กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้

กระเจี๊ยบเขียว

ชื่ออื่นๆ : กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบขาว มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือทวาย มะเขือละโว้ มะเขือมื่น ถั่วส่าย

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Okra, Lady’s Finger, Gombo, Gumbo, Bendee, Quimbamto

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abelmoschus esculentus (L.)

ชื่อวงศ์ : MALVACEAE

ลักษณะของกระเจี๊ยบเขียว

พืชล้มลุก ลำต้นกระเจี๊ยบมีขนหยาบและมีความสูงประมาณ 1–2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายฝ่ามือเรียงสลับกัน และมีขนหยาบ ดอกมีสีเหลือง ที่โคนกลีบด้านในมีสีม่วงออกแดง ออกตามซอกใบ ก้านชูเรณูรวมกันเป็นลักษณะคล้ายหลอด ฝักคล้ายนิ้วมือผู้หญิง ตามฝักมีขนอ่อน ๆ ทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม ฝักกระเจี๊ยบมีทรงยาวสีเขียว ฝักอ่อนมีรสชาติหวาน กรอบอร่อย ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว

กระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบเขียว ตามฝักมีขนอ่อนทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม

การขยายพันธุ์ของกระเจี๊ยบเขียว

ใช้เมล็ด/ใช้เมล็ดปลูก

ธาตุอาหารหลักที่กระเจี๊ยบเขียวต้องการ

ประโยชน์ของกระเจี๊ยบเขียว

นิยมใช้กระเจี๊ยบทำแกงส้ม ในอินเดียนำไปทำอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงกระเจี๊ยบ ผัดกระเจี๊ยบใส่เครื่องเทศ เมือกในกระเจี๊ยบเป็นสารประเภทกัม (gum) และเพกทินเมล็ดแก่นำไปทำเมล็ดกาแฟเทียมโดยนำไปคั่ว บดแล้วนำมาชงแทนกาแฟ นิยมดื่มในชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาที่อยู่ทางตอนใต้ของสหรัฐ ทางตะวันออกกลางนำไปแต่งกลิ่นกาแฟ

สรรพคุณทางยาของกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพกทิน, เมือก (mucilage) ซึ่งเกิดจากสารประกอบ acetylated acidic polysaccharide และกรดกาแลกทูโรนิก (galactulonic acid) และกัมช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้ลุกลาม รักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง มีสรรพคุณเป็นยาระบาย

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน พลังงาน 33 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย

  •  คาร์โบไฮเดรต 7.45 กรัม
  • น้ำตาล 1.48 กรัม
  • กากใยอาหาร 3.2 กรัม
  • ไขมัน 0.19 กรัม
  • โปรตีน 1.93 กรัม
  • น้ำ 89.58 กรัม
  • วิตามินเอ 36 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 0.06 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3 1 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 6 0.215 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 23 มิลลิกรัม
  • วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม
  • วิตามินเค 31.3 ไมโครกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 82 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 0.62 มิลลิกรัม
  • ธาตุแมกนีเซียม 57 มิลลิกรัม
  • ธาตุโพแทสเซียม 299 มิลลิกรัม
  • ธาตุสังกะสี 0.58 มิลลิกรัม

การแปรรูปของไซเดน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11831&SystemType=BEDO
http:// www.chokchai.go.th
https://www.flickr.com

4 Comments

Add a Comment