ตะเคียน ไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่แพ้ไม้ยาง ต้นไม้ประจำจังหวัดปัตตานี

ตะเคียน

ชื่ออื่นๆ : กะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) แคน (ตะวันออกเฉียงเหนือ, เลย) จะเคียน (เหนือ) จืองา (มลายู นราธิวาส) จูเค้ โซเก (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ตะเคียนใหญ่ (กลาง) ตะเคียนทอง (กลาง, ประจวบคีรีขันธ์) ไพร (ละว้า เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด : เกาะบอร์เนียว

ชื่อสามัญ : Iron Wood, Thingan, Sace, Malabar Iron Wood

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea odorata Roxb.

ชื่อวงศ์ : Dipterocarpaceae

ชื่อภาษาอังกฤษ : Iron wood

ตะเคียน ไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่แพ้ไม้ยาง ต้นไม้ประจำจังหวัดปัตตานี
ต้นตะเคียน

ลักษณะของตะเคียน

ตะเคียน เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่แพ้ไม้ยางหรือไม้ยูง ไม้ผลัดใบ ลำต้นตะเคียนเปลาตรง เปลือกจะเรียบ แต่พอต้นใหญ่เปลือกจะแตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดแน่นทึบเป็นพุ่มกลมหรือรูปกรวย กิ่งอ่อนเกลี้ยง เนื้อไม้ตะเคียนสีน้ำตาลปนเหลือง เนื้อละเอียด ใบรูปไข่แกม รูปหอกเกลี้ยงเป็นมัน ลักษณะคล้ายใบตะเคียนชันตาแมว แต่ในตะเคียนทองมีข้อสังเกตได้ตรง ที่ง่ามแขนงใบที่ติดกับเส้นกลางใบตะเคียน มักมีตุ่มหูดเกลี้ยง ๆ ติดอยู่เสมอ ดอกตะเคียนเล็ก ๆ สีขาวกลิ่นหอม ออกรวมกัน เป็นช่อโตๆ ตามง่ามใบ ดอกจะเรียงกันเป็นแถวบนก้านแขนงช่อ ช่อจะมีขนเทา ๆ ทั่ว ๆ ไป ทั้งกลีบดอก และกลีบรองกลีบดอก มีอย่างละ 5 กลีบ ผล รูปกระสวยเล็ก ๆ มีปีกยาว 2 ปีก และปีกสั้น 3 ปีก ปีกยาวแต่ละปีกมีเส้นตามยาว 7 เส้น

การขยายพันธุ์ของตะเคียน

ใช้เมล็ด/การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดเพาะ เมล็ดควรจะเก็บจากต้น คือ สังเกตุพอเห็นปีกเริ่มเป็นสีน้ำตาลก็เก็บได้เลย แล้วรีบนำมาเพาะทันที หากทิ้งไว้นานเปอร์เซ็นต์การงอก จะน้อยมาก

ธาตุอาหารหลักที่ตะเคียนต้องการ

ประโยชน์ของตะเคียน

  • ไม้ตะเคียนนับว่ามีประโยชน์สำหรับสิ่งก่อสร้าง เช่น ทำเรือ ทำเครื่องตกแต่งบ้านและเครื่องมือ เครื่องใช้ในการกสิกรรมมาก เพราะเนื้อไม้สวยทนทานต่อภูมิอากาศได้ดีมาก
  • ต้นไม้ประจำจังหวัดปัตตานี เป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของตะเคียน

  • แก่นมีรสขมอมหวาน มีสรรพคุณช่วยแก้โลหิตและกำเดา (แก่น)
  • ช่วยคุมธาตุ (เนื้อไม้) ปิดธาตุ (แก่น,ยาง)
  • ช่วยแก้ไข้สัมประชวร หรือไข้ที่เกิดมาจากหลายสาเหตุ และมักมีอาการแสดงที่ตา เช่น แดง เหลือง หรือขุ่นคล้ำ เป็นต้น (แก่น)
  • แก่นไม้ตะเคียน ใช้ผสมกับยารักษาทางเลือดลม กษัย (แก่น)
  • ช่วยแก้อาการลงแดง (เปลือกต้น)
  • ช่วยขับเสมหะ (แก่น)
  • เปลือกต้นนำมาต้มกับเกลือ ใช้อมช่วยป้องกันฟันหลุด เนื่องจากินยาเข้าปรอท (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้อาการปวดฟัน แก้เหงือกบวม (แก่น)
  • ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบ (เปลือกต้น)
  • ช่วยฆ่าเชื้อโรคในปาก (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้บิดมูกเลือด (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้อาการท้องร่วง (แก่น,เนื้อไม้)
  • ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ยาง)
  • ช่วยห้ามเลือด (เปลือกต้น,เนื้อไม้)
  • ใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น)
  • เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างรักษาบาดแผลเรื้อรัง (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้อาการอักเสบ (เปลือกต้น,เนื้อไม้)
  • ยางใช้ผสมกับน้ำใช้ทารักษาบาดแผล หรือจะทำเป็นยางแห้งบดเป็นผงใช้รักษาบาดแผล
  • เปลือกเนื้อไม้มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ ใช้ฆ่าเชื้อโรค (เปลือกต้น,เนื้อไม้)
  • ยางจากไม้ตะเคียนเมื่อนำมาบดเป็นผง สามารถใช้เป็นยารักษาช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ใช้ทำยาหม่องเพื่อช่วยบรรเทารักษาบาดแผลหรือบริเวณที่มีอาการฟกช้ำตามร่างกาย (ยาง)
  • ช่วยรักษาคุดทะราด (แก่น)
  • ดอกใช้เข้าในตำรับยาเกสรร้อยแปด ใช้ผสมเป็นยาทิพย์เกสร (ดอก)
  • ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตะเคียนทอง มีข้อมูลระบุว่ามีฤทธิ์แก้แพ้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์

คุณค่าทางโภชนาการของตะเคียน

การแปรรูปของตะเคียน

แปรรูปตะเคียนเป็นสิ่งก่อสร้าง เช่น ทำเรือ ทำเครื่องตกแต่งบ้านและเครื่องมือ เครื่องใช้ในการกสิกรรม

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับตะเคียน

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : www.nanagarden.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

2 Comments

Add a Comment