กระเจานา เป็นพืชเส้นใย เปลือกใช้ทำเชือก ลำต้นใช้เลี้ยงสัตว์

กระเจานา

ชื่ออื่นๆ : ขัดมอญตัวผู้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); กระเจานา (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : east indian jew’s-mallow, Jute

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corchorus aestuans L.

ชื่อวงศ์ : Tiliaceae

ลักษณะของกระเจานา

ต้น  ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 ม. มีขนละเอียด หูใบ 3 อัน รูปเส้นด้ายยาวไม่เท่ากัน

ใบ  ใบเรียงเวียน รูปไข่ ยาว 3–8 ซม. ขอบจักซี่ฟัน คู่ล่างคล้ายรยางค์หรือเดือยสั้น ๆ แผ่นใบมีขนยาวทั้งสองด้าน เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น ก้านใบยาว 1–2.5 ซม.

ดอก ดอกออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อกระจุกตามซอกใบหรือตรงข้ามใบ ใบประดับคล้ายหูใบ ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปคล้ายเรือ ยาว 3–5 มม. ปลายมีรยางค์สั้น ๆ กลีบดอก 5 กลีบ  ดอกสีเหลือง  ขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร รูปไข่กลับ ยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวประมาณ 3 มม. รังไข่มีขน ก้านเกสรเพศเมียเป็นหลอด ยอดเกสรจัก 5 พู

ผล  ผลแห้งแตก ยาว 1.5–3 ซม. มี 3–5 สัน จักเป็นพู ปลายพูแยก 2 แฉก  เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

ต้นกระเจานา
ต้นกระเจานา ไม้ล้มลุก มีขนละเอียด
ดอกกระเจานา
ดอกกระเจานา ดอกเดี่ยว ดอกสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของกระเจานา

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กระเจานาต้องการ

ประโยชน์ของกระเจานา

เป็นวัชพืชหรือปลูกเป็นพืชเส้นใย เปลือกใช้ทำเชือก ลำต้นใช้เลี้ยงสัตว์

สรรพคุณทางยาของกระเจานา

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจานา

การแปรรูปของกระเจานา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11270&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment