พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง ปี 2551 รวม 4 พันธุ์

ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง ปี 2551 รวม 4 พันธุ์

ข้อมูล โดย KasetTaln »

พันธุ์รับรอง ข้าวเจ้าพันธุ์
1. เจ๊กเชย 1
เจ็กเชย1-2.jpg
เจ็กเชย1-2.jpg (86.36 KiB) Viewed 3928 times
เจ็กเชย1-1.jpg
เจ็กเชย1-1.jpg (40.19 KiB) Viewed 3928 times
ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์ เจ๊กเชย 1 เป็นพันธุ์ข้าวที่คัดเลือกมาจากข้าวพันธุ์เจ๊กเชยพื้นเมือง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของ อำเภอเสาไห้จังหวัดสระบุรี พันธุ์ข้าวเจ๊กเชยเป็นข้าวที่มีคุณภาพการหุงต้มดีเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค ในทางการค้าใช้เป็นชื่อเรียกข้าวเสาไห้โดยทั่วไป ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีได้เริ่มต้นปรับปรุงพันธุ์ในฤดูนาปี 2545 โดยเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวชื่อเจ๊กเชย จากแปลงเกษตรกรจังหวัดสระบุรี จำนวน 34 ตัวอย่างพันธุ์ ทำการปลูกคัดเลือกแบบหมู่(mass selection) ได้สายพันธุ์ PTTC02019 แล้วคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ (pure line selection) จนได้สายพันธุ์บริสุทธิ์PTTC02019-1 กาบใบสีเขียว ในฤดูนาปี 2546 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ เจ๊กเชย 1เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551
ลักษณะประจำพันธุ์
พันธุ์ เจ๊กเชย 1 เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ออกดอกประมาณ 5-10 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง ความสูง ประมาณ 160-170 เซนติเมตร ปล้องสีเหลืองอ่อน ใบค่อนข้างแก่เร็ว ลิ้นใบสีขาวมี 2 ยอด หูใบและข้อต่อใบสีเขียวอ่อน ใบธงหักลง ลักษณะรวงค่อนข้างแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว ยอดเกสรตัวเมียสีขาว เมล็ดไม่มีหาง เปลือกเมล็ดสีฟาง ขนบนเปลือกเมล็ดสั้น น้ำหนักข้าวเปลือกต่อถัง 11.50 กิโลกรัม ระยะพักตัว 6 - 7 สัปดาห์เมล็ดดี 282 เมล็ดต่อรวง เมล็ดร่วงปานกลาง นวดง่ายข้าวเปลือกยาว 10.34 มิลลิเมตร กว้าง 25.51 มิลลิเมตร หนา 2.01 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาว ท้องไข่น้อย (0.5) รูปร่างเรียวยาว 7.67 มิลลิเมตร กว้าง 2.12 มิลลิเมตร หนา 1.77 มิลลิเมตรคุณภาพการสี ให้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวร้อยละ 43.6 ปริมาณอะมิโลสสูง (27.8%) ปริมาณโปรตีนในข้าวกล้อง 6.1 เปอร์เซ็นต์ค่าความคงตัวของแป้งสุก ปานกลาง (40-59 มิลลิเมตร)ค่าการสลายเมล็ดในด่าง (1.7 %KOH) ปานกลาง (5.3) ไม่หอมค่อนข้างแข็ง ค่อนข้างร่วน การยืดตัวของแป้งสุก 1.6-1.8 อัตราส่วนข้าว:น้ำ ที่เหมาะสมในการหุงต้ม (โดยน้ำหนัก) 1 : 2.0 - 2.3
ผลผลิต
เฉลี่ย 601 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวิธีปักดำ และเฉลี่ย 575กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
ลักษณะเด่น
1. ข้าวสารมีคุณภาพดีแบบข้าวเสาไห้ เมื่อหุงสุกข้าวจะขึ้นหม้อร่วนเป็นตัวไม่เกาะกัน เนื้อสัมผัสจากการชิม ค่อนข้างแข็งแต่มีความนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง ซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากข้าวพันธุ์อื่น เหมาะกับผู้มีรสนิยมในการบริโภคข้าวค่อนข้างร่วนถึงร่วน
2. คุณภาพแป้งของข้าวเจ๊กเชย สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นและขนมได้ดี
3. ผลผลิตเฉลี่ย 601 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวิธีปักดำ และเฉลี่ย575 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม หากมีการจัดการที่ดีสามารถให้ผลผลิตเฉลี่ยได้ถึง 812 กิโลกรัมต่อไร่ในสภาพนาดำ
4. สามารถปลูกในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในเรื่องน้ำท่วมเนื่องจากเป็นข้าวต้นสูงและทนน้ำท่วมได้ดีกว่าข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงที่ปลูกในพื้นที่เดียวกัน
พื้นที่แนะนำ
จังหวัดสระบุรีและจังหวัดใกล้เคียงที่มีนิเวศการเกษตรคล้ายคลึงกัน
ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
แก้ไขล่าสุดโดย KasetTaln เมื่อ อาทิตย์ 24 ก.พ. 2013 10:36 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

Re: พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง ปี 2551 รวม 4 พันธุ์

ข้อมูล โดย KasetTaln »

พันธุ์รับรอง ข้าวเหนียวพันธุ์
2. กข14
กข14.jpg
กข14.jpg (108.32 KiB) Viewed 3928 times
กข14-2.jpg
กข14-2.jpg (55 KiB) Viewed 3928 times
ประวัติ
ข้าวเหนียวพันธุ์ กข14 ได้จากการผสมคู่ (double cross)ระหว่างคู่ผสม IR54883-8-2-3 ซึ่งมีเชื้อพันธุกรรมต้านทานโรคไหม้
โรคขอบใบแห้งและให้ผลผลิตสูง และ กข6 กับคู่ผสม IR54883-8-2-3และขาวดอกมะลิ 105 ที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ในปี 2535 ปลูกลูกผสมชั่วอายุที่ 1 และคัดเลือกสายพันธุ์ตั้งแต่ชั่วอายุที่ 2 ถึง 6 ในปี2536-2540 จนได้สายพันธุ์ PRE92039-13-1-2-2 ปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นสูง (4 แถว) ที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ในปี 2541 เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ในปี 2542-2545 และ
นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน และแปลงทดลองดงหลักหมื่น อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ในฤดูนาปี 2544-2547 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ในจังหวัดแพร่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา อุตรดิตถ์ และแม่ฮ่องสอนในฤดูนาปี 2544-ฤดูนาปรัง 2548 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ กข14 เพื่อแนะนำ
ให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551
ลักษณะประจำพันธุ์
พันธุ์ กข14 เป็นข้าวเหนียว ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว134-138 วัน ความสูงประมาณ 105-120 เซนติเมตร กอตั้ง ต้นแข็งใบและกาบใบสีเขียว และใบธงตั้งตรง ยอดเกสรตัวเมียสีขาวความยาวรวงเฉลี่ย 29.39 เซนติเมตร รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่คอรวงยาว จำนวนเมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 166 เมล็ดต่อรวง น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ดเฉลี่ย 27.58 กรัม ข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีสีฟางขีดน้ำ ตาล บางเมล็ดสีฟาง เปลือกเมล็ดมีขนสั้นข้าวเปลือกยาว 10.57 มิลลิเมตร กว้าง 3.01 มิลลิเมตร หนา2.31 มิลลิเมตร คุณภาพการสีดีมาก ระยะพักตัว 9 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียวยาว เฉลี่ย 7.55 มิลลิเมตร กว้าง2.45 มิลลิเมตร หนา 2.02 มิลลิเมตร อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ข้าวสุกเหนียวนุ่มใกล้เคียงพันธุ์ กข10 และ สันป่าตอง 1
ผลผลิต
เฉลี่ย 666 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
1. ผลผลิต ฤดูนาปีให้ผลผลิตเฉลี่ย 666 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ กข10 และสันป่าตอง 1 คิดเป็น 13 และ 6 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ สำหรับฤดูนาปรังให้ผลผลิตเฉลี่ย 711 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ กข10 คิดเป็น 14 เปอร์เซ็นต์
2. เป็นข้าวเหนียวเมล็ดยาวที่มีคุณภาพการสีดีมาก
3. ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ (Pyricularia grisea) และขอบใบแห้ง (Xanthomonas oryzae pv.oryzae)ในภาคเหนือตอนบน
4. เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง กอตั้ง ต้นแข็ง ความสูงอยู่ระหว่าง 105-120 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยว 134-138 วันปลูกได้ตลอดปี
พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทานหรือมีแหล่งน้ำเหมาะสม เขตภาคเหนือตอนบน สามารถปลูกได้ทั้งฤดูนาปีและฤดูนาปรัง
ข้อควรระวัง
อ่อนแอต่อแมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
แก้ไขล่าสุดโดย KasetTaln เมื่อ อาทิตย์ 24 ก.พ. 2013 10:38 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

Re: พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง ปี 2551 รวม 4 พันธุ์

ข้อมูล โดย KasetTaln »

พันธุ์รับรอง ข้าวเจ้าพันธุ์
3. กข37
กข37-1.jpg
กข37-1.jpg (105.87 KiB) Viewed 3928 times
กข37-2.jpg
กข37-2.jpg (63.92 KiB) Viewed 3928 times
ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์ กข37 ได้จากการผสมเดี่ยว ระหว่างพันธุ์ข้าวIR46 กับพันธุ์ กข7 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ใน พ.ศ. 2531 ปลูกคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมตั้งแต่ชั่วที่ 2 ถึงชั่วอายุที่ 5 พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2536จนได้สายพันธุ์ PTL88114-10-1-1 และปลูกศึกษาพันธุ์ขั้นต้นและขั้นสูง ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2543 ต่อมา พ.ศ. 2544มีการคัดเลือกอีกในการศึกษาพันธุ์ขั้นสูง จนได้สายพันธุ์PTL88114-10-1-1-17 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีพ.ศ. 2545 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2549(ฤดูนาปีและนาปรัง) ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ ในพ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2549 (ฤดูนาปีและฤดูนาปรัง) ที่จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และกระบี่ ปลูกทดสอบเสถียรภาพการให้ผลผลิต ทดสอบศักยภาพการให้ผลผลิต และทดสอบในนาเกษตรกร พ.ศ. 2550 ที่จังหวัดพัทลุง และนครศรีธรรมราช คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ กข37 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่26 กันยายน 2551
ลักษณะประจำพันธุ์
พันธุ์ กข37 เป็นข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว118 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 602 กิโลกรัมต่อไร่ กอตั้งตรง ต้นแข็งไม่ล้มใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว รวงแน่นปานกลางระแง้ถี่ปานกลาง คอรวงยาว ต้นสูง ประมาณ 105 เซนติเมตรมีจำนวนรวง 225 รวงต่อตารางเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000เมล็ด 29.6 กรัม น้ำหนักข้าวเปลือก 10.2 กิโลกรัมต่อถัง เมล็ดดี131 เมล็ดต่อรวง เปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวเปลือกยาว 10.56มิลลิเมตร กว้าง 2.50 มิลลิเมตร หนา 2.03 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาวรูปร่างเรียว ยาว 7.89 มิลลิเมตร กว้าง 2.27 มิลลิเมตร หนา1.88 มิลลิเมตร เป็นท้องไข่น้อย มีปริมาณแอมิโลสปานกลาง( 21.6%) ระยะพักตัวของเมล็ด 6 สัปดาห์
ผลผลิต
เฉลี่ย 602 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตสูง เฉลี่ย 602 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 1(539 กก./ไร่) 12 เปอร์เซ็นต์
2. ต้านทานต่อโรคไหม้ (Pyricularia grisea Sacc.) และค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง (Xanthomonas oryzae pv. oryzae)
3. ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว (Sogatella furcifera (Horvath) ประชากรแมลงจากจังหวัดน่าน สุพรรณบุรี ปทุมธานี และเพชรบุรี
ลักษณะเมล็ดทางกายภาพของข้าวสายพันธุ์ PTL88114-10-1-1-17
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่ภาคใต้ในเขตลุ่มน้ำปากพนังและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
ข้อควรระวัง
ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นประจำ
แก้ไขล่าสุดโดย KasetTaln เมื่อ อาทิตย์ 24 ก.พ. 2013 10:39 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
KasetTaln
โพสต์: 176
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 16 ม.ค. 2013 1:24 pm

Re: พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรอง ปี 2551 รวม 4 พันธุ์

ข้อมูล โดย KasetTaln »

พันธุ์รับรอง ข้าวเจ้าพันธุ์
4. กข39
กข39-1.jpg
กข39-1.jpg (102.96 KiB) Viewed 3928 times
กข39-2.jpg
กข39-2.jpg (100.76 KiB) Viewed 3928 times

ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์ กข39 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างIR54017-131-1-3-2 และ สุพรรณบุรี 60 ที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ในฤดูนาปี พ.ศ. 2534 ปลูกลูกผสมชั่วอายุที่ 1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ในฤดูนาปี 2535 ปลูกคัดเลือกแบบสืบตระกูล (pedigree)ชั่วอายุที่ 2-8 ในฤดูนาปี ระหว่าง ปี พ.ศ. 2536 – 2540 จนได้สายพันธุ์ PRE91001-SPT-17-1-1-3-2-3 ปลูกศึกษาพันธุ์ในฤดูนาปี ระหว่าง ปี พ.ศ. 2541 – 2542 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ในฤดูนาปี พ.ศ. 2543 ที่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่และวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมีที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ในฤดูนาปี ระหว่าง ปี พ.ศ.2544–2546 ที่ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย
ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ และศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน วิเคราะห์คุณภาพเมล็ด ทางกายภาพ และทางเคมี และทดสอบความต้านทานโรคและ แมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ ที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2546 – 2548ในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และนครศรีธรรมราช คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ กข39 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 26
กันยายน 2551
ลักษณะประจำพันธุ์
พันธุ์ กข39 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว125-130 วัน ต้านทานต่อโรคไหม้ทรงกอตั้ง ลำต้นแข็งไม่ล้ม กาบใบและใบมีสีเขียว ปล้องสีเหลืองอ่อน ลำต้นสูงประมาณ 95-116เซนติเมตร ยอดเกสรตัวเมียสีขาว รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่คอรวงยาว น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 31.76 กรัมเมล็ดดี 140 เมล็ดต่อรวง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.03มิลลิเมตร กว้าง 3.12 มิลลิเมตร หนา 2.41 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาวรูปร่างเรียว ยาว 7.89 มิลลิเมตร กว้าง 2.38 มิลลิเมตร หนา 1.99มิลลิเมตร เป็นท้องไข่น้อย มีปริมาณแอมิโลสต่ำ (16.84%)คุณภาพการหุงต้มดี ข้าวสุกนุ่ม ผลผลิตเฉลี่ย 577 กิโลกรัมต่อไร่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตถึง 815 กิโลกรัมต่อไร่ ที่แปลง
เกษตรกร อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ในฤดูนาปี 2546 ระยะพักตัวของเมล็ด 4 สัปดาห์
ผลผลิต
เฉลี่ย 815 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
1. ต้านทานต่อโรคไหม้ (Pyricularia grisea Sacc.) และค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง(Xanthomonas oryzae pv. oryzae)
2. คุณภาพการหุงต้มดี ข้าวสุกนุ่ม
3. สามารถปลูกบนที่สูงไม่เกิน 900 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่สูงในเขตชลประทานหรือมีแหล่งน้ำเหมาะสม ในภาคเหนือตอนบน และพื้นที่สูง 600–900 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในพื้นที่ที่มีการชลประทานสนับสนุน
ข้อควรระวัง
ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาดเป็นประจำของแมลงบั่ว (Orseolia oryzae Wood-Mason ) เพลี้ยกระโดดหลังขาว (Sogatella furcifera Horvath) และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens Stål)
ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”