กล้วยไข่ชุมพร พันธุ์กล้วย ผลสุกมีสีเหลือง แต่อาจพบจุดดำเล็กบนเปลือกผล

กล้วย

ชื่ออื่นๆ : กล้วยไข่ชุมพร, กล้วยไข่

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ชื่อสามัญ : Kluai Khai Chumporn

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Musa (AA) ‘Khai Chumporn’

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วย

ต้น  ลำต้นแท้ที่เป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีลำต้นเทียมสูง 2.5-3.0 ม. ลำต้นมีเส้นผ่าศูนญ์กลางประมาณ 16 ซม. หรือ มีเส้นรอบวงลำต้นประมาณ 50 ซม. กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวปนเหลือง

ใบ  สีเขียวปนเหลือง ใบไม่เป็นนวล ก้านใบสีเขียวอมเหลือง ใบกว้างประมาณ 70-75 ซม. ยาว 180-195 ซม. แผ่นใบทั้งสองด้านมีความกว้างไม่เท่ากัน มีร่องกว้าง

ดอก  หรือปลี เป็นแบบดอกรวม เรียกว่า ปลี ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันโดยดอกเพศเมียอยู่ด้านบน ส่วนดอกเพศผู้อยู่ด้านล่าง ใบประดับดอกมีรูปไข่ มีลักษณะม้วนงอขึ้น โดยมีส่วนปลายค่อนข้างแหลม ด้านล่่างมีสีแดงอมม่วง ด้านบนมีสีซีด

ผล  แบ่งเป็นหวีๆ ประมาณ 7-10 หวี แต่ละหวีมีผลกล้วยประมาณ 10-14 ผล ผลมีขนาด กว้างประมาณ 2-3 ซม. ยาวประมาณ 8-10 ซม. มีก้านผลค่อนข้างสั้น เปลือกผลค่อนข้างบาง เมื่อสุกมีสีเหลือง แต่อาจพบจุดดำเล็ก ๆ ประปรายบนเปลือกผล เนื้อกล้วยมีสีครีมอมส้ม ให้รสหวาน และมีกลิ่นหอม

กล้วยไข่ชุมพร
กล้วยไข่ชุมพร ผลค่อนข้างสั้น เปลือกผลค่อนข้างบาง เมื่อสุกมีสีเหลือง แต่อาจพบจุดดำเล็ก

การขยายพันธุ์ของกล้วย

การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยต้องการ

การปลูกกลางแจ้ง,ร่มรำไร

ประโยชน์ของกล้วย

  • ผลสุก นิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้
  • ใบตองนำมาห่อขนมของหวานหรือใช้ห่ออาหารทำห่อหมก
  • ต้นกล้วย ใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษ
  • กาบลำต้น ฉีกเป็นเส้นๆ ใช้สำหรับรัดสิ่งของแทนเชือก

สรรพคุณทางยาของกล้วย

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วย

การแปรรูปของกล้วย

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : www.pixabay.com

Add a Comment