กล้วยนํ้าว้า กล้วยใต้ กล้วยอ่อง กล้วยตานีอ่อง กล้วยมะลิอ่อง ผลไม้เครือมากสรรพคุณ

กล้วยนํ้าว้า กล้วยใต้ กล้วยอ่อง กล้วยตานีอ่อง กล้วยมะลิอ่อง ผลไม้เครือมากสรรพคุณ

ชื่ออื่นๆ : กล้วยใต้ (เชียงใหม่ เชียงราย) กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ) กล้วยตานีอ่อง (อุบลราชธานี) กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี)

ต้นกำเนิด  :  เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ  : Banana,Cultivated banana

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Musa ABB CV. Kluai “Namwa”

ชื่อวงศ์  : Musaceae

ชื่อภาษาอังกฤษ : Cultivated banana

กล้วยนํ้าว้า กล้วยใต้ กล้วยอ่อง กล้วยตานีอ่อง กล้วยมะลิอ่อง ผลไม้เครือมากสรรพคุณ
กล้วยน้ำว้าสุก

ลักษณะของกล้วยน้ำว้า

    กล้วย เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูง ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินรูปร่างกลมมีกาบใบหุ้มซ้อนกัน ใบสีเขียวขนาดใหญ่ ก้านใบยาวมองเห็นชัดเจน ดอกออกที่ปลายช่อ ลักษณะห้อยหัวลงยาว 1-2 ศอก เรียกว่า ปลี มีดอกย่อยออกเป็นแผง ผลจะติดกันเป็นแผง เรียกว่า หวี เรียงซ้อนกันหลายๆ หวี เรียกว่า เครือ”  กล้วยน้ำว้าให้ผลผลิตได้ทั้งปี

การขยายพันธุ์ของกล้วยน้ำว้า

  • กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด
  • กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้หน่อ
  • กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture)

ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า

1. กล้วยน้ำว้าสุก
– กล้วยน้ำว้าสุก นำมารับประทานเป็นผลไม้
– นำมาใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญบ้าน พิธีเข้าพาขวัญ/สู่ขวัญ เป็นต้น
– กล้วยดิบหรือกล้วยห่าม นำมาปอกเปลือก และนำผลไปตากแห้ง แล้วบดเป็นผงกล้วยสำหรับใช้ประกอบอาหารหรือทำขนมหวาน
2. กล้วยน้ำว้าดิบ
– นำมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ ทอด และโรยน้ำตาลหรือน้ำเชื่อม
– ผลกล้วยน้ำว้าดิบนำมาปอกเปลือก หั่นผลบางๆ แล้วนำมาตำรวมกับมะยม
3. ลำต้นหรือหยวกกล้วยอ่อน
– นำมาปรุงอาการ เช่น หมกหยวกกล้วย แกงหยวกกล้วย เป็นต้น
– นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ ที่ส่วนมากนิยมใช้เลี้ยงสุกร
4. ปลีกล้วย
– ปลีกล้วย นำมาประกอบอาหาร เช่น ยำหัวปลี แกงหัวปลีใส่ปลา ห่อหมกหัวปลีใส่ไก่ เป็นต้น
– ผลอ่อนที่ได้จากการตัดปลีกล้วย ใช้จิ้มน้ำพริกหรือรับประทานสดเป้นเครื่องเคียง
5. ใบกล้วยหรือใบตอง
– นำมาห่ออาหารหรือห่อปรุงอาหาร เช่น ห่อหมกต่างๆ
– ใบกล้วยทีเหลือจากการตัดเครือหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ นำมาเป็นอาหารสัตว์ เช่น ใช้เลี้ยงสุกร และโค เป็นต้น
– ใบกล้วยใช้ทำเครื่องเล่นเด็ก
– ใบกล้วยใช้ทำเครื่องพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ใช้ทำพานบายศรีสู่ขวัญ หรือ ใช้ห่อกระทง เป็นต้น
– ใบกล้วยที่แห้งคาต้น คนโบราณหรือคนในชนบทนิยมในปัจจุบันนำมาใช้มวนยาสูบ
6. กาบกล้วย
– กาบกล้วยสด นำมาฉีกแบ่งเป็นเส้นเล็กๆ สำหรับใช้แทนเชือกรัดของ
7. ก้านกล้วย
– ใช้ทำเครื่้องเล่นให้แก่เด็ก เช่น ม้าก้านกล้วย

สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำว้า

  •  กินกล้วยนํ้าว้าสุกวันละ 1-2 ผลหรือนำมาปอกเปลือกแช่นํ้าผึ้งไว้ 1 สัปดาห์กิน สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ถือเป็นยาอายุวัฒนะ เนื่องจากช่วยบำรุงสุขภาพ ทำให้อายุยืน ไม่เป็นโรคภัย
  • สำหรับผู้ที่เบื่อการกินข้าว สามารถกินกล้วยนํ้าว้าแทนได้บางมื้อ เพราะกล้วยนํ้าว้าเป็นผลไม้ให้พลังงานสูง โดยกล้วยนํ้าว้า 1 ผลจะให้พลังงาน 100 แคลอรี อีกทั้งยังมีนํ้าตาลธรรมชาติอีก 3 ชนิด คือ ฟรุกโตส ซูโครส และกลูโคส รวมถึงวิตามินต่างๆอีกด้วย แต่สำหรับผู้ที่กำลังควบคุมนํ้าหนักไม่ควรกินมากเกินไป
  • กินกล้วยนํ้าว้าสุกเป็นประจำ หรือนำผลดิบมาปอกเปลือกฝานเป็นแผ่นบางๆตากแดดให้แห้งสนิท บดเป็นผงละเอียดผสมนํ้าผึ้งเล็กน้อย กินครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะก่อนอาหารหรือก่อนนอน 30 นาทีทุกวัน จะช่วยบรรเทาอาการ Dyspepsia หรืออาการอาหารไม่ย่อยได้ เนื่องจากกล้วยนํ้าว้าช่วยลดกรดเกินในกระเพาะอาหาร
  • กลิ่นปากเหม็นๆในตอนเช้ากำจัดได้ด้วยการกินกล้วยนํ้าว้าสุกทักทีที่ตื่นนอน จากนั้นก็แปรงฟันตามปกติ จะช่วยลดกลิ่นปากได้
  • การให้เด็กๆกินกล้วยนํ้าว้าสุกเป็นประจำจะช่วยให้เด็กได้รับกรดอะมิโนฮีสติดิน (Histidine) และอาร์จีนิน (Arginine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างต่อเนื่อง
  • นำกล้วยนํ้าว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นบางๆต้มกับนํ้า 30 นาที นำนํ้าที่ได้มาดื่มครั้งละครึ่งแก้วจะช่วยบรรเทาอาการท้องเสียแบบไม่รุนแรงได้
  • เปลือกด้านในกล้วยนํ้าว้า มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง นำเปลือกด้านในมาทาที่แผลแมลงสัตว์กัดต่อย จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบหรือบวมแดงได้
  • กินกล้วยนํ้าว้าสุกวันละ 4 ผล ช่วยบรรเทาอาการเจ็บในลำคอ และเจ็บหน้าอกจากอาการไอแห้งๆได้
  • สารเพกติน (Pactin) ในกล้วยนํ้าว้าสุกช่วยบำรุงหัวใจ และเป็นเส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์ (fiber) ที่ทำให้ลำไส้บีบรัดตัวได้ดีช่วยให้ขับถ่ายได้ง่าย
  • กินหัวปลีจากกล้วยนํ้าว้าช่วยบำรุงเลือด แก้อาการร้อนใน กระหายนํ้า บำรุงลำไส้ บรรเทาอาการโลหิตจาง เพราะหัวปลีอุดมด้วยธาตุเหล็ก อีกทั้งยังช่วยขับนํ้านมในคุณแม่ที่เพิ่งคลอดอีกด้วย
  • กินกล้วยนํ้าว้าเป็นประจำช่วยป้องกันการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า

  • น้ำ 75.7 กรัม
  • พลังงาน 85 แคลอรี่
  • โปรตีน 1.1 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม
  •  เถ้า 0.8 กรัม
  • แคลเซียม (Ca) 8.0 กรัม
  • เหล็ก (Fe) 0.7 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม (K) 370 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม (Mg) 33 มิลิกรัม
  • วิตามินเอ 190 IU
  • วิตามินซี 10 มิลลิกรัม
  • ไทอามีน (Thiamine) 0.05 มิลลิกรัม
  • ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) 0.06 มิลลิกรัม
  • ไนอาซีน (Niacin) 0.7 มิลลิกรัม

การแปรรูปของกล้วยน้ำว้า

    กล้วยน้ำว้าสุกใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่างๆ อาทิ กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี มีลักษณะสีเหลืองทั้งเปลือก และเนื้อ มีรสหวาน เหนียวนุ่ม นำมารับประทานเป็นผลไม้ และทำขนมหวาน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยตาก หรือ ข้าวต้มมัด เป็นต้น

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับกล้วย
รูปภาพจาก : pixabay.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

3 Comments

Add a Comment