กล้วยป่าปลีทอง กล้วยป่าปลีเหลือง พันธุ์ของกล้วย

กล้วยป่าปลีเหลือง

ชื่ออื่นๆ : กล้วยป่าปลีเหลือง, กล้วยป่าปลีทอง, กล้วยปลีทอง

ต้นกำเนิด : พบได้ในพื้นที่ป่าโปร่งแถบอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ชื่อสามัญ : Kluai Pa Pli Lueang

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Musa acuminata Colla spp. banksii (F.Muell) Simmonds

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยป่าปลีเหลือง

ต้น  ลำต้นเทียมสูงประมาณ 3-4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นต่ำกว่า 15 เซนติเมตร สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว ไม่มีปื้นดำที่ลำต้น มีนวลมากชัดเจน กาบด้านในสีเขียวอ่อน ไม่มีปื้นแดง

ใบ  ก้านใบปิด ก้านใบสีเขียว มีครีบก้านใบสีเขียว ใบเรียวยาวชูตั้งขึ้น โคนใบมนตำแหน่งทั้งสองข้างเท่ากัน

ดอก  หรือปลี ก้านช่อดอกมีขนอ่อนๆ ลักษณะของใบประดับยาว ด้านนนอกสีเหลืองอมเขียว ด้านในสีเหลือง ปลายใบประดับมนเรียงซ้อนกันเหลื่อมกันไม่ถึงปลายปลี ปลายปลีม้วนงอขึ้น การเรียงของใบประดับทับซ้อนกันลึก

ผล  ลักษณะทรงเครือขนานกับพื้นดิน ปลายก้านช่อดอกโค้งลง ดอกมีก้านดอกสั้น ขนาดผลเล็กเรียวยาว ปลายผลมน มีจุกชัดเจน การเรียงของผลเป็นระเบียบ ผลเมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อผลสีขาว มีเมล็ดมาก เมล็ดมีสีดำ ผนังหนาและแข็ง

ต้นกล้วยป่าปลีเหลือง
ต้นกล้วยป่าปลีเหลือง สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว ไม่มีปื้นดำที่ลำต้น
ปลีกล้วยป่าปลีเหลือง
ปลีกล้วยป่าปลีเหลือง ก้านช่อดอกมีขนอ่อน มีสีเหลืองอมเขียว

การขยายพันธุ์ของกล้วยป่าปลีเหลือง

การแยกหน่อ

การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยป่าปลีเหลืองต้องการ

ชอบความชื้น กลางแจ้ง ชอบดินเหนียวปนทราย

ประโยชน์ของกล้วยป่าปลีเหลือง

  • ใช้ในการจัดสวน 
  • พันธุ์กล้วยหายาก

สรรพคุณทางยาของกล้วยป่าปลีเหลือง

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยป่าปลีเหลือง

การแปรรูปของกล้วยป่าปลีเหลือง

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : รวบรวมสายพันธุ์กล้วย

One Comment

Add a Comment