ลดเผาพื้นที่เกษตร...สางปัญหาหมอกควัน - เกษตรทั่วไทย

ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

ลดเผาพื้นที่เกษตร...สางปัญหาหมอกควัน - เกษตรทั่วไทย

ข้อมูล โดย KasetTaln »

ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในเขตภาคเหนือ ส่วนหนึ่งเกิดจากการเผาพื้นที่เกษตรทั้งการเผาตอซังฟางข้าว เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัชพืช เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการทำเกษตรในรอบการผลิตถัดไป อย่างไรก็ตาม ปีนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้รณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรลดการเผาในพื้นที่เกษตรตามนโยบายรัฐบาล พร้อมมอบหมายให้สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 หรือ สสข.6 ติดตามความเคลื่อนไหวการเผาในพื้นที่เกษตรอย่างใกล้ชิดในช่วงวิกฤติ 100 วันอันตราย มาตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม-30 เมษายน 2556 ทำให้ปัญหาการเผาพื้นที่เกษตรเบาบางลง ส่งผลให้ปัญหามลพิษจากหมอกควันในภาคเหนือลดน้อยลงด้วย

นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันภาคเหนือว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดของกรมที่อยู่ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และ ตาก ให้ควบคุมกำกับพื้นที่การเกษตรในเขตรับผิดชอบไม่ให้มีการเผาโดยเด็ดขาดและให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะช่วงวิกฤติ 100 วันอันตราย ขณะเดียวกันยังย้ำให้ทุกหน่วยงานติดตามเฝ้าระวังการเผาพื้นที่เกษตรอย่างใกล้ชิด และต้องรายงานผลการปฏิบัติงานให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดและ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 (สสข.6) จังหวัดเชียงใหม่ ทราบทุกสัปดาห์ ภายในเวลาไม่เกิน 10.00 น. ของทุกวันจันทร์ และให้ สสข. 6 รวบรวมรายงานเสนอให้กรมฯทราบทุกสัปดาห์ด้วย

นอกจากนั้น ยังมอบหมายให้ สสข.6 และสำนักงานเกษตรจังหวัดทั้ง 9 จังหวัดดังกล่าว เร่งรณรงค์และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การไม่เผาในพื้นที่เกษตรในระดับพื้นที่ โดยให้ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล เป็นศูนย์ กลางและมี อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) เป็นเครือข่าย พร้อมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว และกลุ่มองค์กรสถาบันต่างๆ ไปแล้วรวม 172 ครั้ง อีกทั้งยังรณรงค์และประชาสัมพันธ์ไม่ให้มีการเผาในพื้นที่เกษตรผ่านเว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับเกษตรกร จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ การไถกลบตอซังเพื่อลดการเผา การไถกลบตอซังเพื่อสร้างดินยั่งยืน ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยหมัก และยังมีการจัดขบวนรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ไปตามจังหวัดต่าง ๆ ภายใต้โครงการ ’ไม่เผาป่า รักษาธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์“ ซึ่งดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จากรายงานเบื้องต้นพบว่า มีการเผาในพื้นที่เกษตรไม่มากนัก

ทางด้าน นายสุภัทร สุปรียธิติกุล ผอ.สสข.6 กล่าวว่า สสข.6 ได้จัดตั้ง ’ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันภาคเหนือ“ ขึ้นตามที่ได้รับมอบหมายจากกรมส่งเสริมการเกษตร ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันใน 9 จังหวัดภาคเหนือ โดยศูนย์ฯได้วางแผนร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดทั้ง 9 จังหวัด เพื่อกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันในช่วงวิกฤติ 100 วันอันตราย ซึ่งเน้นให้สำนักงานเกษตรจังหวัดติดตามเฝ้าระวังไม่ให้มีการเผาพื้นที่เกษตรในพื้นที่โดยเด็ดขาด

ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคมนี้ ศูนย์ฯได้รับรายงานว่า มีการเผาในพื้นที่เกษตรรวมทั้งสิ้น 74 ครั้ง เป็นการเผาเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถดับไฟได้ทัน นับว่าปริมาณการเผาในพื้นที่เกษตรมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า ปีนี้การเผาส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยทิศทางลมส่งผลให้เกิดปัญหาหมอกควันในเขตภาคเหนือด้วย

อย่างไรก็ตาม กรมส่งเสริมการเกษตรได้เร่งรณรงค์ส่งเสริมเพื่อกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกให้กับเกษตรกรไม่ให้เผาพื้นที่เกษตร โดยมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผลดีของการไม่เผาพื้นที่เกษตร รวมถึงผลเสียของการเผาด้วย ทั้งยังมีการส่งเสริมและจัดสาธิตการไถกลบตอซัง พื้นที่ 1,935 ไร่ เกษตรกร 909 ราย ขณะเดียวกันยังส่งเสริมและสาธิตการทำปุ๋ยหมักให้แก่เกษตรกร 944 ราย กองปุ๋ยหมัก 748 กอง และถ่ายทอดเทคโนโลยีจัดสาธิตการเพาะเห็ดฟางให้กับเกษตรกร 395 ราย

“นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมและสาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสดในการปรับปรุงบำรุงดิน พื้นที่ 1,571 ไร่ เกษตรกร 701 ราย พร้อมจัดสาธิตการปลูกพืชในแหล่งที่มีน้ำเพียงพอ พื้นที่ 6,334 ไร่ เกษตรกร 2,424 ราย พร้อมส่งเสริมและสาธิตการใช้จุลินทรีย์ในพื้นที่การเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว พื้นที่กว่า 35,000 ไร่ เกษตรกร 7,772 ราย และยังมีการสร้างเครือข่ายปลอดการเผา 100 เครือข่าย เกษตรกร 405 ราย คาดว่าจะเป็นแนวทางช่วยลดการเผาในพื้นที่เกษตรในปีถัดไปได้อย่างดี และเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันในภาคเหนือได้” นายสุภัทรกล่าว.

ข้อมูลจาก เดลินิวส์

ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”