กล้วยป่า กล้วยเถื่อน ผลไม้เครือ พืชไม้เนื้ออ่อน รสหวาน มีเมล็ดมาก

กล้วยป่า กล้วยเถื่อน ผลไม้เครือ พืชไม้เนื้ออ่อน รสหวาน มีเมล็ดมาก

ชื่ออื่นๆ : กล้วยแข้, กล้วยลิง, กล้วยหม่น, ปิซังอูตัง, กล้วยเถื่อน, กล้วยเถื่อนน้ำมัน

ต้นกำเนิด : เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : กล้วยป่าใบประ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa acuminata

ชื่อวงศ์ : MUSAACEAE

ชื่อภาษาอังกฤษ : Musa balbisiana

กล้วยป่า กล้วยเถือน ผลไม้เครือ พืชไม้เนื้ออ่อน รสหวาน มีเมล็ดมาก
กล้วยป่า

ลักษณะของกล้วยป่า

กล้วยป่า เป็นพืชไม้เนื้ออ่อน มีต้นเทียมสูงประมาณ 3 เมตร และมีความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 ซม. กาบลำต้นมีความนวลเล็กน้อย ส่วนของใบกล้วย เป็นใบเดี่ยว มีลักษระรูปขอบขนาน ขนาดของกว้าง 40-60 ซม. ยาว 2-3 ซม. ใบจะมีลักษณะชูขึ้นค่อนข้างตรง ส่วนของก้านใบ จะมีสีชมพูอมแดง ส่วนของเป็นดอกช่อ ลักษณะของการออกดอกออกเป็นช่อมีลักษณะเอนคล้ายงวง ตรงส่วนปลายเป็นปลี ทรงคล้ายๆดอกบัวแต่ยาวกว่า ส่วนของใบประดับรูปไข่กว้างค่อนข้างยาว โคนมีสีแดงจัด เมื่อเปิดจะมีการม้วนงอออก ด้านบนสีม่วงอมแดง มีปลายแหลม มีนวลๆด้านล่าง จะสามารถติดผลตลอดปี ส่วนผล เป็นหวีเหมือนกล้วยทั่วไๆป ผลเป็นผลเดี่ยว มีรูปทรงกลม ขอบขนาน โคนผลจะมน ปลายผลมีความสอบ โค้งงอเล็กน้อย ผลจะมีเนื้อบาง และสีขาว รสชาติหวาน ส่วนภายในของจะมีเมล็ดมาก และเมล็ดเป็นสีดำ ผนังหนาและแข็ง ส่วนวิธีการขยายพันธุ์ จะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อเหมือนกล้วยทั่ว ๆ ไป ในส่วนประโยชน์ที่นำมาใช้ ใบใช้ห่อของต่างๆ โดยเฉพาะขนมไทย ผลอ่อนและหัวปลี ใช้สำหรับการปรุงเป็นอาหารเพราะสามารถรับประทานได้ นอกจากนี้ยังเป็นอาหารของสัตว์ป่า สถานที่ที่มักจะพบกล้วยป่า คือ พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบเขตร้อน ในประเทศไทยจัดเป็นไม้เบิกน้ำที่ดีตามที่ชื้นชายป่าและบริเวณหุบเขา

การขยายพันธุ์ของกล้วยป่า

กล้วยป่ามีการขยายพันธ์ด้วยหน่อปลูกได้ในดิน เกือบทุกชนิด

ประโยชน์ของกล้วยป่า

ใบใช้ห่อของ ผลอ่อนและหัวปลีกินได้แต่มีเมล็ดมาก เป็นอาหารของสัตว์ป่า สามารถนำหยวกของมันมาทำเป็นอาหารได้

สรรพคุณทางยาของกล้วยป่า

  • ยาง สมานแผลห้ามเลือด
  • ผลดิบ แก้ท้องเสีย
  • ผลสุก เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็น โรคริดสีดวงทวาร
  • หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยป่า

  • ยังไม่มีข้อมูล

การแปรรูปของกล้วยป่า

  • นำมาใส่แกงเผ็ด ทำส้มตำ ไม่นิยมรับประทานผลแก่ เพราะมีเมล็ดมาก แต่คนไทยและคนเอเชียส่วนใหญ่รับประทานปลีและหยวก

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับกล้วย

References : www.bedo.or.th

ภาพประกอบ : www.bedo.or.th

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

9 Comments

    • kasettambon Admin ธันวาคม 13, 2020

ส่งความเห็นที่ กล้วยป่า ยกเลิกการตอบ