กระท้อนลอก เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ

กระท้อนลอก

ชื่ออื่นๆ : กระท้อนลอก (ตราด) จัด, จั๊ด (ลำปาง) ท่าลอก (พล นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์) ประดงไฟ, ประดงเลือด (ราชบุรี) พอก (อุบลราชธานี) มะคลอก (สท อุตรดิตถ์) มะมื่อ, หมักมื่อ (เหนือ) หมักมอก (พล) หมากรอก (ประจวบคีรีขันธ์) ตะลอก

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : มะพอก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parinari anamense Hance

ชื่อวงศ์ : CHRYSOBALANACEAE

ลักษณะของกระท้อนลอก

ต้น เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูง 10–30 ม. เปลือกต้นหนา สีน้ำตาลเทา แตกเป็นร่องลึก ลอกหลุดได้

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 4–6 ซม. ยาว 6–15 ซม. ปลายใบเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา ผิวใบมีขนสีขาวแกมน้ำตาล ท้องใบมีสีขาวเด่นชัด

ดอก ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง

ผล กลมรี กว้างประมาณ 3 ซม. ยาว 3–4 ซม. ผิวขรุขระคล้ายมีตุ่ม หรือสะเก็ดสีน้ำตาลเทาคลุม

กระท้อนลอก
กระท้อนลอก เนื้อใบหนา ผิวใบมีขนสีขาว ท้องใบมีสีขาวเด่นชัด

การขยายพันธุ์ของกระท้อนลอก

ใช้เมล็ด/การเพาะโดยเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กระท้อนลอกต้องการ

ประโยชน์ของกระท้อนลอก

  • เนื้อไม้ มีความละเอียด แข็งแรงทนทาน และมีสีสรรสวยงาม สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างต่างๆ ได้
  • ผลสุก มีรสหวานหอม สามารถนำมารับประทาน หรือใช้ผสมในแป้งทำขนมก็ได้
  • เมล็ด น้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ด สามารถนำมาใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่น น้ำมันหมึกพิมพ์ ใช้เคลือบธนบัตร เคลือบกระดาษ ใช้ทาเครื่องเขิน และสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี ส่วนเนื้อภายในเมล็ดมีรสชาดคล้ายถั่วใช้รับประทานได้

สรรพคุณทางยาของกระท้อนลอก

  • แก่น ต้มน้ำดื่มและอาบแก้ประดง แก้ผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อน มีน้ำเหลืองไหลซึม ผสมกับสมุนไพรอื่น แก้หืด
  • เปลือกต้น ประคบแก้ช้ำใน แก้บวม

คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อนลอก

การแปรรูปของกระท้อนลอก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10762&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment