ไผ่ป่า ไม้มงคล ลำต้นเป็นปล้อง ต้นไม้สารพัดประโยชน์

ไผ่ป่า ไม้มงคล ลำต้นเป็นปล้อง ต้นไม้สารพัดประโยชน์

ชื่ออื่นๆ :  ไผ่หนาม ไผ่ ไผ่รวก ซางหนาม (เงี้ยว-ภาคเหนือ) ซารอง ซาเรียง (โซ่-นครพนม) ทะงาน (ซอง-ตราด) ทูน (ชาวบน-เพชรบูรณ์) ระไซ (เขมร-สุรินทร์)

ต้นกำเนิด : –

ชื่อสามัญ : ไผ่ป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa Bambos (L.X Voss

ชื่อวงศ์ : Gramineae

ไผ่ป่า ไม้มงคล ลำต้นเป็นปล้อง ต้นไม้สารพัดประโยชน์
ไผ่ป่า

ลักษณะของไผ่ป่า

ไผ่ป่า เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุล เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ ไผ่ป่า เป็นไผ่ขนาดใหญ่ กอแน่น มีหนาม และมีแขนงรกแน่น โดยเฉพาะตรงบริเวณโคนลำ สูงประมาณ 10-24 ซม. มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-18 ซม. ปล้องยาวประมาณ 20-40 ซม. เนื้อหนา 1-5 ซม. ลำอ่อนมีสีเขียว ลำแก่จะมีสีเขียวเหลือง ข้อมีลักษณะบวมเล็กน้อย รูกระบอกเล็ก กาบหุ้มลำลักษณะแข็งเหมือนหนัง ร่วงหลุดได้ง่าย ยาว 30-40 ซม. กว้าง 20-30 ซม. ตอนปลายกลม ขอบเรียบและมีขนสีทอง ลำใหญ่กว้าง กระจับกาบหุ้มลำแคบ ใบยอดกาบเป็นรูปสามเหลี่ยม
ใบไผ่ป่า ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือเกือบกลม ท้องใบมีขน เส้นกลางใบข้างบนแบน ก้านใบสั้น 0.5 ซม. ครีบใบเล็ก ขอบใบมีหนามเล็ก ๆ กาบใบแคบไม่มีขนนอกจากตามขอบอาจจะมีขนอ่อน
ดอกไผ่ป่า จะออกดอกเป็นกลุ่ม(Gregariour flowering)ไม้ไผ่ที่ออกดอกประเภทนี้ จะออกดอกพร้อมๆกัน ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง
หน่อไผ่ป่า หน่อใต้ดินรับประทานได้เหมือนหน่อไผ่ซาง หน่อขึ้นมาพ้นดินนิยมนำไปทำหน่อไม้ดอง

การขยายพันธุ์ของไผ่ป่า

ใช้เมล็ด/นิยมคือ ปักชำข้อ และเพาะเมล็ดซึ่งสามารถเก็บเมล็ดได้มาก เช่นเดียวกับไผ่รวกและไผ่ซางนวล ปริมาณเมล็ด/1กิโลกรัม ประมาณ 81,800 เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ไผ่ป่าต้องการ

ประโยชน์ของไผ่ป่า

1. การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้
2. การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์
3. การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์
4. การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ
5. การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร

สรรพคุณทางยาของไผ่ป่า

ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น
การแปรรูป ลำต้นใช้ทำนั่งร้านสำหรับก่อสร้างหรือทาสี ใช้ทำบันไดขึ้นต้นตาล ปลูกเป็นแนวกันลม และปลูกเพื่อป้องกันริมฝั่งน้ำ หน่อมีการแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง

คุณค่าทางโภชนาการของไผ่ป่า

การแปรรูปของไผ่ป่า

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับไผ่ป่า

References : www.bedo.or.th

รูปภาพ : www.niyommit.org

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

One Comment

Add a Comment