กล้วยน้อย ไม้ต้นขนาดใหญ่ เนื้อไม้ใช้ทำบ้าน ถ่าน ก่อสร้าง

กล้วยน้อย

ชื่ออื่นๆ : สะทาง (อุบลราชธานี), เกรา (สุรินทร์), ตาเหลว (นครราชสีมา), ทัดทาง (กรุงเทพมหานคร) ต้นทาง กั้นทาง ตันทาง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กล้วยน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylopia vielana pierre

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะของกล้วยน้อย

ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 20 เมตร ผลัดใบ แตกกิ่งเกือบตั้งฉาก กับลำต้น เปลือกสีน้ำตาลแดงอมเทา ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปไข่แกมขอบขนานหรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบมน ใบมีขนเฉพาะด้านบน โคนใบเว้าเข้า แผ่นใบหนานิ่ม ดอกมีสีเหลือง โคนดอกสีม่วงแดง ดอกเดี่ยว ออกเป็นกรัจุก ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกซ้อนสองชั้นๆละ 3 กลีบ ผลเป็นแบบผลกลุ่มเมื่อแก่แตก ผิวด้านในของผลเป็นสีแดงสด เมล็ดสีดำ

กล้วยน้อย
กล้วยน้อย ไม้ต้นขนาดใหญ่ ปลายใบมน ใบมีขนเฉพาะด้านบน

การขยายพันธุ์ของกล้วยน้อย

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยน้อยต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยน้อย

ผลสุกรับประทานได้ และใบอ่อน เนื้อไม้ ทำบ้าน ถ่าน ก่อสร้าง และใช้ในพิธีกรรม โดยใช้กิ่งของต้นตันทางนี้ ขีดที่ดินเพื่อแบ่งดินแดนระหว่างคนกับผี หลังจากเสร็จพิธีเผาผี เชื่อว่าวิญญาณข้ามเส้นที่ขีดไว้ไม่ได้

สรรพคุณทางยาของกล้วยน้อย

ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ดอก เข้าเกสรร้อยแปดปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้อย

การแปรรูปของกล้วยน้อย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10957&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment