กระถินเทศ ปลูกเป็นไม้ประดับ ใบมีรสเปรี้ยวสามารถใช้แทนมะขาม

กระถินเทศ

ชื่ออื่นๆ : กระถิน (ภาคกลาง), กระถินเทศ กระถินหอม คำใต้ ดอกคำใต้ (ภาคเหนือ), เกากรึนอง (กาญจนบุรี), ถิน (ภาคใต้), บุหงาเซียม(มลายู-ภาคใต้), บุหงาละสะมะนา (ปัตตานี), บุหงาอินโดนีเซีย(กรุงเทพฯ), มอนคำ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด อเมริกากลางและอเมริกาใต้

ชื่อสามัญ : Sponge Tree, Cassie Flower, Sweet Acacia

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia farnesiana (L.) Willd.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะของกระถินเทศ

ต้น : ไม้ยืนต้นทรงพุ่ม มีอายุหลายปี  สูงได้ถึง 8 ม. หูใบเป็นหนาม ยาว 3–5 ซม.

ใบ : เป็นประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ โคนก้านใบมีหู ใบแปลงรูปเป็นหนามแหลมตรงละแข็ง 1 คู่

ดอก : เป็นแบบช่อกระจุกแน่น ตามง่ามใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกเล็กๆจำนวนมาก มีสีเหลืองกลิ่นหอม จะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 3 ปีขึ้นไป ออกราวเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม

ผลหรือฝัก : รูปทรงกระบอกขนาดเท่านิ้วมือ ลักษณะโค้งเล็กน้อย เมื่อฝักแก่ไม่แตก ภายในมีเมล็ดเรียงกัน 2 แถว ประมาณ 15 เมล็ด รับประทานได้

กระถินเทศ
กระถินเทศ ประกอบแบบขนนกสองชั้น

การขยายพันธุ์ของกระถินเทศ

การเพาะเมล็ด  ชอบพื้นที่สูงหรือพื้นที่เชิงเขา พบมากทางภาคเหนือ

ธาตุอาหารหลักที่กระถินเทศต้องการ

ประโยชน์ของกระถินเทศ

  • เมล็ดงอก กินได้เป็นผัก
  • ใบ มีรสเปรี้ยวสามารถใช้แทนมะขาม
  • ปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อเป็นรั้วป้องกันสัตว์หรือคนได้
  • ฝัก นำมาใช้เป็นสีย้อมแบบการใช้น้ำฝาดและทำหมึก
  • น้ำมันดอกกระถินเทศ ใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม ขนมหวาน และลูกกวาด แต่ต้องใช้ในปริมาณต่ำ
ดอกกระถินเทศ
ดอกกระถินเทศ ดอกสีเหลือง

สรรพคุณทางยาของกระถินเทศ

  • เปลือก เป็นยาฝาดสมาน แก้ไอ และริดสีดวงทวาร
  • ราก ใช้แก้โรคไขข้ออักเสบ ทำให้อาเจียน ใช้พอกแก้บวม
  • ต้มรวมกับขิง ใช้อมบ้วนปากแก้เหงือกอักเสบและมีเลือดออก
  • ดอก ใช้เป็นยาแก้เกร็งและเป็นยาฆ่าแมลง
  • ใบ ใช้เป็นยาพอกแผล
  • ยางที่ได้จากลำต้นมีคุณภาพดีนำมาใช้ทางด้านเภสัชกรรมเป็นสารแขวนลอย

คุณค่าทางโภชนาการของกระถิน

การแปรรูปของกระถินเทศ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10175&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment