กระเพรา นิยมนำมาใช้ในการดับกลิ่นคาวในเมนูอาหาร

กระเพรา

ชื่ออื่นๆ : กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่), ห่อกวอซู ห่อตูปลู อิ่มคิมหลำ (แม่ฮ่องสอน), กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง), อีตู่ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Holy basil, Sacred basil

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum linn.

ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE หรือ LABIATAE

ลักษณะของกระเพรา

ลักษณะ : กะเพราเป็นไม้ล้มลุก คล้ายกับโหระพา ลำต้นค่อนข้างแข็ง สูงประมาณ 30-60 cm. มีขนเล็กตามใบ ลำต้น ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบเกาะติดแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก กว้าง x ยาว ประมาณ 2 x 3.5 cm. ใบกะเพราจะมีกลิ่นหอมฉุนและมีรสเผ็ดร้อน ใบมีปลาย แหลมหรือรูปมน โคนใบจะมีมีลักษณะแหลม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ดอกเป็นแบบช่อฉัตร ดอกย่อยคล้ายรูประฆัง มีทั้งชนิดกลีบดอกสีขาวและสีขาวลายม่วงแดง โดคกลีบมีลักษณะเป็นกรวย ผลมีขนาดเล็ก เมล็ดเล็กรูปไข่สีน้ำตาล หากนำไปแช่น้ำ บริเวณเปลือกหุ้มเมล็ดจะพองออกเป็นเมือกข้นๆ ในกะเพรามี คาร์โบไฮเดรต, เส้นใย fiber, โปรตีน, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี 2 ในใบกะเพรามีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด เช่น เมทิลคาวิคอล (methylchavicol) โอวิมอล (ocimol) ไลนาลูออล(linalool) แคลิโอฟิลลีน (caryophyllene) ยูจีนอล (eugenol) บอร์มีออล (bormeol) และแคมฟีน (camphene)

ต้นกะเพรา
ลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว

การขยายพันธุ์ของกระเพรา

ใช้เมล็ด/-

ธาตุอาหารหลักที่กระเพราต้องการ

ประโยชน์ของกระเพรา

สรรพคุณ :
– ใบ ใช้ขับลม แก้อาการปวดท้อง แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้คลื่นไส้อาเจียน บำรุงธาตุ
– ราก นิยมใช้รากที่ตากไว้ให้แห้งแล้ว นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม เพื่อแก้โรคธาตุพิการ
– นิยมนำน้ำสกัดมาใช้ ซึ่งมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ รักษาแผลกระเพาะอาหาร
– ในเด็กทารก อาจจะใช้ใบสดประมาณ 3-5 ใบ นำมาตำให้ละเอียด ผสมกับเกลือเล็กน้อย ละลายในน้ำผึ้งหรือน้ำต้มสุก หยดให้เด็กกิน เพื่อขับลม
– ในบางตำรา อาจจะใช้กะเพราแก้อาการหอบหืดได้อีกด้วย
– มีฤทธิ์ช่วยลดน้ำตาลในกระแสเลือด
– ช่วยรักษาอาการกลาก เกลื้อน จากเชื้อรา
– มีฤทธิ์ antioxidant ที่จะสามารถช่วยต้านเซลล์มะเร็งได้
สรรพคุณ :
– ใบ ใช้ขับลม แก้อาการปวดท้อง แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้คลื่นไส้อาเจียน บำรุงธาตุ
– ราก นิยมใช้รากที่ตากไว้ให้แห้งแล้ว นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม เพื่อแก้โรคธาตุพิการ
– นิยมนำน้ำสกัดมาใช้ ซึ่งมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ รักษาแผลกระเพาะอาหาร
– ในเด็กทารก อาจจะใช้ใบสดประมาณ 3-5 ใบ นำมาตำให้ละเอียด ผสมกับเกลือเล็กน้อย ละลายในน้ำผึ้งหรือน้ำต้มสุก หยดให้เด็กกิน เพื่อขับลม
– ในบางตำรา อาจจะใช้กะเพราแก้อาการหอบหืดได้อีกด้วย
– มีฤทธิ์ช่วยลดน้ำตาลในกระแสเลือด
– ช่วยรักษาอาการกลาก เกลื้อน จากเชื้อรา
– มีฤทธิ์ antioxidant ที่จะสามารถช่วยต้านเซลล์มะเร็งได้

สรรพคุณทางยาของกระเพรา

กะเพรามีกลิ่นเฉพาะตัวที่ค่อนข้างแรง คนไทยมักนิยมนำมาใช้ในการดับกลิ่นคาวในเมนูอาหารต่างๆ เช่น พวกผัดเผ็ดเนื้อต่างๆ แกงเลียง แกงป่า แกงเขียวหวาน ฯลฯ และสามารถนำใบกะเพรามาทอดให้กรอบแล้วใช้โรยหน้าอาหารได้อีกด้วย ส่วนเมนูยอดนิยมที่เราๆทานกันเป็นประจำก็คงหนีไม่พ้น ผัดกะเพราไก่+ไข่ดาว

คุณค่าทางโภชนาการของกระเพรา

การแปรรูปของกระเพรา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11061&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment