4 วิธี การขยายพันธุ์กล้วย พร้อมข้อดีข้อเสียแต่ละวิธี

การเพาะเมล็ด

การขยายพันธุ์โดยเมล็ด เป็นวิธีธรรมชาติดั้งเดิมของการขยายพันธุ์กล้วยที่มีเมล็ดมากอย่างกล้วยตานีและกล้วยน้ำว้าบางพันธุ์ การขยายพันธุ์โดยเมล็ดนี้ แต่เดิมชาวสวนจะนำเมล็ดแก่จากผลกล้วยที่แก่เต็มที่มาเพาะ แต่เนื่องจากเมล็ดกล้วยมีเปลือกที่หนามากทำให้การเพาะเมล็ดต้องใช้เวลานานตั้งแต่ 1-4 เดือน จึงจะงอกให้เห็นต้นอ่อน ทำให้การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงไปจนเกือบไม่มีชาวสวนคนใดใช้วิธีขยายพันธุ์กล้วยโดยวิธีการเพาะเมล็ดอีกแล้ว นอกจากนี้นักวิชาการที่เพาะเมล็ดเพื่อการศึกษา

เมล็ดกล้วย
เมล็ดกล้วย เมล็ดกลมเล็ก แข็ง มีสีดำ

การใช้หน่อ

การขยายพันธุ์ด้วยการใช้หน่อ ปกติกล้วยมีการแตกหน่อจากตาข้างของต้นแม่ หน่อกล้วยมี 3 แบบใหญ่ๆ คือ

  1. หน่ออ่อน (peeper) เป็นหน่ออ่อนมาก เกิดจากต้นแม่ที่ยังมีส่วนประกอบต่างๆ ไม่ครบ ส่วนของลำต้นเล็กมักจะอ่อนแอ ไม่เหมาะในการนำไปขยายพันธุ์
  2. หน่อใบแคบ หรือ ใบดาบ (sword sucker) เป็นหน่อที่มีใบเรียวเล็ก โคนหน่อใหญ่ หรือมีส่วนของลำต้นใหญ่ จึงมีอาหารสะสมมาก หน่อชนิดนี้นิยมนำไปปลูกเพราะจะได้ต้นที่แข็งแรง
  3. หน่อใบกว้าง หน่อชนิดนี้มีโคนหน่อหรือลำต้นเล็ก ใบคลี่โตกว้าง ไม่เหมาะที่จะนำไปปลูก เพราะมีอาหารสะสมในลำต้นน้อย ต้นที่ปลูกจากหน่อชนิดนี้จึงไม่แข็งแรงนอกจากหน่อทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวแล้ว อาจใช้ต้นแม่ซึ่งมีตาติดอยู่ มาผ่าเป็นชิ้นๆ และชำก็ได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก
หน่อกล้วย
หน่อกล้วย พร้อมแยกนำไปปลูก

ข้อดี

ประหยัดเรื่องต้นทุนในการหาต้นแม่ อีกทั้งยัง เป็นการตัดแต่งกอให้สวยงาม

ข้อเสีย

  1. หน่อ ยังมีการตาย ที่มากกว่า ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ หรือมีโอกาสรอดที่ 60 เปอร์เซ็นต์
  2. หน่อกล้วยจะรอดและเริ่มไม่ต้องดูแลที่เดือนที่ 4
  3. การแบกหน่อกล้วยเข้าไปในไร่นั้น 1 ต้นสามารถแบกได้ครั้งละ1 ถึง 2 หน่อ
  4. หน่อกล้วยหากปลูกลงดินนั้น ขุดดินในที่ไถอย่างน้อยต้องมากกว่า 40 เซนติเมตร
  5. หน่อกล้วยจะไม่มีราก และมีแผลทำให้มีโอกาสเป็นโรคได้ตลอด
  6. หน่อกล้วย เมื่อปลูกแล้ว ลูกจะออกในชุดแรกไม่พร้อมกัน
  7. กล้วยจากหน่อมักติดโรค
  8. กล้วยจากหน่อเป็นพันธุ์พื้นเมืองลูกเล็กไม่ทนแล้ง

การผ่าหน่อกล้วย

เป็นวิธีการขายพันธุ์ที่ทำให้ได้ต้นกล้วยมากกว่า 1 ต้น อีกทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่าย มีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก

ขั้นตอนการผ่าหน่อกล้วย

  1. นำหน่อกล้วยอายุ 3 เดือนที่ยังไม่มีเครือกล้วย มาตัดต้น ตัดราก ตกแต่งเหง้าให้สวย
  2. แบ่งหน่อหรือเหง้าเป็น 2 ส่วน นำแต่ล่ะส่วนแบ่งออกเป็น 3 -4 ชิ้น ชิ้นล่ะ 2 นิ้ว ตกแต่งให้สวยแล้วไปแช่น้ำยาฆ่าเชื้อราประมาณ 5 นาที
  3. นำถุงดำที่เตรียมไว้มาใส่ขี้เถ้าแกลบครึ่งหนึ่งจากนั้นนำชิ้นหน่อหรือเหง้าของกล้วยที่แช่ยาฆ่าเชื้อราใส่ลงในถุงดำโดยคว่ำส่วนเนื้อลง
  4. กลบขี้เถาแกลบไปบนชิ้นส่วนหน่อหรือเหง้า แล้วรดน้ำทุกเช้า ประมาณ 45 วัน เพียงเท่านี้ก็จะได้ต้นพันธุ์กล้วยที่แข็งแรงประมาณ 4 – 12 ต้น ให้ได้นำไปปลูกไว้รับประทาน
การผ่าหน่อกล้วย
การผ่าหน่อกล้วย ทำการแบ่งหน่อหรือเหง้าออกเป็น 3 -4 ชิ้น

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture)

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ วิธีนี้กำลังเป็นที่นิยม เพราะเป็นวิธีที่ขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมากในเวลาอันสั้น จากหน่อที่สมบูรณ์ 1 หน่อ อาจขยายได้ถึง 10,000 ต้น ในเวลา 1 ปี ถ้าหากมีการทำงานอย่างต่อเนื่องตลอด วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนี้เหมาะสำหรับการปลูกเพื่อการส่งออก เพราะว่าการส่งออกต้องการจำนวนต้นปลูกที่มีขนาดสม่ำเสมอ ปลูกพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก เพื่อให้มีการเก็บเกี่ยวผลได้พร้อมๆ กัน และมีน้ำหนักมากกว่า 1 ตันขึ้นไป สำหรับบรรจุ ใส่ตู้ขนส่งในการส่งออก เนื่องจากการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศนั้น ถ้ามีจำนวนน้อยจะไม่เพียงพอกับการส่งออก และไม่คุ้มกับการลงทุน

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของกล้วย

ข้อดี

  1. ช่วยทำให้ลดปัญหาการสูญเสียจากการเข้าทำลายของโรคแมลงศัตรูได้เป็นอย่างดี
  2. สามารถยกต้นกล้วยได้ครั้งละ 50 หน่อ
  3. การปลูกมีโอกาศรอดที่ 98 เปอร์เซ็นต์
  4. การปลูกจะขุดดินเพียง 10 เซนติเมตรก็สามารถปลูกได้แล้ว
  5. กล้วยที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มีรากที่สมบูรณ์แบบพร้อมปลูก
  6. กล้วยที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มีระยะห่างของการออกดอกผลในเวลาเดียวกัน

ข้อเสีย

กล้วยที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีราคาสูง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.saranukromthai.or.th
www.thaigoodprice.org
www.asl.kpru.ac.th
www.youtube.com

6 Comments

Add a Comment