กล้วยป่า กล้วยเถื่อน หยวกกล้วยชนิดนี้รสชาติดี

กล้วยป่า กล้วยเถื่อน

ชื่ออื่นๆ : กล้วยไข่ (กลาง,เหนือ) กล้วยเถื่อน (ใต้) กล้วยเถื่อนน้ำมัน (ใต้) กล้วยลิง (อุตรดิตถ์) กล้วยหม่น (เชียงใหม่) และปิซังอูตัน (มลายู ปัตตานี)

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อภาษาอังกฤษ : Musa acuminata Colla

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยป่า

ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูง 4 – 5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร กาบลำต้นมีสีเขียวอ่อน ตรงโคนต้นมีลายประดำ
ใบ ก้านใบสีเขียว ร่องก้านใบปิด โคนใบจะม้วนเข้าเล็กน้อย

ใบกล้วยป่า ใบกล้วยเถื่อน
ใบกล้วยป่า แข็งกรอบ

ดอก ปลีมีสีม่วงหรือแดง มีนวล รูปร่างป้อม

ปลีกล้วยป่า
ปลีกล้วยป่า กำลังออกดอก ผสมเกสร

เครือกล้วยป่า กล้วยป่าจะมีจำนวนหวีต่อเครือไม่เยอะ (ขึ้นกับความสมบูรณ์ของต้น)

ต้นกล้วยป่า พร้อมเครือกล้วย
เครือกล้วยป่า บนต้นกล้วย

ผล เครือหนึ่งมี 3 หวี หรือมากกว่า หวีหนึ่งมีประมาณ 10 ผล ผลมีลักษณะอ้วน พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบเขตร้อน ไทยจัดเป็นไม้เบิกน้ำที่ดีตามที่ชื้นชายป่าและหุบเขา การออกดอกและติดผลตลอดปี

กล้วยป่าดิบทั้งเครือ
กล้วยป่าดิบทั้งเครือ
ผลกล้วยป่า
ผลกล้วยป่า ผลภายในสีขาว มีเมล็ดจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ของกล้วยป่า

การใช้หัว, เหง้า, แยกหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยป่าต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยป่า

  • หยวกกล้วยป่าจะอร่อยกว่าหยวกกล้วยบ้าน เพราะจะนิ่มและหวาน ใบกล้วยป่าจะมีสีเขียว  แกะหยวกกล้วยป่าเอาเปลือกที่แข็งออกให้หมด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  • ปลีกล้วย ผัก ประกอบอาหาร ผลอ่อน ผัก ประกอบอาหาร
  • ใบใช้ห่อของ ผลอ่อนและหัวปลีกินได้แต่มีเมล็ดมาก เป็นอาหารของสัตว์ป่า
  • ผลอ่อนยำ ปลีผัดเผ็ด หยวกแกงกะทิ  แต่ความอร่อยของปลีกล้วยป่า ยังสู้ปลีกล้วยน้ำว้า ยังไม่ได้

สรรพคุณทางยาของกล้วยป่า

  • ยาง สมานแผลห้ามเลือด
  • ผลดิบ แก้ท้องเสีย
  • ผลสุก เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็น โรคริดสีดวงทวาร
  • หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด
ตำรายาพื้นบ้าน : รากและเหง้าผสมยาอื่น ปรุงเป็นยาดับพิษฝีภายใน แก้ไข้ผิดน้ำ (เป็นไข้เข้าใจว่าหายแล้วไปอาบน้ำกลับไข้อีก) ผล ที่เปลือกพอเริ่มเหลืองนิด ๆ นำมากินดิบรักษาแผลในกระเพาะ ใบ กล้วยเถื่อนใช้หางใบ ๓ หาง วางซ้อนกันหงายลงในหม้อ แล้วเอากะลาตัวเมียคว่ำปิด ใส่น้ำลงในหม้อพอประมาณ ต้มกินน้ำแก้ตกเลือด รากขับปัสสาวะ

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยป่า

การแปรรูปของกล้วยป่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10678&SystemType=BEDO
https://sc.sci.tsu.ac.th/plantsci/planscitsu.php?ssl=7
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=750&view=showone&Itemid=59

8 Comments

Add a Comment