กะพวมมะพร้าว ใบใช้เป็นชาชง มีฤทธิ์เป็นยาช่วยย่อยและเป็นยากระตุ้น

กะพวมมะพร้าว

ชื่ออื่นๆ : กะพวมมะพร้าว (สงขลา) กะพวม งวงช้าง (ภาคใต้) ขี้อ้น (ยะลา) จวง อ้ายเหนียวหมา (นครศรีธรรมราช) ตอนเลาะ (กระบี่) นวลแป้ง (สุราษฎร์ธานี) สมองกุ้ง (ตรัง) หนาดจืด (คนเมือง)

ต้นกำเนิด : อินเดีย เนปาล ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า เวียดนาม คาบสมุทรมลายู และภาคใต้ของไทย ขึ้นตามป่าดิบชื้นหรือริมลำธาร ความสูงถึงประมาณ 400 เมตร

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strobocalyx arborea (Buch.-Ham.) Sch.Bip.

ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE (COMPOSITAE)

ลักษณะของกะพวมมะพร้าว

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีลำต้นตั้งตรง สูง 10–15 ม. มีขนสีน้ำตาลแดงตามกิ่งอ่อน

ใบ แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ก้านช่อดอก และวงใบประดับ ใบเรียงเวียน รูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 10–25 ซม. ปลายแหลมยาว ก้านใบยาว 1–3.5 ซม.

ดอก  ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่นแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ก้านช่อกระจุกสั้น ติดบนวงใบประดับที่เรียงซ้อนเหลื่อมกันประมาณ 5 วง ยาว 2–3 มม. แต่ละช่อมี 3–5 ดอก ไม่มีใบประดับย่อย ดอกสีชมพูอมม่วง หลอดกลีบดอกยาว 5–7 มม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5 มม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดภายในหลอดกลีบดอก รังไข่ใต้วงกลีบ มีช่องเดียว ก้านเกสรเพศเมียแยก 2 แฉก เรียวยาวม้วนงอ

ผล  ผลแห้งเมล็ดล่อน รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 2 มม. มี 8–10 สัน มีขนยาว แพปพัสเป็นขนแข็ง ติดทน เรียง 2 วง วงในยาว 5–7 มม. วงนอกสั้น

กะพวมมะพร้าว
กะพวมมะพร้าว ใบรูปไข่ ปลายแหลม ดอกสีชมพูอมม่วง

การขยายพันธุ์ของกะพวมมะพร้าว

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่กะพวมมะพร้าวต้องการ

ประโยชน์ของกะพวมมะพร้าว

สรรพคุณทางยาของกะพวมมะพร้าว

  • ใบ ใช้เป็นชาชง มีฤทธิ์เป็นยาช่วยย่อย และเป็นยากระตุ้น
  • ลำต้น นำไปต้มรวมกับปูเลย เถารางจืด กิ่งเปล้าน้อย ใช้ เป็นยาห่มให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟ หรือนำมาฝนกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการผิดเดือน(คนเมือง)

คุณค่าทางโภชนาการของกะพวมมะพร้าว

การแปรรูปของกะพวมมะพร้าว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9799&SystemType=BEDO
https://commons.wikimedia.org

Add a Comment