กลอย มีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรดเป็นส่วนประกอบหลัก และมีสารพิษที่ชื่อว่าไดออสคอรีนอยู่ด้วย

กลอย

ชื่ออื่นๆ : กลอยข้าวเหนียว, กลอยหัวเหนียว (นครราชสีมา) กลอยนก, กอย (ภาคเหนือ) คลี้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : บริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชียตั้งแต่จีนตอนใต้ ไต้หวัน อินเดีย พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลปปินส์ และนิวกินี โดยมักจะพบตามธรรมชาติ

ชื่อสามัญ : กลอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dioscorea hispida Dennst.

ชื่อวงศ์ : DIOSCOREACEAE

ลักษณะของกลอย

ต้น ไม้เถา เลื้อยพันไปบนต้นไม้อื่น ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินมีขนและหนาม

ใบ ใบประกอบเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ปลายแหลม โคนสอบแคบ แผ่นใบกว้าง

ดอก ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ไม่มีก้าน อัดรวมกันแน่นบนช่อดอก มีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียเรียงกันอยู่ห่างๆ บนช่อดอก ไม่มีก้านดอกเช่นกัน ผลยาวประมาณ 5 ซม. มี 3 ครีบ

เมล็ด เมล็ดมีปีกเฉพาะที่โคน หัวค่อนข้างกลม ส่วนบนและส่วนล่างแบน ไม่ฝังลึกลงในดิน ส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินมักเป็นลอนตื้นๆ หัวมีขนาดต่างๆ กัน ผิวสีฟางหรือเทา เนื้อในสีขาวถึงขาวนวล

ต้นกลอย
ต้นกลอย ลำต้นอยู่เหนือดินมีขนและหนาม

การขยายพันธุ์ของกลอย

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

ธาตุอาหารหลักที่กลอยต้องการ

ประโยชน์ของกลอย

หัวกลอยใช้เป็นอาหารได้ ก่อนนำมากินจะต้องล้างสารพิษออกให้หมด โดยฝานหัวกลอยเป็นชิ้นบางๆ นำมาแช่ในน้ำเกลือแล้วถ่ายน้ำทิ้งหลายๆ ครั้ง หรือแช่ในน้ำไหลเพื่อให้น้ำชะล้างสารพิษออกให้หมด เพราะ dioscorine เป็นแอลคาลอยด์ที่ละลายได้ดีในน้ำ ชาวป่าบางเผ่านำน้ำที่คั้นจากหัวกลอยมาผสมกับยางของต้นน่อง (Antiaris toxicaria Lesch.) อาบลูกดอกเพื่อใช้ยิงสัตว์ ในหัวกลอยยังมีแป้งในปริมาณสูง ในอินเดียนำมาเตรียมเป็นแป้งในทางอุตสาหกรรม

หัวกลอย
หัวสีน้ำตาลออกเหลือง เนื้อในมีสีขาวและสีครีม

สรรพคุณทางยาของกลอย

หัวกลอยเป็นพิษ สารพิษที่พบในหัวกลอย คือ dioscorine ซึ่งเป็นแอลคาลอยด์กลุ่ม tropane กลุ่มเดียวกับ hyoscine ที่พบในใบ ราก ดอก และเมล็ดลำโพง พิษของ dioscorine จะทำให้ระบบประสาทกลางเป็นอัมพาต การกินหัวกลอยที่ยังไม่ได้ล้างเอาสารพิษออกอาจทำให้เกิดพิษ ปวดแสบปวดร้อนที่ปากและคอ คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง หายใจขัด หมดสติ และถ้ากินมากอาจทำให้ถึงตายได้หลังจากที่กินแล้วประมาณ 6 ชั่วโมง

การออกฤทธิ์ : พิษต่อระบบประสาท

อาการ : ใจสั่น วิงเวียน คันคอ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ซีด ตาพร่า ชีพจรเบาเร็ว อึดอัด เป็นลมและตัวเย็น บางคนมีอาการประสาทหลอน คล้ายกับอาการของคนบ้าลำโพง อาจมีการกระตุกของกล้ามเนื้อ ระยะต่อมากดประสาทส่วนกลาง ชักกระตุก ชักเกร็ง

วิธีการรักษา :

  1. ให้ phenobarbital หรือ diazepam เพื่อป้องกันหรือระวังอาการชัก แต่ต้อง ระวังไม่ให้ในรายที่อาการพิษของกลอยถึงขั้นกดประสาทส่วนกลาง
  2. การหยุดหายใจอาจแก้ได้โดยใช้ neostigmine 3. รักษาตามอาการ

คุณค่าทางโภชนาการของกลอย

การแปรรูปของกลอย

นำมานึ่งกับข้าวเหนียว  ทอด  แกงบวด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9294&SystemType=BEDO
http://blog.arda.or.th
http://www.rspg.or.th
https://medplant.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment