กล้วย ประโยชน์และสรรพคุณของกล้วย

กล้วย ประโยชน์และสรรพคุณของกล้วย

ต้นกำเนิด  : เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ  :  Bananas

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Musa cultivars and hybrids

ชื่อวงศ์  :  MUSACEAE

ลักษณะของกล้วย

พืชไม่มีเนื้อไม้อายุหลายปี มีเหง้า ยอดใหม่เจริญขึ้นเหนือดิน เรียกว่า ลำต้นเทียม ใบเดี่ยว เรียงเวียน แผ่นใบขนาดใหญ่รูปขอบขนาน ช่อดอกออกเพียงช่อเดียวต่อหนึ่งลำต้นเทียม เป็นช่อเชิงลดประกอบ ดอกมีประมาณ 5-15 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 12-20 ดอก เรียงเป็นสองแถวอยู่ภายใต้ใบประดับรูปไข่ปลายแหลมสีแดง ดอกเพศผู้อยู่ที่ปลายช่อ เรียกว่า “ปลี” กลางช่อบางครั้งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกเพศเมียที่โคนช่อเจริญเป็นผลได้โดยไม่มีการผสม รังไข่ใต้วงกลีบ ผลแบบกล้วย ไม่มีเมล็ด ผลแต่ละกลุ่มเรียกว่า “หวี” ผลทั้งช่อเรียกว่า “เครือ”

กล้วยมีมากกว่า 1,000 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่นิยมปลูกแพร่หลายและคนไทยส่วนใหญ่นิยมรับประทานประกอบด้วย กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยไข่ กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง ส่วนที่เป็นสายพันธุ์พื้นบ้าน ประกอบด้วย กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยนางพญา กล้วยนาค กล้วยหิน กล้วยงาช้าง และกล้วยเทพรส เป็นต้น

ต้นกล้วย
กล้วยเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน เรียกว่า หัว

การขยายพันธุ์ของกล้วย

ใช้กิ่ง/ลำต้น

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยต้องการ

ประโยชน์ของกล้วย

ผลสุก กินสดเป็นผลไม้ แปรรูป (ดูกล้วย) ผลอ่อน ปลี และแกนลำต้นเทียมกินเป็นผัก กาบด้านนอกของลำต้นเทียมใช้ทำเชือก ใบใช้ห่อของ ผลสุกและผลอ่อนกินเป็นยา

ผลสุก กินสดเป็นผลไม้ แปรรูป (ดูกล้วย) ผลอ่อน ปลี และแกนลำต้นเทียมกินเป็นผัก กาบด้านนอกของลำต้นเทียมใช้ทำเชือก ใบตองใช้ห่อของ ใช้ประดิษของต่าง ๆ เช่น กระทง, บายศรี ใช้ห่อขนม ห่อผักสด ห่ออาหาร ผลสุกและผลอ่อนกินเป็นยา

ทุกส่วนของกล้วยใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด

ประโยชน์ของกล้วยหอม สามารถช่วยเลิกบุหรี่ได้, ลองทานไอศครีมใส่กล้วยหอมเย็นๆทานแล้วเข้ากันสุดๆ แต่ในกล้วยหอมที่เราทานเข้าไปยังมีประสิทธิภาพช่วยผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ เพราะวิตามินบี 6 บี 12 โพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่มีอยู่มาก ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วจากการขาดสารนิโคตินได้ดี เรียกง่ายๆว่าช่วยลดอาการเหวี่ยงจากการขาดบุหรี่ได้ดีนั่นเอง นอกจากนี้สำหรับสาวๆ ก่อนมีประจำเดือน ที่ทำให้หงุดหงิด ปวดท้อง ปวดหัว กล้วยหอมก็ช่วยลดอาการเหล่านี้ได้

ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า แก้โลหิตจาง ประโยชน์กล้วยน้ำว้านี่มีสารอาหารเพียบ โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าห่ามและสุกที่มีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง และยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซี แคโรทีน ไนอาซีน และใยอาหาร ที่ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย พบกว่าในกล้วยดิบนั้นมีสารแทนนินจำนวนมาก สามารถช่วยรักษาโรคท้องเสียและบิด ช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่จากผลการวิจัยจะไม่พบสารต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารในกล้วยสุก แต่กล้วยสุกจะมีสรรพคุณช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นริดสีดวงทวาร หรือผู้ที่ท้องผูก

กล้วยน้ำว้าสุก
ผลสุกมีสีเหลืองอ่อน เนื้ออ่อนนุ่ม ให้รสหวาน

ประโยชน์ของกล้วยไข่ ช่วยลดริ้วรอย, หลังจากอ่านประโยคนี้จบ สาวๆคงมานิยมทานกล้วยไข่แน่ๆ เพราะในกล้วยไข่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรารู้จักกันดี คือเบต้าแคโรทีน ช่วยชะลอความชราและริ้วรอยต่างๆ ร่วมไปถึงความเสื่อมของเซลล์ ที่สำคัญยังมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งและยับยั้งการเจริญเติบโตของ เซลล์เนื้อร้ายได้… ซึ่งไม่เฉพาะแต่ผลกล้วยเท่านั้น ในหัวปลียังมีแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกระดูกและเนื้อเยื่อ

ประโยชน์ของกล้วยหักมุก แก้โรคกระเพาะ, เด็ก ๆ รุ่นใหม่คงจะไม่ค่อยรู้จักกล้วยหักมุกสักเท่าไร เพราะกล้วยหักมุกเป็นกล้วยที่ส่วนใหญ่แล้วเขาจะเอาไปปิ้งก่อนแล้วค่อยทาน ใครที่ปัญหาเรื่องโรคกระเพาะอาหารบ่อยๆ ต้องรีบหามาทานกันด่วนๆ ด้วยคุณสมบัติโดดเด่นของสารที่เรียกว่า ไซโตอินโดไซด์ 1, 2, 3, 4, 5 ซึ่งช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากแผลในกระเพาะอาหารได้ดีมากๆ และยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุท้องเสีย จากเชื้อโรคเอสเคอริเคีย โคไล

กล้วยหอมสุก
ผลกล้วยหอมสุกเป็นสีเหลืองทอง

สรรพคุณทางยาของกล้วย

ลดระดับคอเลสเตอรอล การควบคุมระดับคอเลสเตอรอลไม่ให้สูงเกินไปเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจ เหตุที่เชื่อกันว่ากล้วยอาจมีคุณสมบัตินี้ เนื่องจากกล้วยเป็นแหล่งเส้นใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยกล้วยขนาดกลางนั้นให้เส้นใยอาหารประมาณ 3 กรัม ซึ่งเทียบเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์ของเส้นใยอาหารที่ร่างกายคนเราต้องการในแต่ละวัน เมื่อรับประทานจึงรู้สึกอิ่ม แต่กลับให้ปริมาณแคลอรีเพียงเล็กน้อย และช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลไม่ให้สูงเกินไปได้

ควบคุมระดับความดันโลหิต อาหารที่มีเส้นใยอาหารนั้นสามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือกล้วย นอกจากนี้ก็ยังเชื่อว่าสารโพแทสเซียมที่พบในกล้วยจะช่วยให้ร่างกายขับโซเดียมออกมาทางปัสสาวะได้มากขึ้น ส่งผลดีต่อระดับความดันโลหิตที่ลดลงตามไปด้วย

ท้องเสีย เชื่อกันว่ากล้วยเป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพท้อง เพราะคาร์โบไฮเดรตจากกล้วยที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้นั้นเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเหล่าจุลินทรีย์โปรไบโอติกซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีที่พบในลำไส้ ช่วยให้จุลินทรีย์ชนิดนี้เพิ่มจำนวนขึ้น นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่กล่าวว่าจุลินทรีย์โปรไบโอติกสามารถช่วยลดอาการท้องเสียอันเป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากการรับประทานยาปฏิชีวนะบางชนิดด้วย

ท้องอืด นอกจากอาการท้องเสีย สรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืดโดยใช้กล้วยก็มีให้ได้ยิน และด้วยเหตุผลเดียวกันกับการรักษาท้องเสีย คือในกล้วยมีคาร์โบไฮเดรตสำคัญที่เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะกลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์พรีไบโอติก งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชิ้นหนึ่งพิสูจน์ประโยชน์ของกล้วยในการแก้ท้องอืดโดยทดลองกับหญิงสุขภาพดี 34 คน ที่มีปัญหาน้ำหนักเกินแต่ไม่เคยมีประวัติป่วยเป็นโรคในระบบทางเดินอาหารและไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยารักษาโรคชนิดอื่น ๆ ในช่วง 2 เดือนก่อนหน้าจนถึงระหว่างที่ทำการทดลอง กลุ่มหนึ่งรับประทานกล้วยขนาดกลาง 1 ลูก อีกกลุ่มรับประทานเครื่องดื่มรสกล้วยเป็นของว่างก่อนมื้ออาหาร วันละ 2 มื้อ และกลุ่มควบคุมที่รับประทานแต่น้ำธรรมดา ผลปรากฏว่าการรับประทานกล้วยช่วยลดระดับอาการท้องอืดในหญิงที่ปัญหาน้ำหนักเกินได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งกล้วยจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการรับมือกับปัญหาท้องผูกหรือไม่ คงต้องรอให้ทางวิทยาศาสตร์มีข้อมูลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือได้มากกว่านี้

อาการท้องผูก การรับประทานกล้วยสุกช่วยบรรเทาอาการท้องผูกเป็นเคล็ดลับที่หลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้าง คาดว่าอาจเป็นเพราะจุลินทรีย์โปรไบโอติกที่เพิ่มจำนวนขึ้นเช่นเดียวกันกับอาการท้องเสียและท้องอืดข้างต้นที่ทำให้ร่างกายมีการขับถ่ายได้ดียิ่งขึ้น แต่ประโยชน์ของกล้วยในด้านนี้ก็ยังคงเป็นปริศนา และไม่ปรากฏการศึกษาทดลองที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติในด้านนี้ของกล้วยไม่เพียงพอให้เชื่อว่าจะช่วยรักษาได้จริง

ริดสีดวงทวาร บางคนเชื่อว่ากล้วยเป็นหนึ่งในวิธีทางธรรมชาติสำหรับป้องกันหรือรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก เช่น การรับประทานกล้วยหอมสุกหรือนำกล้วยหอมดิบไปต้มแล้วรับประทาน ทว่าประโยชน์ของกล้วยด้านนี้ก็ยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังมากพอ และไม่พบหลักฐานที่กล่าวว่ากล้วยจะช่วยป้องกันหรือรักษาริดสีดวงทวารหนักได้อย่างไร ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการลองรับประทานกล้วยโดยคาดหวังผลลัพธ์ที่ดีต่อโรคนี้ยังควรระมัดระวังและรับประทานแต่พอดี เพราะอาการท้องผูกที่อาจเกิดจากการรับประทานกล้วยนั้นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นริดสีดวงทวารได้

โลหิตจาง ภาวะขาดสารอาหารที่สำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงอย่างธาตุเหล็กเป็นปัจจัยที่มักนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง ด้วยเหตุนี้กล้วยซึ่งเป็นหนึ่งในผลไม้ที่ขึ้นชื่อว่าอุดมด้วยธาตุเหล็กจึงได้รับการกล่าวถึงในฐานะผลไม้ที่จะช่วยรับมือกับภาวะโลหิตจางไปด้วย

โรคกระเพาะอาหาร กล้วยน้ำว้าดิบสามารถช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร เพราะในกล้วยดิบมีสารที่ชื่อว่า แทนนิน มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และยังมีสารอีกตัวที่สำคัญคือ เซโรโทนิน ที่จะช่วยกระตุ้นให้กระเพาะอาหารผลิตเยื่อเมือกมากขึ้น จึงช่วยเคลือบแผลที่กระเพาะ ลดการระคายเคือง และลดความแสบร้อนลงได้

ดับกลิ่นปาก กล้วยสุกสามารถดับกลิ่นปากได้ดี เพียงรับประทานก่อนสุกในตอนเช้าแล้วจึงแปรงฟัน ทานติดต่อกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ รับรองว่าช่วยระงับกลิ่นปากให้หายไปได้

มีแคลเซียมสูง กล้วยน้ำว้าอุดมไปด้วยแคลเซียม เมื่อนำกล้วยไปผ่านความร้อน เช่น กล้วยต้ม กล้วยปิ้ง กล้วยบวชชี ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น 5-6 เท่า

ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กล้วยน้ำว้าสุกช่วยแก้อาการท้องผูกเพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น อุจจาระนิ่ม จึงช่วยป้องกันโรคริดสีดวงทวาร

รักษาโรคซึมเศร้า กล้วยสุกมีสารทริปโตเฟนที่จะช่วยคลายเครียด รู้สึกผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล อารมณ์ดีขึ้น จึงสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ดี

ช่วยให้นอนหลับสบาย หากใครที่นอนไม่หลับให้ลองรับประทานกล้วยน้ำว้าสุกก่อนนอนก็จะช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ทำให้นอนหลับสบายตลอดคืน

กระตุ้นระบบย่อยอาหาร กล้วยน้ำว้าสุกนั้นมีประโยชน์ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารทำให้ย่อยง่ายมากขึ้น เนื่องจากแป้งทนการย่อยจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเมื่อกล้วยสุก

บำรุงผิว กล้วยถูกนำมาใช้เพื่อสรรพคุณบำรุงผิวอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะนำมาบดหรือปั่นให้เป็นเนื้อครีมสำหรับพอกผิว มาร์กหน้า หรือใช้เปลือกด้านในถูใบหน้าให้ทั่ว และโฆษณาสรรพคุณนานาชนิด เช่น ช่วยให้ผิวนุ่ม ผิวเนียนใส ลดริ้วรอย ฟื้นฟูผิวจากแสงแดด เหล่านี้เป็นเคล็ดลับความงามที่ยังไม่ได้มีผลการศึกษาใด ๆ ค้นคว้าหรือรับรองได้อย่างน่าเชื่อถือ แต่ก็สามารถทดลองกับตนเองได้โดยไม่น่าจะเสียหายเป็นอันตรายแต่ประการใดหากทำอย่างเหมาะสม

กล้วยไข่สุก
ผลทรงรีเล็ก ผลสุกแก่เปลือกจะมีสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วย

คุณค่าอาหารให้พลังงานและสารอาหารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายหลายอย่าง ประกอบด้วย

  • คาร์โบไฮเดรต 18-31%
  • โปรตีน 1.0-1.8%
  • วิตามินเอ 116-375 หน่วยสากล
  • วิตามินซี 7-16 มิลลิกรัม
  • รวมทั้งยังเป็นแหล่งแมกนีเซียมและโปแตสเซียม

การแปรรูปของกล้วย

ประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกกล้วยและมีสายพันธุ์กล้วยมากมาย การส่งเสริมการบริโภคกล้วยเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการเพื่อให้ประชาชนหันมาบริโภคกล้วยให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกล้วยสุกที่รับประทานได้ทั้งผล หรือกล้วยดิบที่มีตำรับอาหารพื้นบ้านมากมายที่ใช้กล้วยประกอบอาหารคาว ได้แก่ แกงกล้วย ส้มตำกล้วย แหนมเนือง ยำต่างๆ และเครื่องเคียงน้ำพริก เป็นต้น

ส่วนอาหารหวานมีหลายอย่าง ได้แก่ กล้วยฉาบ กล้วยปิ้ง กล้วยเผา กล้วยต้ม กล้วยเชื่อม ขนมกล้วย และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังแปรรูปกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลายวิธีการ เช่น กล้วยดอง ขนมปังกล้วย ไอศกรีม และเครื่องดื่ม เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11907&SystemType=BEDO
www3.rdi.ku.ac.th
www.flickr.com

Add a Comment