กล้วยตีบ เป็นลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์เป็นยาสมุนไพร

กล้วยตีบ

ชื่ออื่นๆ : ตีบดำ, อีตีบ, กล้วยตีบน้อย

ต้นกำเนิด : พบมากทางภาคใต้

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa X paradisiaca L. (ABB group) “Tib-Ta-Nod”

ชื่อวงศ์ : Musaceae

ลักษณะของกล้วยตีบ

ต้น เป็นลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี  ลำต้นเทียมสูง 3-4 เมตร เส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 20 ซม. สีเขียวไม่มีปื้นดำ
กาบลำต้นด้านในสีเขียว ก้านใบสีเขียว ก้านสั้นกว่าก้านใบกล้วยตานีและมักไม่มีร่อง

ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายกล้วยตานี ท้องใบมีสีนวลขาว ใบสั้นและเล็กกว่าใบกล้วยตานี ที่สำคัญ “กล้วยตีบ” จะดูคล้ายต้นกล้วยใกล้จะตาย จะบำรุงอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น จะดูเหมือนกับต้นกล้วยโทรมๆ ตลอดเวลา

ดอก (ปลี) ก้านช่อดอก หรือเครือเป็นสีเขียว ไม่มี ขน ใบประดับปลีค่อนข้างป้อมสั้น ปลายมน ด้านบนเป็นสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้มสดใส เมื่อใบประดับกางและจะม้วนงอ

ผล เครือหนึ่ง จะมีหวีเพียง 1-2 หวีเท่านั้น แต่ละหวีจะมีผลประมาณ 7-8 ผล ไม่เกิน 10 ผล ผลสุกเป็นสีเหลือง เช่นเดียวกับผลกล้วยตานี แต่เล็กกว่า รสชาติฝาดปนเย็น ผลงอเล็กน้อย ปลายผลมีจุกใหญ่ ผลมีเหลี่ยม 5 เหลี่ยม

กล้วยตีบ
กล้วยตีบ กาบลำต้นด้านในสีเขียว ก้านใบสีเขียว

การขยายพันธุ์ของกล้วยตีบ

การแยกหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยตีบต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยตีบ

  • ไม่นิยมกินผลสุก ส่วนใหญ่จะปลูกเพื่อใช้ประโยชน์เป็นยาสมุนไพร
  • เนื้อผลสุกสีขาวครีม คล้ายกล้วยน้ำว้า แต่เนื้อละเอียดเนียน รสหวานเย็นกว่า เหมาะใช้เป็นอาหารเสริมที่สุดสำหรับเด็กเล็ก
ผลกล้วยตีบ
ผลกล้วยตีบ เครือหนึ่ง จะมีหวีเพียง 1-2 หวี มีผลประมาณ 7-8 ผล ไม่เกิน 10 ผล

สรรพคุณทางยาของกล้วยตีบ

  • ราก ใช้ต้มทำน้ำเป็นยาแก้ไข้ ร้อนใน
  • ผลอ่อนกินแก้ท้องเสีย
  • ปลีบำรุงน้ำนม
  • ต้น เผาไฟแล้วบีบเอาน้ำผสมน้ำนึ่งข้าวนำมาประคบแก้ปวดแขนปวดขา
  • เหง้า ผ่าเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาด 3×3 นิ้ว ย่างไฟให้ร้อนห่อด้วยผ้าประคบบริเวณที่ปวด โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะข้างเดียว
  • ใบตากแห้ง ใช้มวนยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก
  • ใบ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน น้ำที่คั้นจากใบหรือน้ำต้มใบใช้เป็นน้ำกระสายยา
  • ใบ เข้าตำรับยา อยู่ไฟ ออกไฟ และใช้ปิดฝาหม้อต้มยาแก้ผิดเดือน(อาการเลือดลมไม่ปกติในสตรี)
ปลีกล้วยตีบ
ปลีกล้วยตีบ สีแดงอมม่วง มีนวล เมื่อใบประดับกางจะม้วนงอ

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยตีบ

การแปรรูปของกล้วยตีบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10502&SystemType=BEDO
https://sireepark.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment