กล้วยนมนาง พันธุ์กล้วยผลเรียงเป็นระเบียบเวียนไปด้านเดียวกัน

กล้วยนมนาง

ชื่ออื่นๆ : กล้วยนมนาง

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Kluai Nom Nang

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Musa (AAB) ‘Nom Nang’

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยนมนาง

ต้น  ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 ซม. กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเหลืองอมส้ม มีปื้นดำที่ลำต้นและคอใบ มีนวลเล็กน้อย กาบด้านในสีเหลือง ต้นอ่อนลำต้นสีเขียวอมส้ม

ใบ  คอใบสีส้ม ก้านใบเปิด ก้านใบสีเหลืองอมเขียว มีครีบก้านใบสีเขียวขอบแดง ลักษณะใบเล็กเรียวชูตั้งขึ้น โคนใบมน ตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างเท่ากัน

ต้นกล้วยนมนาง
ต้นกล้วยนมนาง กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเหลืองอมส้ม

ดอก  หรือปลี ก้านช่อดอกมีขน ลักษณะทรงเครือและปลายก้านช่อดอกโค้งลง ใบประดับยาว ปลายใบแหลม ม้วนงอขึ้น ด้านนอกสีม่วงส้ม ด้านในโคนใบสีเหลือง และปลายใบสีแดงส้ม ใบเรียงเหลื่อมซ้อนกันเล็กน้อย ดอกมีก้านดอกสั้น

ปลีกล้วยนมนาง
ปลีกล้วยนมนาง สีม่วงส้ม ด้านในโคนใบสีเหลือง และปลายใบสีแดงส้ม

ผล  ผลเรียวสั้นป้อม ปลายผลมีจุกเล็กน้อย เกสรตัวเมียเมื่อแห้งไม่หลุดจากผล ผลเรียงเป็นระเบียบเวียนไปด้านเดียวกัน หนึ่งเครือมีประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 18-20 ผล ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกสีเหลือง รสหวาน มีกลิ่นหอมอ่อน

ผลกล้วยนมนาง
ผลกล้วยนมนาง ผลเรียวสั้นป้อม ปลายผลมีจุกเล็กน้อย

การขยายพันธุ์ของกล้วยนมนาง

การแยกหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยนมนางต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยนมนาง

ผลสุกรับประทาน

กลุ่ม AAB กล้วยชนิดนี้มีรสหวาน มีแป้งผสมอยู่บ้างในเนื้อ ทำให้มีความเหนียว บางชนิดรับประทานสดได้ บางชนิดต้องทำให้สุก ซึ่งเราเรียกกล้วยชนิดที่ต้องทำให้สุกนี้ว่า กล้าย (plantain)

สรรพคุณทางยาของกล้วยนมนาง

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยนมนาง

การแปรรูปของกล้วยนมนาง

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด

Add a Comment