กล้วยน้ำว้า กล้วยอ่อง กล้วยใต้ ชื่อวิทยาศาสตร์ พร้อมสารอาหาร

กล้วยน้ำว้า,กล้วยอ่อง

ชื่ออื่นๆ : กล้วยน้ำว้าเหลือง, กล้วยมณีอ่อง, มะลิอ่อง, เจก, ยะไข่, สะกุย, แหลก, กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี) กล้วยใต้ (เชียงใหม่,เชียงราย) กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ) กล้วยตานีอ่อง (อุบลราชธานี)

ต้นกำเนิด : เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : กล้วยน้ำว้า Banana

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa ABB cv. Kluai ‘Namwa’

ชื่อวงศ์ : Musaceae

กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า 1 เครือมีจำนวนหลายหวี กล้วยน้ำว้า ชื่อวิทยาศาสตร์

ลักษณะของกล้วยน้ำว้า,กล้วยอ่อง

ต้น ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 3.5 เมตร ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน กาบเรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สีเขียวอ่อน

ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดห้อยลง เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มสีแดงเข้ม เมื่อบานจะม้วนงอขึ้น ด้านนอกมีนวล ด้านในเกลี้ยง

ผล รูปรี ยาว 11-13 ซม. ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก เนื้อในมีสีขาว พอสุกเปลือกผลเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน รับประทานได้ หวีหนึ่งมี 10-16 ผล บางครั้งมีเมล็ด เมล็ดกลม สีดำ ให้ผลตลอดทั้งปี

เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี

กล้วยน้ำว้า
ผลสุกเปลือกจะมีสีเหลือง ข้างในจะมีเนื้อสีขาว

การขยายพันธุ์ของกล้วยน้ำว้า,กล้วยอ่อง

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ ลักษณะหน่อที่เหมาะสมจะมี 2-3 ใบก่อน เรียกว่า ใบ

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยน้ำว้า,กล้วยอ่องต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า,กล้วยอ่อง

ส่วนที่ใช้ : หัวปลี เนื้อกล้วยน้ำว้าดิบ หรือห่าม กล้วยน้ำว้าสุกงอม ราก ต้น ใบ ยางจากใบ

สรรพคุณ :

  • ราก – แก้ขัดเบา
  • ต้น – ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน
  • ใบ – รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด
  • ยางจากใบ – ห้ามเลือด สมานแผล
  • ผล – รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง
  • กล้วยน้ำว้าดิบ – มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และอาหารไม่ย่อย
  • กล้วยน้ำว้าสุกงอม – เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด
  • หัวปลี – (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม
หัวปลี
ปลีกล้วยคือดอกของต้นกล้วย มีสีม่วงอ่อน เมื่อแก่จัดจะมีสีแดงเข้ม

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ขับน้ำนม – ใช้หัวปลีแกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ

แก้ท้องเดินท้องเสีย – ใช้กล้วยน้ำว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2 – 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ใน 4-5 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 3-4 ครั้ง

สรรพคุณเด่น :
แก้โรคกระเพาะ ท้องผูก
1. แก้โรคกระเพาะ – นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ถ้าเป็นกล้วยหักมุกดิบจะดีกว่า) มาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด 2 วันให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้รับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว น้ำผึ้ง (น้ำธรรมดาก็ได้) รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และก่อนนอนทุกวัน

2. แก้ท้องผูก – ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุกงอม ครั้งละ 2 ผล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 1/2 ชั่วโมง เวลารับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด

3. แก้ท้องเดิน – ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทาน หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบ ฝานเป็นแว่น ตากแห้งรับประทาน

สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำว้า,กล้วยอ่อง

ประโยชน์ทางยาของกล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ รสหวาน เย็น ไม่มีพิษ สารอาหารที่สำคัญๆ ในกล้วยน้ำว้า ได้แก่ แป้ง โปรตีน ไขมัน น้ำตาล วิตามินหลายชนิด จัดเป็นผลไม้บำรุงร่างกายดี นอกจากนี้กล้วยน้ำว้ายังสามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด เช่น เป็นยาทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้กระหาย ถอนพิษ นอกจากนี้ยังพบว่า มีฤทธิ์รักษาตามตำรับยา ดังนี้
รักษาความดันโลหิตสูง – เอาเปลือกกล้วยน้ำว้าสด 30-60 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าเอาปลีกล้วยต้มรับประทานเป็นประจำ จะช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้
รักษาริดสีดวงทวาร แก้ท้องผูก – รับประทานกล้วยหอมสุกตอนเช้า ขณะท้องว่างวันละ 1-2 ผล ทุกวัน
รักษามือเท้าแตก – เอากล้วยหอมที่สุกเต็มที่ เจาะรูเล็กๆ ที่ปลายข้างหนึ่ง แล้วบีบเอากล้วยออกมาทาที่เท้าแตก ทิ้งไว้หลายชั่วโมง จึงล้างออก จะรู้สึกดีขึ้น

สารเคมีที่พบ : หัวปลี มีธาตุเหล็กมาก

หัวปลี และราก มี Triterpene หรือ Steroid

ผลกล้วย ทุกชนิดประกอบด้วย น้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน เส้นใย เกลือแร่ต่างๆ (โดยเฉพาะแคลเซียม เหล็ก และโปรแตสเซียมในกล้วยน้ำว้ามีมาก) วิตามิน และเอนไซม์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมี Serotonin Noradrenaline และ Dopamine
-ผลดิบ มีแป้ง Tannin acid, Gallic acid และ Pectin มาก
-กล้วยหอมสุก ให้กลิ่น และรสของ Amyl acetate, Amylbutyrate Acetaldehyde, Ethyl alcohol และ Methyl alcohol
-น้ำยาง มี Pelargonidin, Cyanidin, Delphinidin Palonidin Petunidin และ Malvidin

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า,กล้วยอ่อง

กล้วยน้ำว้าสุก 100 กรัม  มีปริมาณสารอาหาร ดังนี้

1. ให้พลังงาน                      122  กิโลแคลอรี
2. โปรตีน                            1.2  กรัม
3. คาร์โบไฮเดรต                26.1  กรัม
4. ไขมัน                              0.3   กรัม
5. วิตามิน เอ                      375   หน่วยสากล
6. วิตามิน บี 1                   0.03   มิลลิกรัม
7. วิตามิน บี 2                   0.04    มิลลิกรัม
8.  ไนอาซิน                        0.6  มิลลิกรัม
9.   วิตามิน  ซี                   14.0  มิลลิกรัม
10.  แคลเซียม                  12.0  มิลลิกรัม
11.  ฟอสฟอรัส                 32.0  มิลลิกรัม
12.  เหล็ก                         0.8  มิลลิกรัม
13.  น้ำ                             7.6   กรัม

การแปรรูปของกล้วยน้ำว้า,กล้วยอ่อง

ในส่วนของการนำมาทำอาหาร

กล้วยนอกจากจะนำมาบริโภคเป็นอาหารแล้ว ทุกส่วนของกล้วยยังสามารถนำมาใช้ในด้านต่างๆ ได้ดังนี้

กล้วยฉาบ
กล้วยฉาบ แบบแว่น
กล้วยปิ้ง
กล้วยห่ามที่ยังไม่สุกนำมาปิ้ง
กล้วยทอด
กล้วยทอด หรือกล้วยชุบแป้งทอดให้กรอบ
กล้วยอบ
กล้วยอบ มีรสหวาน หอม

ส่วนที่ไม่ได้นำมาทำอาหาร

  • เศษเหลือจากการใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร ได้แก่ เปลือกกล้วย โดยเฉพาะเปลือกกล้วยน้ำว้าสุกที่เหลือจากการทำกล้วยตาก/อบ และกล้วยกวน ทางโรงงานแปรรูปจะนำไปตากแห้ง และใช้เป็นเชื้อเพลิงใน   การกวนผลไม้แทนการใช้ฟืน ซึ่งให้ไฟค่อนข้างแรงและสม่ำเสมอ เนื่องจากเส้นใย/น้ำตาลในเปลือกกล้วยสุก
  • เศษเหลือจากการเกษตร ได้แก่ ใบกล้วย ก้านกล้วย ต้นกล้วย และหน่อกล้วย สำหรับหน่อกล้วยใช้ทำพันธุ์ ใบกล้วยใช้ห่อขนม เช่น ข้าวต้มผัดไส้กล้วย ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ขนมกล้วย ใช้ห่อแหนม หมูยอและปลาส้ม ใบกล้วยยังใช้ทำกระทงนํ้าจิ้ม และกระทงขนมเข่ง
  • ก้านกล้วยและต้นกล้วยมีการนำไปดึงเป็นเส้นตากแห้ง เรียกว่า เชือกกล้วย แต่ก็ถูกแทนที่ด้วยเชือกพลาสติก มีการนำก้านกล้วยและต้นกล้วยมาทำเป็นเส้นแล้วถัก/ร้อย/สานเป็นประเป๋า ถาด และเสื่อ

ก้านกล้วยและต้นกล้วย ส่วนหนึ่งมีการต้มเยื่อเพื่อทำกระดาษกล้วย ยางกล้วยเป็นปัญหาหนึ่งในกระบวนการต้มเยื่อ ดังนั้น เนื้อเยื่อกล้วยที่ได้ค่อนข้างหยาบ ไม่อาจตีเยื่อให้ละเอียดและกระจายเยื่อให้สมํ่าเสมอ การฟอกและการย้อมก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งในการทำกระดาษกล้วย กระดาษกล้วยที่ได้จึงมีสีคล้ำออกไปทางสีน้ำตาลอ่อน/แก่

ข้าวต้มมัด
ใบกล้วย นำมาห่อข้าวต้มมัด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10944&SystemType=BEDO
https://www.scimath.org
https://www.flickr.com
https://www.scimath.org
http://www.rspg.or.th
http://area-based.lpru.ac.th
http://saranukromthai.or.th
http://biodiversity.forest.go.th
http://www.sptn.dss.go.th

Add a Comment