กะเพรา ใบกะเพรา ราชินีแห่งสมุนไพร เมนูอาหารยอดนิยม ผัดกะเพรา

กะเพรา ใบกะเพรา ราชินีแห่งสมุนไพร เมนูอาหารยอดนิยม ผัดกะเพรา

ชื่ออื่นๆ :  กะเพราขน กะเพราขาว กะเพรา (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) อีตู่ไทย (ภาคอีสาน)

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต

ชื่อสามัญ : กะเพรา Holy basil, Sacred Basil

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.

ชื่อวงศ์ : Lamiaceae (Labiatae)

กะเพรา ใบกะเพรา ราชินี่แห่งสมุนไพร เมนูอาหารยอดนิยม ผัดกะเพรา
ใบกะเพรา

ลักษณะของกะเพรา

กะเพรา ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพราแดงลำต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่

การขยายพันธุ์ของกะเพรา

กะเพราใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์

ธาตุอาหารหลักที่กะเพราต้องการ

ประโยชน์ของกะเพรา

นิยมนำใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา

สรรพคุณทางยาของกะเพรา

  • ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน “แก้โรคบิด” และขับลม
  • เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
  • ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ
  • น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกอก
  • ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 ซึ่งมีราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม
  • แก้ลม ขับลม จุกเสียดในท้อง เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ใช้รักษาโรคของเด็ก คือเอาใบกะเพรามาตำละลายกับน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กแรกเกิดกินเรียกว่าถ่ายขี้เถ้า หรือตำแล้วบีบเอาน้ำผสมกับมหาหิงค์ ทารอบสะดือ แก้ปวดท้องของเด็ก ปรุงเป็นยาผงส่วนมากจะใช้เฉพาะใบ รากแห้งชงกับน้ำร้อนดื่มแก้ธาตุพิการได้ดี เป็นยากันยุง และใบกับดอกผสมปรุงอาหาร
  • เป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลม เกิดจากน้ำมันหอมระเหย และสาร Eugenol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

คุณค่าทางโภชนาการของกะเพรา

กะเพรา มีวิตามินและคุณค่าทางอาหารค่อนข้างมาก โดยกะเพรา 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

  • โปรตีน (4.2 กรัม)
  • ไขมัน (0.5 กรัม)
  • คาร์โบไฮเดรท (2.3 กรัม)
  • วิตามินซี (83 มิลลิกรัม)
  • เบต้าแคโรทีน (2.5 มิลลิกรัม)
  • โครเมียม (2.9ไมโครกรัม)
  • ทองแดง (0.4 ไมโครกรัม)
  • สังกะสี (0.15 ไมโครกรัม)
  • วาเนเดียม (0.54 ไมโครกรัม)
  • เหล็ก (2.32 ไมโครกรัม)
  • นิกเกิล (0.73 ไมโครกรัม)

การแปรรูปของกะเพรา

นำมาแปรรูปทำเป็นยาสมุนไพรและใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับกะเพรา

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : th.wikipedia.org

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

Add a Comment