มีรสชาติอร่อย ไม่ฝาด ไม่ยุ่ย เนื้อในสีขาวอมเหลือง  มีลักษณะแข็งเล็กน้อย ถึงแม้จะสุกก็เก็บไว้ได้นานกว่ากล้วยชนิดอื่น เมื่ออยู่ในสภาพเดียวกัน ผลมีลักษณะเป็นเหลี่ยมแข็ง

ต้น ลำต้นสูง 3 – 4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบด้านนอกเขียวมีนวล
ใบ ก้านใบค่อนข้างสั้น ร่องใบเปิด
ดอก ปลีรูปร่างค่อนข้างป้อมสั้นรูปร่างคล้ายดอกบัวตูม ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดง เมื่อกาบเปิดจะไม่ม้วนงอ
ผล เครือหนึ่งมี 7 – 10 หวี หวีหนึ่งมี 10 – 15 ผล ผลเป็นรูปห้าเหลี่ยมเปลือกหนา ผลเรียงกันแน่นเป็นระเบียบ ช่องว่างระหว่างหวีน้อย ปลายจุกป้าน เมื่อสุกสีเหลืองเนื้อสีขาวอมเหลือง

การขยายพันธุ์ของกล้วยหิน

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ นิยมปลูกกล้วยหินตอนต้นฤดูฝน  เพราะสะดวกไม่ต้องรดน้ำมากและกล้วยเจริญเติบโตเร็ว และนิยมใช้หญ้าหรือกาบกล้วยที่ตายแล้วนำมาเป็นวัสดุคลุมดิน

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยหินต้องการ

ปลูกในดินแร่ธาตุมาก  เนื้อในจะมีสีเหลือง  แต่ถ้าปลูกในดินทรายแร่ธาตุน้อย เนื้อจะมีสีค่อนข้างดำ ลอกเปลือกยาก

ประโยชน์ของกล้วยหิน

ส่วนใหญ่การใช้ประโยชน์จากกล้วยหิน  จะนิยมนำผลมาบริโภคโดยลักษณะของการนำมาบริโภคนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน เช่น  การนำมาทำกล้วยต้ม  ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ได้รสชาติของกล้วยหินที่แท้จริง  และยังเป็นของฝากที่ขึ้นชื่ออีกด้วย   หรือกล้วยหินเชื่อมและกล้วยหินบวชชี    การปลูกกล้วยหินจึงทำรายได้ให้เกษตรกร ส่วนใหญ่ใช้เลี้ยงนกกรงหัวจุก

ใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนนับตั้งแต่รากใช้ประกอบยาแผนโบราณ ลำต้นใช้ประกอบอาหารรับประทานได้ หรือใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น เป็นอาหารสุกรได้ ใบกล้วยหินใช้เป็นใบตองห่อขนม ห่ออาหารได้ดี ส่วนปลีใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก ผลกล้วยเมื่อแก่จัดและตัดมาแล้วเก็บไว้ได้นานกว่ากล้วยอื่นๆ เก็บไว้ได้นานประมาณ ๗ วัน  ก่อนจะงอม  ผลกล้วยหินใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด  เช่น ผลอ่อนใช้ประกอบอาหารจำพวกแกง ผลแก่ใช้เชื่อม ทอด  ปิ้ง ต้ม ตาก ฉาบ โดยเฉพาะกล้วยหินทอดเป็นรายได้ที่ดีของแม่ค้ากล้วยทอด กล้วยหินต้มก็เป็นรายได้ที่ดีเช่นเดียวกัน   นักท่องเที่ยวจะรู้จักกล้วยหินต้มที่สามแยกบ้านเนียง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ใครที่ขับรถผ่านสามแยกบ้านเนียงส่วนใหญ่จะแวะซื้อกล้วยหินต้มไปฝากคนที่บ้าน

สรรพคุณทางยาของกล้วยหิน

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยหิน

การแปรรูปของกล้วยหิน

“กล้วยหิน” จะนำไปแปรรูปเป็น กล้วยหินฉาบสมุนไพร ถือว่าเป็นการแปรรูปที่ได้รับความนิยม

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับกล้วยหิน

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : upload.wikimedia.org

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

5 Comments

Add a Comment