กระทุ่ม ไม้ต้นขนาดใหญ่ ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม

กระทุ่ม

ชื่ออื่นๆ : ตะกู (จันทรบุรี) กรองประหยัน (ยะลา) กระทุ่ม (ภาคกลาง ภาคเหนือ) กระทุ่มบก (กรุงเทพฯ)
แคแสง (ชลบุรี) ตะโกส้ม (ชัยภูมิ ชลบุรี) ตะโกใหญ่ (ตราด) ตุ้มก้านซ้วง ตุ้มก้านยาว ตุ้มเนียง ตุ้มหลวง
(ภาคเหนือ) ตุ้มขี่หมู (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กระทุ่ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich. ex Walp.

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของกระทุ่ม

ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร กิ่งเกือบตั้งฉากกับลำต้น เปลือกแตกเป็นร่องละเอียดตามยาว

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่ กว้าง 7.5-17.5 ซม. ยาว 20 ซม. หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม

ดอก สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกระจุกแน่น ลักษณะกลม ขนาด 4-5 ซม. ดอกเล็กอัดกันแน่น กลีบรองดอกเป็นหลอดสั้น กลีบดอก 5 กลีบ สีสขาวเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ปลายกลีบหยักมนและแผ่

ผล เป็นผลรวมอุ้มน้ำ เกิดจากวงกลีบรองดอกของแต่ละดอกเชื่อมติดกัน เมล็ดเล็ก

ต้นกระทุ่ม
ต้นกระทุ่ม ไม้ต้นขนาดใหญ่ กิ่งเกือบตั้งฉากกับลำต้น
ใบกระทุ่ม
ใบกระทุ่ม เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่

การขยายพันธุ์ของกระทุ่ม

จากอินเดีย จนถึงมาเลเซีย พบขึ้นตามป่าดิบและป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นใกล้น้ำ ที่ระดับความสูง 500-1500 เมตร

ธาตุอาหารหลักที่กระทุ่มต้องการ

ประโยชน์ของกระทุ่ม

เนื้อไม้ละเอียด สีเหลืองหรือขาว ใช้ทำพื้นและฝาที่ใช้งานในร่ม และทำเยื่อกระดาษได้

ดอกกระทุ่ม
ดอกกระทุ่ม ดอกสีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อกระจุกแน่น

สรรพคุณทางยาของกระทุ่ม

คุณค่าทางโภชนาการของกระทุ่ม

การแปรรูปของกระทุ่ม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9285&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment