พันธุ์ทุเรียน สรรพคุณและประโยชน์ของทุเรียน ราชาผลไม้ไทย

พันธุ์ทุเรียน สรรพคุณและประโยชน์ของทุเรียน ราชาผลไม้ไทย

    ทุเรียน ชื่อสามัญ Durian (มาจากคำว่า duri ในภาษามาเลย์ซึ่งแปลว่า “หนาม”) ไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้

     ทุเรียน ชื่อวิทยาศาสตร์ Durio zibethinus L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Durio acuminatissimus Merr., Durio stercoraceus Noronha) จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)

พันธุ์ทุเรียน สรรพคุณและประโยชน์ของทุเรียน ราชาผลไม้ไทย
พันธุ์ทุเรียน สรรพคุณและประโยชน์ของทุเรียน ราชาผลไม้ไทย

    ทุเรียน เป็นไม้ผลที่มีการเจริญเติบโตและสามารถให้ผลผลิตทั้งปี และได้รับความนิยมไม่ต่างกับกล้วย โดยที่ทุเรียนต้องการอุณหภูมิและความชื้นสูง ผลของทุเรียนจะมีขนาดใหญ่มีหนามแข็งทั่วทั้งเปลือก ทุเรียนโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 1-3 กิโลกรัม ผลอาจมีลักษณะเป็นวงรีหรือกลม แล้วแต่พันธุ์ของทุเรียน สีของเปลือกจะมีสีเขียวไปจนถึงสีน้ำตาล เนื้อมีสีเหลืองซีดถึงเหลืองเข้ม จัดเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ใครไม่ชอบทุเรียนก็จะคิดว่าเป็นกลิ่นที่เหม็น ใครชอบทุเรียนก็จะคิดว่าเป็นกลิ่นที่หอมน่ากิน บางสถานที่จึงมีการห้ามนำทุเรียนเข้ามา ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ถือว่ามีน้ำตาลสูงจึงเป็นผลไม้ต้องห้ามสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด มีอย่างน้อย 9 ชนิดที่รับประทานได้ ทุเรียนมีสายพันธุ์ประมาณ 100 สายพันธุ์ ให้เลือกรับประทาน แต่ในประเทศไทยพบทุเรียนอยู่เพียง 5 ชนิด เท่านั้น ทุเรียนให้ผลผลิตมากในช่วงเดือนเมษายน ประเทศไทยสามารถผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดได้ประมาณ 4 เดือนต่อปี เริ่มจากเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ซึ่งเป็นผลผลิตที่ผลิตได้ในภาคตะวันออก แล้วต่อช่วงฤดูการผลิตโดยผลผลิตจากภาคใต้ ระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม

    เมื่อรู้จักไปแล้วว่าทุเรียนโดยทั่วไปมีลักษณะอย่างไร ต่อมาเรามาทำความรู้จักกับสายพันธ์ของทุเรียนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ของไทยกันค่ะ ว่าทุเรียนแต่ละสายพันธ์มีข้อดีอย่างไร แบบไหนที่เหมาะสมกับการนำมาปลูกกันบ้าง

พันธุ์ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ไทย

     พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทยสามารถจำแนกออกได้เป็น 6 กลุ่ม ตามลักษณะรูปร่างใบ ปลายใบ ฐานใบ ทรงผล และรูปร่างของหนาม คือ

  • พันธุ์ทุเรียนกลุ่มทองย้อย

พันธุ์ทุเรียนกลุ่มทองย้อย จำแนกพันธุ์ออกเป็น 14 พันธุ์ จะมีลักษณะของใบป้อมปลายใบ ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบมน ผลทุเรียนกลุ่มทองย้อยเป็นรูปไข่ หนามผลนูนปลายแหลม  ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ ทองย้อยเดิม ทองย้อยฉัตร ทองใหม่

  • พันธุ์ทุเรียนกลุ่มก้านยาว

พันธุ์ทุเรียนกลุ่มก้านยาว จำแนกพันธุ์ออกเป็น 8 พันธุ์ จะมีลักษณะใบป้อมปลายใบ ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบเรียว ผลของทุเรียนกลุ่มก้านยาวเป็นรูปไข่กลับและกลม หนามผลมีลักษณะนูน ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ ก้านยาวพวง ก้านยาววัดสัก ก้านยาว

  • พันธุ์ทุเรียนกลุ่มลวง

พันธุ์ทุเรียนกลุ่มลวง จำแนกพันธุ์ออกเป็น 12 พันธุ์ จะมีลักษณะใบแบบป้อมกลางใบ ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลมและมน ผลทุเรียนกลุ่มนี้มีแบบลวงทรงกระบอก และรูปผลรี หนามผลมีลักษณะเว้า ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ ชะนี ชะนีก้านยาว

  • พันธุ์ทุเรียนกลุ่มกบ

พันธุ์ทุเรียนกลุ่มกบ จำแนกพันธุ์ออกเป็น 46 พันธุ์ จะมีลักษณะใบรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบแหลมโค้ง ฐานใบกลมมน ผลทุเรียนกลุ่มนี้มี แบบทรงกลม ทรงกลมรี และกลมแป้น หนามผลมีลักษณะโค้งงอ ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ กบก้านยาว

  • พันธุ์ทุเรียนกลุ่มกำปั่น

พันธุ์ทุเรียนกลุ่มกำปั่น จำแนกพันธุ์ออกเป็น 13 พันธุ์ จะมีลักษณะใบยาวเรียว ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม ผลทุเรียนกลุ่มนี้มีทรงขอบขนาน หนามผลมีลักษณะแหลมตรง  ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ หมอนทอง

  • พันธุ์ทุเรียนกลุ่มเบ็ดเตล็ด

เป็นทุเรียนที่จำแนกลักษณะพันธุ์ได้ไม่แน่ชัด มีอยู่ถึง 83 พันธุ์ ทุเรียนในกลุ่มนี้ได้แก่ กะเทยเนื้อขาว กะเทยเนื้อแดง กะเทยเนื้อเหลือง เป็นต้น

พันธุ์ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ไทย
พันธุ์ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ไทย
  • พันธุ์ทุเรียนกลุ่มลา เป็นทุเรียนไร้หนาม พันธุ์หายากจากอเมริกา

พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากมี 4 พันธุ์ คือ หมอนทอง ชะนี ก้านยาว และกระดุม ซึ่งมีลักษณะดังนี้

1. ทุเรียนพันธุ์ชะนี เนื้อมีลักษณะเป็นเส้นค่อนข้างหยาบ มีสีเหลืองปานกลาง สีสวย เนื้อเหนียว  รสหวานแหลมไม่มัน  กลิ่นฉุนเล็กน้อย เนื้อไม่เหมาะกับการแปรรูป ทุเรียนพันธุ์ชะนีจะมีน้ำหนักประมาณ 2.5-3 กิโลกรัม

2. ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เนื้อมีลักษณะหนา มีสีเหลืองอ่อนละเอียด เนื้อค่อนข้างแห้งไม่แฉะติดมือ รสชาติหวานมัน เมล็ดน้อยและลีบเป็นส่วนใหญ่ กลิ่นไม่แรง ผลสุกเก็บได้นานกว่าพันธุ์อื่น คุณภาพเนื้อเหมาะสำหรับการแปรรูป ทั้งแช่แข็ง กวน ทอดกรอบ ทุเรียนพันธุ์หมอนทองจะมีน้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม

3. ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว เนื้อมีลักษณะที่ละเอียดมาก มีเนื้อสีเหลือง เนื้อสม่ำเสมอหนาปานกลาง มีกลิ่นอ่อนไม่ฉุน งอมแล้วเนื้อไม่แฉะ รสชาติมันมากกว่าหวาน  เมล็ดใหญ่มาก เปลือกหนา ผลสุกเก็บได้นาน ทุเรียนพันธุ์ก้านยาวจะมีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม

4. ทุเรียนพันธุ์กระดุม เนื้อมีลักษณะละเอียด มีสีเหลืองเข้ม กลิ่นอ่อน รสชาติหวานมัน ลักษณะผลกลม ผลมีขนาดเล็ก เนื้อบาง หนามนูนปลายแหลม หนามถี่กว่ากระดุมเขียว ปลายผลเว้า ออกผลดก  ราคาไม่แพง ทุเรียนพันธุ์กระดุมจะมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม

ก็ทราบกันไปแล้วนะค่ะว่าทุเรียนราชาแห่งผลไม้ของไทยเรามีพันธุ์ไหนที่ได้รับความนิยมกันบ้าง หากใครสนใจชื่นชอบในสายพันธ์ใดก็เลือกปลูกสายพันธ์นั้นๆได้เลยค่ะ ของดีของไทยเราไม่ควรผลาด

สรรพคุณและประโยชน์ของทุเรียน

สรรพคุณและประโยชน์ของทุเรียน
สรรพคุณและประโยชน์ของทุเรียน
  • เปลือกของทุเรียนใช้ช่วยในการไล่ยุงและแมลง
  • เปลือกสามารถนำมาผลิตทำเป็นกระดาษได้
  • เปลือกของทุเรียนใช้ช่วยในการสมานแผล
  • เปลือกของทุเรียนใช้ช่วยในการรักษาแผลพุพอง
  • เปลือกของทุเรียนใช้ช่วยในการรักษาโรคคางทูม
  • เปลือกของทุเรียนใช้ช่วยในการแก้น้ำเหลืองเสีย
  • เปลือกของทุเรียนใช้ช่วยในการแก้โรคฝี
  • ใบของทุเรียนใช้ช่วยรักษาแผลหนองให้แห้งเร็ว
  • ใบของทุเรียนใช้ช่วยแก้ดีซ่าน
  • ใบและเนื้อทุเรียนใช่ช่วยในการขับพยาธิ
  • รากของทุเรียน มีสรรพคุณใช้ช่วยในการรักษาอาการท้องร่วง ท้องเสีย
  • เนื้อของทุเรียนช่วยแก้โรคผิวหนัง
  • เนื้อของทุเรียนช่วยรักษาแผลที่เกิดจากโรคฝีทำให้ฝีแห้งเร็ว
  • ทุเรียนพันธุ์หมอนทองมีเส้นใยสามารถช่วยลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้
  • ทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ การบริโภคทุเรียนในปริมาณที่พอดีจะช่วยป้องกันโรคได้ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น
  • ทุเรียนมีเส้นใยช่วยในการขับถ่ายลดอาการท้องผูกได้
  • ทุเรียนสามารถนำผลมาแปรรูปเป็นขนมได้หลากหลายชนิด หลากหลายรูปแบบ เช่น ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด เป็นต้น

     เมื่อรู้จักกับสายพันธ์ต่างๆของทุเรียนไปแล้วก็สามารถที่จะเลือกทุเรียนแต่ละสายพันธ์ทำการปลูก สามารถที่จะปลูกไม่กินเองหรือแม้แต่ประกอบอาชีกทำสวนทุเรียนไว้จำหน่ายต่อไป เป็นการสร้างอาชีพอีกทั้งยังสามารถสร้างกำไรได้อีกด้วย หวังว่าบทความการทำความรู้จักกับทุเรียนแต่ละสายพันธ์จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านค่ะ

อ้างอิง : ทุเรียน.  “พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:th.wikipedia.org.  [29 เม.ย. 2016]. www.saranukromthai.or.th

ภาพประกอบ : www.flickr.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

7 Comments

ส่งความเห็นที่ test ยกเลิกการตอบ