สาคู ลำต้นคล้ายปาล์ม พืชท้องถิ่นเอเชีย พืชสารพัดประโยชน์

สาคู ลำต้นคล้ายปาล์ม พืชท้องถิ่นเอเชีย พืชสารพัดประโยชน์

ชื่ออื่นๆ :

ต้นกำเนิด : นิวกินีและหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย

ชื่อสามัญ : สาคู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Metroxylon sagus Rottb

ชื่อวงศ์ : PALMAE

สาคู ลำต้นคล้ายปาล์ม พืชท้องถิ่นเอเชีย พืชสารพัดประโยชน์
ต้นสาคู

ลักษณะของสาคู

สาคู เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นพืชที่ต้องการปริมาณน้ำสูงชอบความชุ่มชื้น แต่มีอากาศร้อนช่วงอุณหภูมิ ประมาณ 29-32 องศาเซลเซียส ขึ้นในที่ราบลุ่ม ชื้นแฉะ ริมแหล่งน้ำ พื้นที่ที่มีน้ำจืดขังตลอดปี หรือป่าพรุ สามารถทนต่อสภาพน้ำท่วม หรือน้ำแห้ง เป็นระยะค่อนข้างนานได้ดี
สาคู จะมีลำต้นคล้ายปาล์มขวดหรือมะพร้าว ลำต้นเปลาตรงไม่มีหนามตามลำต้น ยกเว้นในบางชนิด มีใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวคล้ายใบมะพร้าว เมื่อโตเต็มที่มีความสูง ประมาณ 10-12 เมตร และเป็นพืชที่มีทั้งดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน เมื่อผลิตดอกออกผลแล้วต้นจะตาย เช่นเดียวกับต้นลาน (Corypha spp.) ดอกออกเป็นเกลียวเรียงตัวกันเป็นคู่ ๆ ในแต่ละคู่มีดอกตัวผู้ และดอกเป็นหมันผสมสลับกันไปกับดอกตัวเมียที่สมบูรณ์ การผสมพันธุ์ของพืชชนิดนี้จะผสมข้ามเช่นเดียวกับปาล์มน้ำมัน จำนวนโครโมโซมของสาคูมีอยู่ 26 คู่ (2n) เมื่อต้นโตเต็มที่มีใบยาว ประมาณ 6 – 7 เมตร แต่ละใบมีใบย่อย ประมาณ 50 คู่ แต่ละใบย่อย มีความยาว 60-180 เซนติเมตร ความกว้างของแผ่นใบประมาณ 5 เซนติเมตร รวมระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่งอกจนถึงออกผลแล้วตาย ประมาณ 12 ปี

การขยายพันธุ์ของสาคู

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/แยกหน่อจากโคนต้นเดิม แล้วแผ่กระจายออกเป็นกอใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยการใช้เสียม หรือมีดพร้า ขุด แซะ หน่อสาคูออกจากต้นแม่ โดยเลือกหน่อ ที่มีขนาดไม่โตมากนักแล้วนำมาแช่น้ำให้ส่วนโคนจมน้ำ ภายใต้พื้นที่ที่มีความเข้มของแสง ประมาณ 50% ใช้เวลา ประมาณ 2 เดือน รากจะงอกออกมาใหม่แล้วจึงย้ายไปปลูกในพื้นที่จริง
การเพาะด้วยเมล็ด โดยให้เก็บเมล็ดสาคูที่สุกเต็มที่ และต้องเลือกเอาเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์ โดยสามารถใช้เข็ม หรือเหล็กแหลมแทงเมล็ดดู หากเมล็ดมีความแข็ง การแทงจะไม่ทะลุ แสดงว่าเมล็ดนั้นมีความสมบูรณ์ จากนั้นให้เอาเปลือกนอก และเยื่อหุ้มเมล็ดออก นำไปเพาะชำในทราย หมั่นรดน้ำเช้าเย็น เมล็ดจะเริ่มทยอยงอก ในช่วงเวลา ประมาณ 20 – 60 วัน หลักการเพาะเมื่อเมล็ดงอกให้ทำการย้ายชำลงถุงดิน ขนาด 5 x 8 หรือ 8 x 10 นิ้ว กล้าสาคู มีความสูงเฉลี่ย ประมาณ 50 เซนติเมตร แต่ส่วนใหญ่พบว่า การงอกของต้นสาคู มีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำมาก เนื่องจากมีผลที่มีเมล็ดไม่สมบูรณ์สูงกว่าเมล็ดที่สมบูรณ์
สำหรับเทคนิคการปลูก ให้ขุดหลุมตื้น โดยปลูกให้ส่วนด้านบนของเหง้าอยู่เหนือผิวดิน และผูกเชือกมัดต้นกล้ากับไม้หลักให้แน่น เพื่อป้องกันการพัดพาของน้ำ และแรงลม หมั่นตัดใบที่แห้งทิ้ง และทำการกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ ต้นกล้าสาคูก็จะสามารถเจริญเติบโตได้ดี
อย่างไรก็ตามจากการศึกษา พบว่า ต้นสาคูที่ปลูกในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ถึงแม้จะอยู่ในบริเวณเดียวกัน ก็จะมีผลการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน

ธาตุอาหารหลักที่สาคูต้องการ

ประโยชน์ของสาคู

ประโยชน์ทางตรง
1.1 ใบสาคู ใช้ใบสาคูเย็บเป็นจาก สำหรับมุงหลังคาและกั้นฝา เป็นจากที่มีความทนทานกว่าจากที่ทำจากใบปาล์มชนิดอื่น ๆ ซึ่งปกติจะมีอายุการใช้งานประมาณ 6-10 ปี และถ้านำไปแช่น้ำเสียก่อนประมาณ 15 วัน ถึง 1 เดือน อาจใช้งานได้นาน 9-10 ปี
1.2 เนื้อในของส่วนลำต้น ใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ โดยสามารถทำได้ 4 วิธี คือ
1) ตัดลำต้นให้เป็นท่อนสั้น ๆ ประมาณ 50 เซนติเมตร ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงแทะกินโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเป็ด และไก่
2) ผ่าลำต้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ก่อนที่จะให้สัตว์กิน
3) ถากเปลือกนอกออกจากส่วนของลำต้นก่อน จากนั้นจึงสับ หรือขูด หรือบดให้ละเอียด นำไปผสมกับอาหารชนิดอื่น ก่อนนำไปให้สัตว์เลี้ยงกิน
4) นำเส้นใยส่วนที่เหลือ จากการสกัดเอาแป้งออก แล้วนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผสมกับวัตถุดิบอื่นก่อนนำไปให้สัตว์กิน
1.3 สกัดเอาแป้งจากส่วนของลำต้น โดยเลือกต้นที่กำลังออกดอก หรือต้นที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเลือกต้นสาคูที่มีอายุมาก เนื่องจากต้นสาคู ยิ่งอายุมาก ไส้ในลำต้นก็จะยิ่งมีแป้งเพิ่มขึ้นเท่านั้น จากนั้นใช้เลื่อยยนต์ ตัดโค่นลงมา และตัดแบ่งเป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร แช่น้ำไว้ เพื่อรักษาคุณภาพแป้งให้อยู่ในสภาพที่ดีได้นานขึ้น และจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากปฏิกิริยาเคมี หลังจากนั้นทำการถากเปลือกนอกออก เลือกเอาแต่ไส้ในตอนกลาง ๆ ของลำต้น แล้วใช้ขวานผ่าให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ และนำไปบดโดยเครื่องโม่บด จากนั้นนำไปผสมน้ำแล้วทำการแยกแป้งออก โดยการบิด บีบ และนำมากรองเอาแป้ง การใช้อุปกรณ์ในการกรองที่แตกต่างกัน จะให้แป้งที่มีคุณภาพต่าง ๆ กัน จากนั้นนำแป้งที่แยกได้ มาตากแดดให้แห้ง หลังจากได้แป้งสาคูที่แห้งแล้ว จึงทำการบรรจุใส่ถุงพลาสติก เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป (ในปัจจุบันพบว่า กระบวนการผลิตแป้งสาคู ด้วยวิธีนี้ทำกันอยู่บ้างในจังหวัดตรัง ปัตตานี และนราธิวาส โดยในแต่ละจังหวัดมีเพียง 2-3 ครอบครัวเท่านั้นที่ทำเป็นอาชีพหลัก)
1.4 นำเปลือกนอกมาทำเชื้อเพลิง โดยนำเปลือกนอกที่ถากออกจากลำต้นมาตากให้แห้ง นำไปเป็นเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี

สรรพคุณทางยาของสาคู

คุณค่าทางโภชนาการของสาคู

การแปรรูปของสาคู

สาคู นิยม นำมาแปรรูปเป็นขนม อย่างเช่น สาคูไส้หมู เป็นต้น

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับสาคู

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : www.vegetweb.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

2 Comments

Add a Comment