การผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย (ราขาว)

ความรู้วิชาการเกษตร หมวดนี้สำหรับรวบรวม ความรู้ทางการเกษตร ทุกรูปแบบ
BabyPink
โพสต์: 93
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 28 ม.ค. 2013 11:51 am

การผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย (ราขาว)

ข้อมูล โดย BabyPink »

การผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย (ราขาว)
อุปกรณ์ที่ใช้
1. หม้อนึ่งลูกทุ่ง พร้อมเตาแก๊ส 6. ช้อนตักสารสแตนเลส 11. กระดาษหุ้มปากถุง
2. ตู้เขี่ยเชื้อ 7. สำลีหรือขี้ฝ้าย 12. กะละมังพลาสติก
3. แอลกอฮอล์ ๙๕% 8. กระบอกฉีดน้ำ 13. หัวเชื้อราบิวเวอเรีย
4. แอลกอฮอล์ ๗๐% 9. ยางวงเล็ก 14. เมล็ดข้าวโพดบด
5. ตะเกียงแอลกอฮอล์ 10. คอขวดพลาสติก 15. ถุงพลาสติกทนร้อนขยายข้าง 6x12 นิ้ว

1. นำเมล็ดข้าวโพดบดมาล้างให้สะอาด และแช่น้ำไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วตักออกไปผึ่งบนตะแกรงให้แห้งพอหมาด ๆ ประมาณ 30 นาที

2. นำเมล็ดข้าวโพดบดที่ผึ่งแห้งหมาดแล้วบรรจุถุงพลาสติกทนความร้อน ขนาด 6 X 12 นิ้ว ถุงละ 500 กรัม (5 ขีด) ใส่คอขวดพลาสติก ปิดด้วยจุกสำลี แล้วใช้กระดาษปิดทับอีกชั้นหนึ่ง พร้อมทั้งรัดด้วยยางวง

3. นำถุงเมล็ดข้าวโพดบดไปนึ่งในหม้อนึ่งลูกทุ่ง เพื่อทำการฆ่าเชื้อโรค ใช้เวลานาน 3 ชั่วโมง เริ่มนับเวลาตั้งแต่มีไอน้ำพุ่งออกมา แล้วนำถุงเมล็ดข้าวโพดบดออกจากหม้อนึ่ง ทิ้งไว้ให้เย็น

4. นำถุงเมล็ดข้าวโพดบดที่นึ่งแล้ว ใส่หัวเชื้อราบิวเวอเรีย ประมาณ 1 ช้อนกาแฟ แล้วนำไปเก็บไว้ในห้องหรือในร่มใต้ถุนบ้าน ไม่ให้ถูกแสงแดด แต่ให้มีแสงสว่าง รออีกประมาณ 10 วัน ก็สามารถนำเชื้อราบิวเวอเรีย ไปฉีดพ่นป้องกันแมลงศัตรูพืชได้

การใช้เชื้อราบิวเวอเรียในนาข้าว
เชื้อราบิวเวอเรีย เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่จัดเป็นพวก “เชื้อราทำลายแมลง” มีคุณสมบัติ ในการทำลายแมลงได้หลายชนิด ทำลายแมลงโดยผลิตเอนไซน์ที่เป็นพิษต่อศัตรูพืช
ลักษณะอาการของแมลงที่ถูกเชื้อราบิวเวอเรียเข้าทำลาย
1. แมลงจะแสดงอาการเป็นโรค คือ เบื่ออาหาร กินน้อยลง อ่อนเพลีย และไม่เคลื่อนไหว
2. สีผนังลำตัวจะเปลี่ยนไป จะมีจุดสีดำตรงบริเวณที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย
3. พบเส้นใยและผงสีขาวของสปอร์ปกคลุมตัวแมลงที่ถูกเชื้อราทำลาย

วิธีการใช้เชื้อราบิวเวอเรีย
1. ใช้เชื้อราบิวเวอเรียที่เจริญบนเมล็ดข้าวโพดบด
อัตรา 1 กก. น้ำ 20 ลิตร โดยแบ่งน้ำออก เป็น 2 ส่วน
ส่วนที่หนึ่ง 15 ลิตร นำมาผสมกับสารจับใบคนให้เข้ากัน
ส่วนน้ำอีก 5 ลิตร นำมาผสมกับเชื้อราโดยขยำให้สปอร์ หลุดออกมาจากเมล็ดข้าวโพดแล้วกรอง ด้วยผ้าขาวบาง นำไปผสมกับน้ำที่เตรียมไว้ และคนให้เข้ากัน
2. พ่นให้ถูกตัวแมลงศัตรูพืชหรือบริเวณที่แมลงศัตรูพืชเกาะ หรืออาศัยอยู่ให้มากที่สุด
3. ช่วงระยะเวลาการพ่นควรเป็นช่วงที่แมลงศัตรูพืช ออกหากิน หรือเวลาเย็นมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการงอก และการเจริญเติบโตของเชื้อราคือมีความชื้นสูงและแสงแดดอ่อน ๆ
4. ให้น้ำกับแปลงพืชในวันรุ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความชื้น
5. สำรวจแปลงพืช ถ้าพบว่ามีศัตรูพืชอยู่ให้พ่นเชื้อราบิวเวอเรียซ้ำ
6. นำเชื้อราบิวเวอเรียบนเมล็ดข้าวโพดใส่กระบอก เพื่อปล่อยเพิ่มพูนเชื้อราขาวให้แพร่กระจาย ไปตามลม

ย้อนกลับไปยัง “ความรู้วิชาการเกษตร”