กะเจียวขาว ไม้ล้มลุก ใบประดับตอนโคนช่อสีเขียว มีดอกตามซอก ตอนปลายช่อสีขาว

กะเจียวขาว

ชื่ออื่นๆ : อาวขาว (เชียงใหม่) กระเจียวโคก, กระชายดง (เลย) กระเจียวขาว (นครราชสีมา) ว่านม้าน้อย (สุโขทัย) กระจ๊อด, กระเจียว, ดอกดิน, อาว

ต้นกำเนิด : พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง

ชื่อสามัญ : กระเจียวขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma parviflora Wall.

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะของกะเจียวขาว

ต้น ไม้ล้มลุก สูง 30-40 ซม. มีเหง้ากลม ขนาด 1.5-2 ซม

ใบ ใบเดี่ยว ต้นหนึ่งมี 4 ใบ ออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน 2 ใบพร้อมกันก่อน ใบที่ 3 และ 4 ออกพร้อมช่อดอก ใบรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 7 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. ปลายแหลม โคนมน ก้านใบยาวประมาณ 10 ซม. ช่อดอกกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 8-10 ซม. ใบประดับเรียงซ้อนกัน โคนติดกันเป็นกรวย ใบประดับตอนโคนช่อสีเขียว

กระเจียวขาว
กระเจียวขาว ใบรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม

ดอก มีดอกตามซอก ตอนปลายช่อสีขาว ยาวกว่าเล็กน้อย ไม่มีดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 15 ซม. ดอกเล็ก สีขาว เป็นหลอดยาวประมาณ 2 ซม. ปลายกลีบปากจัก สีม่วง และมีเส้นสีม่วงพาดตามยาวอยู่ด้านใน

ดอกกระเจียวขาว
ดอกกระเจียวขาว ดอกสีขาว ปลายดอกสีม่วง

การขยายพันธุ์ของกะเจียวขาว

การเพาะเมล็ด

การเพาะเมล็ด ควรเพาะในกระบะทรายผสมขี้เถ้าแกลบ (อัตราสวน 1:1) โดยให้เมล็ดจมอยู่ใต้ผิววัสดุ ปลูกราว 0.5 – 1 เซนติเมตร

การรดนํ้ต้องกระทําอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เมล็ดกระเด็น เมล็ดจะทยอยงอกตามระดับของการพักตัวที่เหลืออยู่ เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 3 – 4 ใบจึงค่อย แยกต้นกล้าไปปลูกในดินผสมด้วยระยะปลูก 10 x 10 เซนติเมตร จนออกดอกเพื่อคัดเลือกต่อไป

ประโยชน์ของกะเจียวขาว

  • ดอกอ่อน หน่ออ่อน สามารถนำมาต้มหรือลวกใช้รับประทานเป็นผักได้ โดยใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ลาบ ก้อย ส้มตำ หรืออาจนำมาใช้ปรุงอาหาร เช่น ทำแกง เป็นต้น
  • ต้นกระเจียวขาวมีช่อดอกที่ดูสวยงาม จึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่างแพร่หลาย

สรรพคุณทางยาของกะเจียวขาว

  • หน่ออ่อนและดอกอ่อนของกระเจียวมีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม เป็นยาช่วยขับลม
  • ใบนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำใช้เป็นยาทารักษาแผลสดและช่วยห้ามเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของกะเจียวขาว

คุณค่าทางอาหารต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย

  • โปรตีน 1.2 กรัม
  • แคลเซียม 31 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 1.9 มิลลิกรัม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11779&SystemType=BEDO
http://biodiversity.forest.go.th
www.flickr.com

Add a Comment