เหรียง ลูกเหรียง พืชวงศ์เดียวกับสะตอ พืชท้องถิ่นภาคใต้

เหรียง ลูกเหรียง พืชวงศ์เดียวกับสะตอ พืชท้องถิ่นภาคใต้

ชื่ออื่นๆ : (ไทย)เหรียง เรียง สะเหรี่ยง (ภาคใต้) กะเหรี่ยง นะกิง นะริง (มาลายู ภาคใต้)

ต้นกำเนิด : –

ชื่อสามัญ : (ไทย)เหรียง เรียง สะเหรี่ยง (ภาคใต้) กะเหรี่ยง นะกิง นะริง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parkia javanica Merr.

ชื่อวงศ์ : Mimosaceae

ชื่อภาษาอังกฤษ : Nitta tree

เหรียง ลูกเหรียง พืชวงศ์เดียวกับสะตอ พืชท้องถิ่นภาคใต้
ดอกลูกเหรียง

ลักษณะของลูกเหรียง

ลูกเหรียง เป็นพืชวงศ์เดียวกับสะตอและลูกดิ่ง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง สูงถึง 50 เมตร มีพูพอนสูงถึง 7 เมตร ลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับสะตอ แต่แตกต่างกันตรงที่พุ่มใบของเหรียงมักจะเป็นพุ่มกลม ไม่แผ่กว้างมากนักพุ่มใบแน่นและเป็นสีเขียวทึบกว่าพุ่มใบของสะตอ เปลือก เรียบ กิ่งก้านมีขนปกคลุมประปราย ใบ ก้านใบยาว 4 – 12 ซม. มีต่อมรูปมนยาว 3.5 – 5 มม. อยู่เหนือโคน ก้านแกนช่อใบยาว 25 – 40 ซม. มีช่อใบแขนงด้านข้าง 18 – 33 คู่ ใต้รอยต่อของก้านช่อใบแขนงด้านข้างมักจะมีต่อมเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 3 ซม. ช่อใบแขนงยาวประมาณ 7 – 12 ซม. แต่ละช่อมีใบย่อย 40 – 70 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนานแคบ ๆ กว้าง 5 – 7 มม. ยาว 1.5 – 1.8 มม. ปลายใบแหลมโค้งไปทางด้านหน้า ฐานใบมักจะยื่นเป็นติ่งเล็กน้อย เส้นแขนงใบด้านข้างไม่ปรากฏชัดเจน
ดอก ออกเป็นช่อกลม ขนาดของดอกกว้าง 2 ซม. ยาว 5 ซม. ก้านช่อดอกยาว 20 – 25 ซม. ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น ๆ และใบประดับยาว 4 – 10 มม. รองรับกลีบรองกลีบดอกของดอกสมบูรณ์เพศเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 8 – 11 มม.
ผล เป็นฝักกว้าง 3 – 4 ซม. ยาว 22 – 28 ซม. ตัวฝักตรงไม่บิดเวียนเหมือนสะตอบางพันธุ์ เมล็ดไม่นูนอย่างชัดเจน แต่ละฝักมีเมล็ดรูปไข่ ขนาดประมาณ 11 x 20 มม. ประมาณ 20 เมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดหนาสีคล้ำ

เหรียง ลูกเหรียง พืชวงศ์เดียวกับสะตอ พืชท้องถิ่นภาคใต้
ฟักลูกเหรียง

การขยายพันธุ์ของลูกเหรียง

ลูกเหรียงใช้เมล็ด/การปลูกไม้เหรียงควรจะทำการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพราะจะทำให้กล้าไม้เจริญเติบโตได้ดี มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายปลูกควรอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม ขนาดของกล้าไม้ที่เหมาะสมในการย้ายปลูกอายุประมาณ 2.5 เดือน สูงประมาณ 30 ซม.

ธาตุอาหารหลักที่ลูกเหรียงต้องการ

ประโยชน์ของลูกเหรียง

ลูกเหรียงใช้ประโยชน์สำหรับเป็นผักบริโภค กล้าของเหรียงที่เพาะใหม่ ๆ สามารถนำมารับประทานเป็นผักได้เช่นเดียวกับสะตอ แต่เหรียงจะมีรสขมกว่า กรรมวิธีในการนำเมล็ดเหรียงออกมารับประทานก็คือ เมื่อฝักของเหรียงแก่จัดจะตกลงนั้น สามารถนำไปกระเทาเอาเมล็ดออกมา เมล็ดมีเปลือกแข็ง ทำให้สามารถเก็บเมล็ดได้นาน และจะนำมาเพาะได้เมื่อจำเป็น ในการเพาะควรตัดปลายเมล็ดแล้วนำไปเพาะในกะบะทรายจึงจะนำไปแช่น้ำค้างคืนก่อนที่จะมีความชุ่มชื้นเพียงพอ ต่อมาก็จะมีรากและใบเลี้ยงโผล่ออกมา ซึ่งใบเลี้ยงจะมีลักษณะสีเขียวจึงแกะเอาเปลือกออกล้างน้ำให้สะอาด นำไปรับประทานเป็นผักต่อไป

เหรียง ลูกเหรียง พืชวงศ์เดียวกับสะตอ พืชท้องถิ่นภาคใต้
เมล็ดเหรียง

สรรพคุณทางยาของลูกเหรียง

หน่อเหรียง หรือ ลูกเหรียง หรือ เมล็ดเหรียง จะมีรสมัน สรรพคุณแก้จุกเสียด ช่วยในการขับลม และช่วยให้เจริญอาหารได้ดี เปลือกต้น -เป็นยาสมานแผล ลดน้ำเหลือง เมล็ด -เมื่อแก่ตัดส่วนปลายนำไปเพาะให้แตกรากสั้นๆ รับประทานสด หรือดอง รส (รสทางยา) : มัน ฝาด

คุณค่าทางโภชนาการของลูกเหรียง

การแปรรูปของลูกเหรียง

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับลูกเหรียง

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก :  www.bloggang.com, 2.bp.blogspot.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

Add a Comment