กระเจียวแดง ช่อดอกอ่อน หน่ออ่อน นำมาลวก จิ้มน้ำพริก

กระเจียวแดง

ชื่ออื่นๆ : ดอกดิน กระเจียวโคก กระชายดง (เลย) อาวขาว (เชียงใหม่) ว่านมหาเมฆ

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กระเจียวแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : CurcumaAeruginosaRoxb.

ชื่อวงศ์ : วงศ์ “ZINGIBERACEAE”

ลักษณะของกระเจียวแดง

ไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดินอยู่ได้หลายปี  สูง 40-60 เซนติเมตร อาจขึ้นเป็นต้นเดียวหรือหลายต้นรวมกันเป็นกอ สูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร ใบเป็นกาบห่อรวมตัวกันแน่นเป็นลำต้นเทียม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม ฐานใบแหลม เส้นใบขนาน ยาว 30-40 เซนติเมตร กว้าง 15-20 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม ดอกออกเป็นช่อแน่นแบบช่อเชิงลด รูปทรงกระบอก ยาว 10-20 เซนติเมตร  ก้านช่อดอกชูออกจากปลายลำต้นเทียม ช่อดอกย่อย แต่ละช่อมีดอก 2-7 ดอก ใบประดับที่โคนช่อดอกรองรับดอกสีเขียว ดอกสีเหลือง หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว 1-2 เซนติเมตร มีขน แฉกบนรูปรี แฉกข้างแคบกว่าเล็กน้อย กลีบปากรูปไข่กลับ สีเหลือง ปลายแยกเป็น 2 พู เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันรูปไข่กลับหรือรูปรี สีเหลือง มีขนสั้น เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ มีจุดสีแดงจำนวนมาก โคนอับเรณู เรียวแหลมเป็นเดือย 2 อัน โค้งเข้าหากัน เกสรเพศเมีย มีรังไข่ใต้วงกลีบ มีขนสั้นหนาแน่น ผลรูปไข่ ผิวมีขนหนาแน่น เมล็ดมีรูปร่างคล้ายหยดน้ำยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยเหง้า เกิดตามป่าดิบทั่วไป ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม ช่อดอกอ่อน หน่ออ่อน นำมาลวก จิ้มน้ำพริก

กระเจียวแดง
กระเจียวแดง ใบเป็นกาบห่อรวมกันแน่น ดอกเป็นช่อแน่นแบบช่อเชิงลด

การขยายพันธุ์ของกระเจียวแดง

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/การปลูก
พอเริ่มมีฝนหน่อจะแทงออกมามีดอก 2 สีคือสีแดงและสีขาวกระเจียวแดงเป็นพืชที่พบทั่วไปบริเวณโคกและ บริเวณป่าโปร่งหรือใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่บริเวณหัวไร่ปลายนาในภาคอีสาน

ธาตุอาหารหลักที่กระเจียวแดงต้องการ

ประโยชน์ของกระเจียวแดง

ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ ฤดูกาลหน่ออ่อนดอกอ่อนและแก่พบในช่วงฤดูฝนถึงกลางฤดูฝน

การปรุงอาหาร”ดอกกระเจียวแดงมีจำหน่ายในตลาดในหลายท้องถิ่นของภาคอีสานมักบริโภคทั้ง
กระเจียวดอกแดงและกระเจียวดอกขาวหน่ออ่อนของกระเจียวแดงรับประทานกับน้ำพริกลาบก้อย
สัมตำก็ได้การปรุงอาหาร”ดอกกระเจียวแดงมีจำหน่ายในตลาดในหลายท้องถิ่นของภาคอีสานมักบริโภคทั้ง
กระเจียวดอกแดงและกระเจียวดอกขาวหน่ออ่อนของกระเจียวแดงรับประทานกับน้ำพริกลาบก้อย
สัมตำก็ได้
ส่วนดอกอ่อน (หากเป็นดอกขนาดกลางหรือแก่มักดึงกลีบที่แก่ทิ้งไป) นำมาลวกให้สุกรับ
ประทานกับน้ำพริกหรือปรุงเป็นแกงโดยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แกงรวมกับผักหวานปลาย่างและเครื่องแกงได้ รสและประโยชน์ต่อร่างกาย
ส่วนดอกอ่อน (หากเป็นดอกขนาดกลางหรือแก่มักดึงกลีบที่แก่ทิ้งไป) นำมาลวกให้สุกรับ
ประทานกับน้ำพริกหรือปรุงเป็นแกงโดยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แกงรวมกับผักหวานปลาย่างและเครื่องแกงได้ รสและประโยชน์ต่อร่างกาย

สรรพคุณทางยาของกระเจียวแดง

หน่ออ่อนและดอกอ่อนของกระเจียวแดงรสเผ็ดร้อนกลิ่นหอมสรรพคุณช่วยขับลม

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจียวแดง

การแปรรูปของกระเจียวแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10229&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment