กะพ้อ พืชพื้นเมืองทางภาคใต้ ใบนำมาทำเครื่องจักสาน หรือใช้ห่อขนมต้ม

กะพ้อ

ชื่ออื่นๆ : พ้อ (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด : พบได้ทั่วไปทางภาคใต้ชึ้นอยู่ในป่าพรุหรือตามหัวไร่ปลายนา

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Licuala spinosa Wurmb.

ชื่อวงศ์ : PALMAE

ลักษณะของกะพ้อ

ต้น เป็นพืชตระกูลปาล์ม เป็นไม้พุ่ม สูงถึง 5 เมตร มักแตกหน่อเป็นกอใหญ่ แต่ละต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 ซม. ยอดอ่อน ใบอ่อนและช่อดอก มีสะเก็ดรังแคสีน้ำตาลแต่หลุดร่วงง่าย

ใบ ใบประกอบรูปพัด ก้านใบยาว 1-2 เมตร ขอบก้านใบมีหนามสีเหลือง มีลักษณะไม่แน่นอน เรียงตัวกันอย่างไม่เป็นระเบียบตลอดทั้งก้าน ใบย่อยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 18-19 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีใบย่อย 3-4 ใบ ขอบใบเชื่อมติดกันเกือบตลอด แต่ละใบย่อยยาว 50-70 ซม. ปลายใบย่อยหยักเว้า

ดอก ดอกเป็นช่อเชิงซ้อน 2 ชั้น ช่อดอกยาว 1-2 ซม. ดอกหนึ่งๆ จะให้ผลเพียงผลเดียว

ผลผล ลักษณะค่อนข้างกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1 ซม.  เนื้อบาง เมล็ดกลม แก่จัดสีส้ม เมื่อสุกจะมีสีส้มถึงแดงคล้ำ

ต้นกะพ้อ
ต้นกะพ้อ ต้นแตกหน่อเป็นกอใหญ่
ใบกะพ้อ
ใบกะพ้อ ใบประกอบรูปพัด ขอบก้านใบมีหนามสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของกะพ้อ

การแยกหน่อ หรือปลูกจากเมล็ดที่สุก

ธาตุอาหารหลักที่กะพ้อต้องการ

ประโยชน์ของกะพ้อ

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ
  • ใบอ่อน ใช้ห่อขนมต้ม
  • ใบแก่ เอามาทำเครื่องจักสาน เสื่อ พัด
  • ลำต้น เอามาทำเสารั้วได้
  • ยอดอ่อน โดยตัดเอาส่วนปลายหรือส่วนยอดของลำต้น ซึ่งเมื่อลอกกาบนอกจะได้เนื้อในนุ่ม นำมาต้มเป็นผักจิ้ม นำมาสับหรือหั่นเป็นฝอยสำหรับแกงเลียง แกงกะทิ เป็นต้น ยอดอ่อนที่ดิบ มีรสฝาดอมหวานเล็กน้อย

ข้อควรระวัง  ยอดอ่อนที่ดิบชาวบ้านเชื่อว่าถ้ากินสดๆ จะ “เสาะท้อง” คือย่อยยากจึงนิยมนำมาต้มก่อน รับประทาน

ผลกะพ้อ
ผลกะพ้อ ผลกลม สีส้ม เมื่อสุกสีแดง
กะพ้อ
กะพ้อ พืชตระกูลปาล์ม ต้นเป็นพุ่ม

สรรพคุณทางยาของกะพ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของกะพ้อ

การแปรรูปของกะพ้อ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9933&SystemType=BEDO
http://area-based.lpru.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment