กล้วยค่าง ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

กล้วยค่าง

ชื่ออื่นๆ : ต้นกลาย, มหาพรหม, ลำดวนเหลือง

ต้นกำเนิด : อินเดียและเอเชียตะวันออก เฉียงใต้

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Mitrephora keithii Ridl.

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะของกล้วยค่าง

ต้น  เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีความสูงของลำต้นตั้งแต่ 2-4 เมตร  เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมดำ แตกเป็นร่องตามแนวยาว แตกกิ่งก้านสาขาเป็นทรงพุ่มโปร่ง

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือแกมรี กว้าง 4 ซม. ยาว 7-12 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบมน

ดอก ดอกเดี่ยว ออกตามกิ่งใกล้ปลายยอด กลีบรองดอกมีขนาดเล็ก 3 กลีบ รูปไข่ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ชั้นนอกสีเหลือง รูปรีกว้าง ขนาด 2 x 1.5 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม ชั้นในเชื่อมกัน เป็นรูปโดมสีเหลืองอ่อน มีลายสีแดงอมส้มตามยาว ภายในมีเกสรผู้ จำนวนมาก

ผล  ผลออกเป็นกลุ่ม มีผลย่อย 4-7 ผล รูปทรงกระบอกคอด เล็กน้อยตามผล ผิวเกลี้ยง ปลายเป็นตุ่ม ผลจะมีสีเขียวเมื่อยังอ่อนอยู่ และจะกลายเป็นสีแดงอมส้มหรือแดงเข้มเมื่อสุก ออกดอกและติดผลช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

ดอกกล้วยค่าง
ดอกกล้วยค่าง กลีบรองดอกมี 3 กลีบ ชั้นนอกสีเหลือง ชั้นในเป็นรูปโดมสีเหลืองอ่อน
ผลกล้วยค่าง
ผลกล้วยค่าง รูปทรงกระบอกคอด ผิวเกลี้ยง ปลายเป็นตุ่ม

การขยายพันธุ์ของกล้วยค่าง

การเพาะเมล็ด, การเสียบยอด , การทาบกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยค่างต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยค่าง

  • เป็นไม้ดอกหอม ปลูกเป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของกล้วยค่าง

  • เปลือกไม้ของต้นกล้วยค่างนำมาทำเป็นยาขับมุตกิดระดูขาวของสตรี หรือใช้ขับเลือดของสตรีหลังคลอดบุตรได้

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยค่าง

การแปรรูปของกล้วยค่าง

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org

Add a Comment