อ้อยดำ ใครจะรู้ว่าเป็นยาได้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นคืออ้อย อ้อยขม อ้อยแดง อ้อยตาแด

ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
admin
Administrator
โพสต์: 423
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 14 ม.ค. 2013 4:02 am

อ้อยดำ ใครจะรู้ว่าเป็นยาได้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นคืออ้อย อ้อยขม อ้อยแดง อ้อยตาแด

ข้อมูล โดย admin »

มีชื่อเรียกอย่างอื่นคืออ้อย อ้อยขม อ้อยแดง อ้อยตาแดง

มีชื่อเรียกอย่างอื่นคืออ้อย อ้อยขม อ้อยแดง อ้อยตาแดง
ในตำรายาไทยใช้ ลำต้นทั้งสดหรือแห้ง ขับปัสสาวะ ใช้ลำต้นวันละ 1 กำมือ (สด 70-90 กรัม แห้ง 30-40 กรัม หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำ รับประทาน วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) รักษาโรคนิ่ว อาการไอ แก้ไข้ คอแห้ง กระหายน้ำ แก่น ผสมกับแก่นปีบ หัวยาข้าวเย็น ต้มดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ ยาฟอกเลือด แก้ช้ำบวม กินแก้เบาหวาน แก้ไอ ขับเสมหะ เปลือกต้น รสหวานขม แก้ตานขโมย แก้แผลเน่าเปื่อย แผลกดทับ
ชานอ้อย รสจืดหวาน แก้แผลเรื้อรัง แก้ฝีอักเสบบวม
anosh
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 18 เม.ย. 2015 1:12 pm

Re: อ้อยดำ ใครจะรู้ว่าเป็นยาได้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นคืออ้อย อ้อยขม อ้อยแดง อ้อย

ข้อมูล โดย anosh »

ประสบการณ์ ในการปลูกผักหวานป่า 3 ปีที่ผ่านมา สามารถบอกได้เต็มปากเต็มคำ การปลูกผักหวานป่าที่ประหยัดที่สุด รอดตายมากที่สุด ต้องปลูกผักหวานป่าด้วยเมล็ดเท่านั้น ความแตกต่างของการปลูกผักหวานป่าด้วยกิ่งตอนและเมล็ดพันธุ์ ที่เห็นได้ชัด นั้นก็เรื่องของราคา กิ่งตอนราคาอยู่ราวๆ 200-300 บาท ขณะที่เมล็ดพันธ์ ราคาอยู่ประมาณเมล็ดละ 2-3 บาท และถ้าเป็นต้นกล้าที่อยู่ในถุงเพาะราคาประมาณ15-25 บาท
.
การปลูกผักหวานป่าด้วยกิ่งตอน ใช้เวลา 1-2 ปี ก็จะสามารถเก็บยอดขายได้ แต่อย่าลืม ราคากิ่งพันธ์ 200-300 บาทใช้เงินทุนไม่น้อย และถ้าจะปลูกเพื่อการค้าก็ต้องปลูกเป็นจำนวนมาก ขณะที่การปลูกผักหวานป่าด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ถ้าศึกษาเรียนรู้อย่างถูกวิธี จะเป็นการขยายพันธุ์ที่ใช้ต้นทุนต่ำ อัตราการรอดตายมากที่สุด และที่สำคัญการปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์เป็นวิธีที่ได้รากแก้วและระบบรากที่สมบูรณ์ ถึงแม้นว่าจะต้องใช้เวลาปลูกอย่างน้อย 3-4 ปี ถึงจะสามารถเก็บยอดขายได้
.
ballthai2015
โพสต์: 11
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 21 ก.ค. 2015 5:48 pm

Re: อ้อยดำ ใครจะรู้ว่าเป็นยาได้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นคืออ้อย อ้อยขม อ้อยแดง อ้อย

ข้อมูล โดย ballthai2015 »

ถือเป็นภูมิปัญญาไทยและสมุนไพรไทยค่ะ
ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”