กล้วยผา เป็นกล้วยไม่มีหน่อ ผลเป็นเหลี่ยม มีเมล็ดจำนวนมาก

กล้วยผา

ชื่ออื่นๆ : กล้วยผาปลีเหลือง, กล้วยป้ำ, กล้วยผาปลีเขียว, กล้วยโทน

ต้นกำเนิด : ชอบขึ้นตามบริเวณที่ลาดชัน ในบริเวณเขาหินปูน ที่ความสูง 300-800 ม. จากระดับน้ำทะเล

ชื่อสามัญ : rock banana หรือ cliff banana

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa superba Roxb.

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยผา

ต้น : ไม้ล้มลุก ลำต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 4 ม. ลำต้นเทียมโคนขยายใหญ่คล้ายเป็นหัว กาบมีนวล เป็นกล้วยไม่มีหน่อ

ใบ : ใบกว้าง 60-90 ซม. ยาว 1-3 ม. ปลายใบแหลม โคนใบเรียวจรดก้านใบ ก้านใบยาวได้ประมาณ 50 ซม. เป็นร่องกว้าง ช่อดอกตั้งขึ้น ปลายโค้งลง ใบประดับสีน้ำตาลอมแดง รูปไข่กลับกว้างเกือบกลม คล้ายรูปหัวใจ ยาวประมาณ 30 ซม.

ดอก : ดอกมี 20-30 ดอก เรียง 2 แถว กลีบรวมที่เชื่อมติดกันสีขาว ยาวเท่าๆ รังไข่ กลีบรวมแยก (วงใน) สั้นกว่ากลีบวงนอกประมาณ 5 เท่า โปร่งใส รังไข่ยาวประมาณ 2.5 ซม. ปลีใหญ่คล้ายดอกบัว ชูตั้งขึ้น

ผล : ผลรูปทรงกระบอก ยาว 2-4 ซม. เป็นเหลี่ยม เมล็ดจำนวนมาก เมล็ดกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 มม. ผิวเรียบ สีดำ เป็นมันวาว

ต้นกล้วยผา
ต้นกล้วยผา ลำต้นเดี่ยว กาบมีนวล
ผลกล้วยผา
ผลกล้วยผา ผลเป็นเหลี่ยม รูปทรงกระบอก

การขยายพันธุ์ของกล้วยผา

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยผาต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยผา

ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของกล้วยผา

เมล็ดบดใช้รักษาโรคนิ่ว

ปลีกล้วยผา
ปลีกล้วยผา ปลีสีน้ำตาลอมแดง

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยผา

การแปรรูปของกล้วยผา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11673&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment