กล้วยเสือพราน พันธุ์กล้วย ผลสุกมีรสชาติหวานรับประทานได้ แต่มีเนื้อน้อยและเมล็ดเยอะ จึงไม่นิยมรับประทานกัน

กล้วยเสือพราน

ชื่ออื่นๆ : กล้วยเสือพราน, กล้วยหทารพราน

ต้นกำเนิด : ขึ้นริมลำธารในป่าดิบชื้น ความสูง 50-300 เมตร  พบที่คาบสมุทรมลายู และภาคใต้ตอนล่างของไทยที่ยะลา และนราธิวาส

ชื่อสามัญ : Kluai Sue Phran

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa gracilis Holttum

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยเสือพราน

ต้น ไม้ล้มลุกแตกหน่อ สูง 0.5-2 ม. ลำต้นเทียมเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 ซม. มีปื้นสีม่วงทั่วไป

ใบ ใบกว้าง 25-35 ซม. ยาว 90–150 ซม. ก้านใบยาว 30-70 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีนวล เส้นกลางใบเป็นร่อง

กล้วยเสือพราน
กล้วยเสือพราน ลำต้นมีปื้นสีม่วงทั่วไป

ดอก/ปลี ช่อดอกตั้งตรง ยาวได้ถึง 1 ม. มีขนหนาแน่น ใบประดับรูปขอบขนาน สีม่วงอมชมพู ยาวได้ถึง 15 ซม. ดอกเพศเมียเรียงเป็นกระจุก 3-8 แถว แถวละ 2-4 ดอก กลีบรวมที่เชื่อมติดกันแยกจรดโคนด้านหนึ่ง ปลายจักเป็น 5 แฉก ตื้น ๆ

ผล ผลตรงสีน้ำตาลดำ คล้ายลายที่ใบ  ยาวได้ถึง 10 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. มี 3-4 เหลี่ยม ก้านผลยาว 1-2 ซม. ผลอ่อนมีขนกระจาย เมล็ดกลมหรือรี แบน ผลเมื่อสุกเนื้อเป็นสีขาว มีขนาดเล็กมีรสชาติหวานรับประทานได้ แต่มีเนื้อน้อยและเมล็ดเยอะ จึงไม่นิยมรับประทานกัน

กล้วยเสือพราน
กล้วยเสือพราน ผลตรงสีน้ำตาลดำ คล้ายลายที่ใบ

การขยายพันธุ์ของกล้วยเสือพราน

การแยกหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยเสือพรานต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยเสือพราน

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
  • ใบ ใช้ห่ออาหาร
  • ลำต้น ใช้ทำเชือกกล้วย

สรรพคุณทางยาของกล้วยเสือพราน

  • ก้านใบ จะนำมาตำให้แหลกใช้พอกเพื่อลดอาการบวมของฝี
  • ใบอ่อน คนไทยเมื่ออดีตจะนำใบอ่อนมาอังไฟพอนิ่มแล้วนำไป ใช้พอกแก้เคล็ดขัดยอก
  • ผลมีสารเซอโรโทนินซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ผลดิบมีสารกระตุ้นเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารให้หลั่งสารออกมาเคลือบกระเพาะ ในผลสุกอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตถึง 22 % รวมถึงเกลือแร่ เพกติน วิตามินเอ บี และซี มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยเสือพราน

การแปรรูปของกล้วยเสือพราน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.bedo.or.th, www.rprp.hwt.co.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com, ร้านสวนยายเกด

One Comment

Add a Comment