ผัก ผลไม้คลายร้อน ลองหาทานกัน เผื่อจะช่วยให้เย็นขึ้นได้ค่ะ

ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
BabyPink
โพสต์: 93
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 28 ม.ค. 2013 11:51 am

ผัก ผลไม้คลายร้อน ลองหาทานกัน เผื่อจะช่วยให้เย็นขึ้นได้ค่ะ

ข้อมูล โดย BabyPink »

กิน "พืชผักผลไม้" ช่วยคลายร้อน (ธรรมลีลา)
โดย : ป้าบัว

เมษายนนี่เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในประเทศไทยเลยค่ะ ดังนั้นคอลัมน์อาหารเป็นยาประจำเดือนนี้ "ป้าบัว" ขอนำพืชผักผลไม้ ที่ช่วยดับร้อน ผ่อนกระหายมาบอกเล่ากันค่ะ เพราะฤดูกาลนี้บ้านเรามีพืชผักผลไม้มากมาย ที่พาเหรดกันออกมาให้ได้รับประทานคลายร้อนกัน

นอกจากจะช่วยดับกระหายแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ช่วยรักษาและป้องกันโรคได้ด้วย

เพราะตามหลักการแพทย์แผนไทยนั้นเชื่อว่า พืชผักที่ออกตามฤดูกาลมีสรรพคุณป้องกันและรักษาโรคที่เกิดขึ้นตามฤดูได้ เช่น หน้าร้อน มักจะมีอาการวิงเวียน อ่อนเพลีย คอแห้ง กระหายน้ำ ร้อนใน ท้องผูก ดังนั้น พืชผักผลไม้ที่มีรสขมเย็น เปรี้ยว หรือจืด จะช่วยลดความร้อนในร่างกาย แก้กระหาย และช่วยให้เจริญอาหาร ซึ่งตรงกับหลักการแพทย์แผนจีนที่แนะนำให้รับประทานอาหารที่ให้ความเย็นแก่ร่างกาย (แต่ไม่ใช่น้้ำแข็ง หรือไอศกรีมนะคะ)

มาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าพืชผักผลไม้ที่ช่วยแก้กระหาย และหาได้ง่าย ๆ ยามนี้ แถมราคาถูก มีอะไรกันบ้าง
071009_1.jpg
071009_1.jpg (51.06 KiB) Viewed 2824 times
พืชผักดับร้อน

มะระ เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ แก้กระหาย บรรเทาอาการร้อนใน แก้อักเสบ เจ็บคอ

สะระแหน่ เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการหวัดลมร้อน

ชะอม ช่วยลดความร้อนในร่างกายขับลมในลำไส้

ถั่วเขียว มีฤทธิ์ขับร้อนใน แก้กระหาย ขับปัสสาวะ

ผักกาดขาว ช่วยแก้ร้อนใน ป้องกันมะเร็ง

ปวยเล้ง เป็นยาเย็น ช่วยขับร้อน แก้กระหาย

แตงกวา ขับปัสสาวะ แก้ไข้ กระหายน้ำ ไฟลวก ถ่ายพยาธิ แก้ท้องเสีย

ตำลึง ดับพิษร้อนภายในร่างกาย ลดอาการไข้ เป็นยาระบายอ่อน ๆ

ใบบัวบก บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ แก้ร้อนในกระหายน้ำ อ่อนเพลีย ช่วยรักษาอาการฟกช้ำ ช่วยให้เลือดกระจายตัว แก้ช้ำใน ความดันโลหิตสูง ป้องกันมะเร็ง

ฟักเขียว มีฤทธิ์เย็น ช่วยถอนพิษ ขับร้อนในร่างกาย แก้ธาตุพิการ ขจัดเสมหะ ขับปัสสาวะ บำบัดอาการบวมน้ำ ไอ หอบ แก้บิด เบาหวาน และบำบัดโรคที่เกี่ยวกับระบบเลือด

ผักบุ้ง บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงเลือด ลดไข้ แก้เบาหวาน แก้ร้อนใน บำรุงสายตา

หัวไชเท้า ล้างพิษภายใน ดับพิษร้อน บำรุงไต ขับปัสสาวะ ละลายนิ่ว

สายบัว ลดอาการเกร็งขอลำไส้ และกระเพาะอาหาร ลดความเครียดทางสมอง บรรเทาอาการท้องผูก ขับปัสสาวะ ดับพิษ ร้อนในกาย

กระเจี๊ยบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด แก้ไอ แก้เสมหะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ละสายไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

มะเขือเทศ ช่วยดับกระหาย ทำให้เจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต ให้ทำงานได้ดี ช่วยขับพิษและสิ่งคั่งค้างในร่างกาย และเป็นยาระบายอ่อน ๆ

กระจับ เป็นยาเย็น ช่วยดับร้อน ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว และแก้พิษจากการดื่มสุรา

ผลไม้ดับกระหาย

มะม่วง ดับกระหาย ละลายเสมหะ แก้อาการไอ คลื่นไส้อาเจียน ขับปัสสาวะ ช่วยให้เลือดลมของสตรีเป็นปกติ

แตงโม บำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร รักษาไต บรรเทาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ลดความดันโลหิต ลดความร้อนในร่างกาย แก้กระหายน้ำ

มะเฟือง ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนภายในร่างกาย ปวดศรีษะ บรรเทาอาการไอ และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

ลูกตาล ช่วยละลายเสมหะในลำคอ บรรเทาอาการไอ แก้กระหายน้ำ ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย

แตงไทย ดับกระหาย ลดความร้อนในร่างกาย ขับปัสสาวะ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ

ระกำ ป้องกันไข้หวัด ช่วยย่อยอาหารทำให้เจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ

ลองกอง ลดอุณหภูมิความร้อนภายในร่างกาย แก้อาการร้อนใน ทำให้ชุ่มคอ

ลางสาด ละลายเสมหะ ทำให้ชุ่มชื่น เป็นยาลดไข้ แก้ท้องเสีย

ชมพู่ บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น เป็นยาลดไข้ แก้ท้องเสีย

กระท้อน ชุ่มคอแก้กระหายน้ำ และลดอาการเจ็บคอ

ส้มโอ ช่วยในการขับถ่ายและขับสารพิษแก้อาการท้องอืด ช่วยระบายความร้อนในร่างกาย ผ่อนพิษไข้

ลิ้นจี่ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงอวัยวะภายในและระบบปราสาท แก้กระหายน้ำ

สับปะรด แก้กระหาย ช่วยย่อยอาหารลดความร้อนในร่างกาย ลดความเสี่ยงการเป็นโรคไต และความดันโลหิตสูง แก้อาการบวมน้ำของร่างกาย ขับปัสสาวะ

แห้ว ช่วยบำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ต่อต้านแบคทีเรียได้ดี ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการท้องผูก แก้อาการพิษเนื่องจากดื่มสุรา

อ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย ลดอุณหภูมิความร้อนภายในร่างกาย บรรเทาอาการกระหายน้ำ ช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นไส้ อาเจียน

มังคุด ช่วยลดความร้อนภายใน แก้กระหายน้ำ ช่วยเพิ่มเมือกภายในลำไส้และกระเพาะทำให้ถ่ายคล่อง

กล้วย แก้ความดันโลหิตสูง ลดภาวะความเป็นพิษของร่างกาย ช่วยให้ปอดชุ่มชื่นและแก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี

เลือกซื้อเลือกหามารับประทานกันตามชอบใจนะคะ จะทานสด ๆ หรือปรุงเป็นอาหาร หรือคั้นน้ำดื่ม ก็แล้วแต่สะดวกค่ะ
ข้อมูลจากธรรมลีลา

ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”