กล้วยตานี สรรพคุณแก้ท้องเสีย แก้ร้อนใน ดับกระหาย หลายคนนึกถึง นางตานี

กล้วยตานี

ชื่ออื่นๆ : กล้วยป่า , กล้วยพองลา, กล้วยตานีใน, กล้วยชะนีใน, กล้วยเมล็ด, กล้วยงู

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้นตระกูลของกล้วยที่รับประทานได้ในปัจจุบัน ร่วมกับกล้วยป่า

ชื่อสามัญ : Banana, Wild Balbisiana

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa  balbisiana

ชื่อวงศ์ : Musaceae

ลักษณะของกล้วยตานี

ต้น ไม้ล้มลุก ทรงพุ่มรูปร่ม มีความสูง 3 เมตร ความกว้างทรงพุ่ม 1.8 เมตร เป็นพืชบก ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า เปลือกลำต้นสีเขียว ลักษณะเรียบ มียางสีขาวขุ่น

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว แผ่นใบกว้าง 20-30 เซนติเมตร ยาว 90-200 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษใบมีขนาดใหญ่ การเรียงตัวของใบบนกิ่งเวียน แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายใยเว้าตื้น โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ

ดอก ก้านช่อดอกสีเขียวไม่มีขน ปลีรูปร่างป้อม ปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้มสดใส เมื่อกาบปลีกางขึ้นจะไม่ม้วนงอ กาบปลีแต่ละใบซ้อมกันลึก

ผล กล้วยตานี 1 เครือ จะมีทั้งหมด 8 หวี และใน 1 หวีก็จะมีอยู่ประมาณ 10 – 14 ผล โดยลักษณะผลของกล้วยตานีจะมีลักษณะมีเหลี่ยม ผลป้อมและใหญ่ เมื่อสุกแล้วจะมีสีเหลือง รสชาติหวาน มีเมล็ดอยู่เป็นจำนวนมาก

ต้นกล้วยตานี
ลำต้นเทียมสีเขียวเข้ม มีนวลมาก

การขยายพันธุ์ของกล้วยตานี

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ใช้เหง้าหรือหน่อปลูก

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยตานีต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยตานี

  • ใบตองใช้ ห่อขนม และอาหาร
  • ใบอ่อนแห้ง ใช้มวนบุหรี่
  • ก้านใบ ทำกระดาษและเชือก
  • หยวก ปลี ผลอ่อนรับประทานเป็นผัก กาบนอกใช้เป็นทุ่นลอย ลำต้นเทียมตัดเป็นแว่นใช้ในเทศกาลลอยกระทง กาบฉลุใช้ประดับเมรุในงานศพ
  • ปลี ใช้ทำอาหาร เหง้าใช้ทำแกงคั่ว
  • ผลอ่อน ใช้ทำส้มตำใช้ทำเมี่ยง
  • ผลแก่ ใช้รับประทานเป็นผลไม้
  • ยางจากกล้วยช่วยสมานแผลสด เช่น มีดบาดมือหรือเข่าถลอก
ผลกล้วยตานี
ผลกล้วยตานี ผลอ่อนสีเขียว ยาวรี

สรรพคุณทางยาของกล้วยตานี

ช่วยแก้ท้องเสียได้ โดยการนำผลดิบที่ยังอ่อนอยู่ นำมาฝานแล้วตากแดดไว้หลังจากนั้นนำมาบดแล้วรับประมานจะช่วยแก้ท้องเสียได้ ช่วยแก้ร้อนใน ดับกระหายได้ โดยการนำรากมาต้มน้ำรับประทาน

ปลีกล้วยตานี
ปลีกล้วยตานี ปลีรูปร่างป้อม ปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วงมีนวล

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยตานี

การแปรรูปของกล้วยตานี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11043&SystemType=BEDO
https:// th.wikipedia.org
http:// tree.t5denha.ac.th
https:// pharmacy.mahidol.ac.th
www.flickr.com

Add a Comment