กล้วยนางพญา ผลสุกรสหวาน กล้วยพันธุ์หายาก

กล้วยนางพญา

ชื่ออื่นๆ : กล้วยนางยา, กล้วยพญา

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Kluai Nang Phaya

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (ABB group) “Kluai Nang Phaya”

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยนางพญา

ต้น ลำต้นสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง ด้านในมีสีเขียวอมเหลือง

ใบ  ก้านสีเขียว ร่องใบเปิด ครีบสีชมพูเล็กน้อย

ดอก  ดอก (ปลี) สีแดงรูปไข่ค่อนข้างแหลม ใบประดับม้วนขึ้นเล็กน้อย  มีนวล

ผล  เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลมีเหลี่ยมชัดมาก ผลดิบมีสีเขียวเข้ม ก้านผลยาว เมื่อสุกมีสีเหลืองสดใสและมีจุดประสีน้ำตาล เนื้อด้านในสีเหลืองอมส้ม รสหวาน

กล้วยนางพญา
กล้วยนางพญา ผลมีเหลี่ยมชัดมาก ผลดิบมีสีเขียวเข้ม

การขยายพันธุ์ของกล้วยนางพญา

การแยกหน่อ, การแยกเหง้า, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การปลูก ขุดหลุมให้ลึก 50×50 เซนติเมตร นำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุมและคลุกกับหน้าดิน วางหน่อพันธุ์ลงกลางหลุม กลบดินให้แน่นพอประมาณ และรดน้ำให้ชุ่ม

การให้น้ำ เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี รดน้ำวันละหนึ่งครั้ง

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยนางพญาต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยนางพญา

  • ผลใช้รับประทานสด
  • ผลใช้ทำข้าวต้มมัด  รสชาติดี , กล้วยบวชชี, กล้วยทอด

สรรพคุณทางยาของกล้วยนางพญา

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยนางพญา

การแปรรูปของกล้วยนางพญา

ใช้ทำขนมหวาน เช่น กล้วยบวชชี กล้วยทอด ข้าวต้มมัด เป็นต้น

ข้าวต้มมัด
ข้าวต้มมัด แปรรูปจากกล้วยนางพญา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.kb.psu.ac.th
ภาพประกอบ : www.qsbg.org, www.flickr.com

One Comment

Add a Comment