กล้วยทองดอกหมาก พันธุ์กล้วย ผลคล้ายกล้วยหอมทองขนาดเล็ก ผลสุกมีรสหวาน

กล้วยทองดอกหมาก

ชื่ออื่นๆ : กล้วยทองดอกหมาก, กล้วยดอกหมาก

ต้นกำเนิด : อำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี

ชื่อสามัญ : Kluai Thong Dok Mak

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Musa (AA) ‘Thong Dok Mak’

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยทองดอกหมาก

ต้น  ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5-3.5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมประมาณ 15 ซม. สีของกาบลำต้นเทียม มีประดำมาก ตรงโคนมีสีชมพู ไม่มีไข ด้านในสีเขียวอ่อน

ใบ  ก้านใบสีเขียวอมชมพู มีร่องค่อนข้างกว้างและมีปีกสีแดง เส้นกลางใบสีเขียวอมชมพู

ดอก  หรือปลี ก้านช่อดอกมีขน ลักษณะของใบประดับ รูปไข่ค่อนข้างยาว สีด้านบน สีแดงอมเทา ไม่มีนวล สีด้านล่าง สีแดงซีด ปลายใบประดับแหลม ม้วนขึ้น การเรียงของใบประดับไม่ค่อยซ้อนกันมาก

ผล  เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวีหรือต่ำกว่า หวีหนึ่งมี 16-18 ผล เนื้อ:เนื้อมีสีเหลืองอมส้ม รสหวาน ไม่มีเมล็ด กล้วยทองดอกหมาก ผลคล้ายกล้วยหอมทองขนาดเล็ก ปลายผลใหญ่ไม่มีติ่ง ผลสุกมีรสหวาน มีกลิ่นหอมคล้ายแตงไทย

ผลกล้วยทองดอกหมาก
ผลกล้วยทองดอกหมาก ปลายผลใหญ่ ผลคล้ายกล้วยหอมทองขนาดเล็ก

การขยายพันธุ์ของกล้วยทองดอกหมาก

การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

พบมากในจังหวัดพัทลุง

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยทองดอกหมากต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยทองดอกหมาก

  • ผลไม้รับประทาน

สรรพคุณทางยาของกล้วยทองดอกหมาก

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยทองดอกหมาก

การแปรรูปของกล้วยทองดอกหมาก

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : www.thaibiodiversity.org

Add a Comment