การดูแลแตงโมหลังปลูกและแมลงศัตรูของแตงโม

การปลูกแตงโม

แตงโมเป็นผักตระกูลแตง ที่คนไทยเรารู้จักบริโภคกันมานานแล้ว นอกจากนิยมใช้ผลรับประทานแล้ว ส่วนของผลอ่อนยอดอ่อน ยังใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิด แตงโมเป็นพืชที่ปลูกง่ายสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยทุกฤดูกาลตลอดปีแตงโมปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดแต่ปลูกได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย ซึ่งมีสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 5.0–7.5 มีการระบายน้ำได้ดี

ฤดูปลูก

เนื่องจากแตงโมจะขาดตลาดและมีราคาสูงในตอนกลางและปลายฤดูฝนเพราะว่าในช่วงดังกล่าวจะปลูกแตงโมได้ยากลําบาก เนื่องจากต้นแตงโมไม่ชอบฝนชุกจะตายด้วยโรคเถาเหี่ยวเป็นส่วนใหญ่ และเกิดโรคทางใบมาก ผลแตงโมจะเน่าง่ายอีกทั้งรสชาติจะไม่หวานจัดเหมือนแตงโมที่ปลูกในฤดูแล้ง หรือในฤดูหนาว ฉะนั้นจึงควรเริ่มปลูกแตงโมตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม และเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน ซึ่งยังเป็นต้นฤดูฝนอยู่ และมีผู้ต้องการบริโภคแตงโมกันมาก

วิธีช่วยให้เมล็ดแตงโมงอกเร็ว

สําหรับผู้ที่หยอดเมล็ดแตงโมในฤดูหนาว มักจะพบว่าแตงโมงอกช้า หรือไม่งอกเลย ทั้งนี้เพราะว่า ถ้าอุณหภูมิในดินปลูกต่ำกว่า 5.5 องศาเซลเซียส เมล็ดแตงโมจะไม่งอกโดยธรรมชาติ ฉะนั้น เพื่อขจัดปัญหาเมล็ดไม่งอกในฤดูหนาว ควรทําการหุ้มเมล็ดโดยแช่เมล็ดแตงโมในน้ำอุ่นๆ ในบ้าน จะช่วยทําให้เมล็ดแตงโมงอกได้เร็วขึ้นและงอกได้อย่างสม่ำเสมอเมื่อรากเริ่มโผล่ออกมาจากเมล็ด ก็เอาไปเพาะในถุงหรือกระทงใบตองได้ รอจนกล้ามีใบจริงแล้ว 2-3 ใบ จึงนําลงปลูกในไร่ หรือหากไม่สะดวกเพราะต้องการประหยัดแรงงาน ก็อาจนําเมล็ดที่งอกนั้นไปปลูกในแปลงได้เลย โดยหยอดลงในหลุมแบบเดียวกับหยอดเมล็ดที่ยังไม่งอก แต่ต้องให้น้ำในหลุมที่จะหยอดล่วงหน้าไว่ 1 วัน เพื่อให้ดิน ในหลุมชื้นพอเหมาะ หยอดเมล็ดที่งอกแล้วกลบดินทับหน้าไม่เกิน 1 เซนติเมตร แล้วรดนํ้า ต้นแตงโมจะขึ้นมาสม่ำเสมอกันทั้งไร่

แตงโม
แตงโม เนื้อข้างในสีแดง

ปุ๋ยและการให้ปุ๋ยแตงโม

ปุ๋ยคอก การใส่ปุ๋ยคอกให้แก่แตงโมก็มีความสําคัญมาก เพราะปุ๋ยคอกช่วยทําให้ดินร่วนโปร่ง ช่วยทําให้ดิน มีธาตุอาหารมากขึ้น แล้วยังช่วยทําให้ปุ๋ย วิทยาศาสตร์อยู่ในสภาวะสมดุลเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้นด้วย ควรใส่ปุ๋ยคอกในพื้นที่ปลูกจริงอัตราไร่ละ 2-4 ต้น

ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ควรใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 1:1:2 ซึ่งได้แก่ปุ๋ยเคมี สูตร 10-10- 20 เป็นต้น หรือใช้ปุ๋ยสูตรใกล้เคียงได้ เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ใส่ในอัตราไร่ละ 100-150 กิโลกรัม จะตัดสินใจใส่ปุ๋ยมากหรือน้อยก็ต้องดูความอุดมสมบูรณ์ของดิน และราคาแตงโมประกอบด้วย ปกติแล้วจะใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ประมาณ 120-150 กก./ไร่ ต่อฤดูปลูก

วิธีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นแตงโม

ผู้ปลูกแตงโมส่วนใหญ่ยังนิยมใส่ปุ๋ยเคมี ลงบนผิวดินโดยหว่าน หรือวางเป็นกระจุกหน้าดิน แล้วรดนํ้าเพื่อให้ปุ๋ยละลายน้ำลงไปสู่รากแตงโม การใส่ปุ๋ยวิธีดังกล่าวนี้ เป็นวิธีที่จะทําให้เปลืองปุ๋ยมาก รากพืชจะได้รับธาตุไนโตรเจนกับโปแตสเซียมจากปุ๋ยเคมีเท่านั้น แต่จะไม่ได้รับธาตุฟอสฟอรัสจากปุ๋ยเคมีนั้นเลย หรือได้รับก็ได้รับเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพราะตามปกติธาตุฟอสฟอรัสจะไม่เคลื่อนย้ายจากผิวหน้าดินลงไปสู่รากแตงโมแต่อย่างใด ซึ่งธาตุฟอสฟอรัสนั้นก็เป็นธาตุที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของแตงโม มากพอสมควรที่เดียว

ฉะนั้น การใส่ปุ๋ยเคมี จึงควรใส่ไว้ใตดินเป็นกลุ่มๆ เช่นใส่รองก้นหลุมก้อนปลูก หรือใส่ไว้ใต้ผิว ดินห่างจากโคนต้นแตงโมสัก 1 ฟุต ใส่เป็นกลุ่ม แตงโมจะได้รับปุ๋ยอย่างเต็มที่

ตารางต่อไปนี้เป็นตารางการใส่ปุ๋ยให้กับต้นแตงโม โดยแยกแม่ปุ๋ยเดี่ยวๆ ใส่ตามความต้องการ ตามธรรมชาติของแตงโม

ตารางการใส่ปุ๋ย
ตารางการใส่ปุ๋ยตามความต้องการ

ปุ๋ยที่ใส่หลังปลูกแตงโม

ต้องคํานึงถึงอยู่เสมอว่า รากแตงโมส่วนใหญ่เดินตามแนวนอนขนาดกับผิวดิน และเถาของมันฉะนั้นการใส่ปุ๋ยหลังปลูกควรใส่ที่ปลายราก และต้องไม่ใส่มากจนปุ๋ย เข้มข้นเกินไป และต้องให้ปุ๋ย อยู่ในรูปที่ค่อยๆ ละลายน้ำเพื่อให้รากดูดซับเอาไปใช้ได้พอดี

เวลาของการใส่ปุ๋ยเพิ่มหลังปลูก

  • การใส่ปุ๋ย เสริมครั้ง ที่ 1 ใส่แบบโรยรอบต้นด้วยยูเรีย ใส่เมื่อต้นแตงโมมีใบจริงประมาณ 5 ใบ (ปุ๋ยยูเรียโรยที่ผิวดินได้)
  • การใส่ปุ๋ยเสริมครั้ง ที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรียด้านข้างแถวของต้นแตงโม ใส่เมื่อเถาแตงโมทอดยาวได้ประมาณ 1 ฟุต ควร พรวนดินก่อนแล้วจึงใส่ปุ๋ยแล้วปิดคลุมด้วยฟาง
  • การใส่ปุ๋ย เสริมครั้ง ที่ 3 ใส่ปุ๋ยยูเรียและโปแตสเซียมคลอไรด์ โดยใส่ด้านข้างแถวของต้นแตงโม ใส่เมื่อเถาแตงโมมีความยาวได้ประมาณ 7 ฟุต หรือประมาณ 90 เซนติเมตร (ปุ๋ยทั้งสองชนิดนี้โรยบนผิวดินได้)

การให้น้ำและดูแลรักษาแปลง

ตามธรรมชาติต้นแตงโมต้องการผิวดินชุ่มชื้นแต่ไม่ถึงกับแฉะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ผลแตงโมกําลังเจริญเติบโตเป็นตอนที่ต้นแตงโมต้องการน้ำมากการให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน ในแปลง ควรให้ทั้งแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินแห้งแข็งและจับปึกซึ่งจะทําให้ดิน ขาดอากาศอ๊อกซิเจน ถ้าดินขาดอากาศเมื่อใด รากแตงโมจะได้รับน้ำและธาตุอาหารอยู่ภายในขอบเขตที่จำกัดไปด้วยดินที่ขาดน้ำแล้วแห้งแข็งทําให้ขาดอากาศไปด้วยนั้น คือดินเหนียวและดินที่ค่อนข้างหนัก ส่วนดินทรายและดินร่วนทราย รากแตงโมจะไม่ขาดอากาศ แม้ว่าจะขาดน้ำก็ตาม ดินร่วนทรายและดินทรายสามารถไถพรวนให้หน้าดินลึกมากๆได้เพื่อให้สามารถยึดจับความชื้น ที่เราให้ไว้ได้มากขึ้น ส่วนดินเหนียวนั้น ไม่สามารถไถพรวนให้ลึก เท่าดินทราย หรือดินร่วนทรายได้ เพราะเนื้อดินทั้ง เหนียวและแน่นอุ้มน้ำน้ำไว้ในตัวได้มากกว่าดินทราย แต่ก็คายนํ้าออกจากผิวดินได้ไวมาก และดูดซับความชื้น ได้ตื้นกว่าดินทราย หรือดินร่วนทราย จึงทําให้ต้องให้นํ้ากับต้นแตงโมที่ปลูกในดินเหนียวมากกว่า คือต้องให้น้ำอย่างน้อย 5 วันครั้ง หรือรดน้ำทุกวันๆ ละครั้ง

ประโยชน์ของการคลุมฟาง

เมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตได้ระยะหนึ่ง เราควรจะปิดคลุมหน้าดินด้วยฟาง การคลุมดินด้วยฟางจะมีผล ดังนี้คือ 

  1. ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินให้คงอยู่ได้นาน ทําให้รากแตงโมดูดซับธาตุอาหารในดินได้ติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน
  2. ทําให้ต้นแตงโมเป็นโรคทางใบน้อยลง เพราะต้นและเถาเลื้อยอยู่บนฟางไม่ได้สัมผัสกับดิน
  3. ป้องกันไม่ให้ดินร่อนจัดเกินไป
  4. เป็นการรองผลทําให้สีของผลสม่ำเสมอ
  5. ควบคุมไม่ให้หญ้าขึ้นและเจริญเติบโตมาแข่งกับแตงโม เพราะแตงโมแพ้หญ้ามากเนื่องจาก หญ้าส่วนใหญ่มีใบปรกดิน เถาแตงโมนั้นทอดนอนไปกับผิวดิน หากหญ้าขึ้นคลุมแตงโมเมื่อใด หญ้าจะบังใบแตงโมไม่ให้ถูกแดดทำให้ใบแตงโมปรุงอาหารไม่ได้เต็มที่ และจะอ่อนแอลงทันทีในที่สุดจะตายหมด ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ เท่านั้น

การจัดเถาแตงโม

ถ้าปล่อยให้เถาแตงโมเลื้อยและแตกแขนงไปตามธรรมชาติ เถาแตงของแต่ละต้นก็จะเลื้อยทับกัน และซ้อนกันจนหนาแน่น ทําให้ผลผลิตลดน้อยลง สืบเนื่องมาจากแมลงช้วยผสมเกสรได้ไม่ทั่วถึงเพราะไม่อาจแทรกหาดอกได้ทั้งหมด ฉะนั้นเมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตไปจนมีความยาว 1-2 ฟุต ควรได้มีการจัดเถาให้เลื้อยไปในทางเดียวกันและตัดเถาให้เหลือไว้ต้นละ 4 เถา เถาที่เป็นเหล่านั้นออก ให้คงเหลือไว้ต้นละ 4 เถา ซึ่งเป็นเถาที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ตามเดิม

การช่วยผสมเกสรด้วยมือ (การต่อดอก)

ผู้ปลูกแตงโม มักประสบปัญหาแตงโมไม่ติดผลเนื่องจากไม่มีแมลงช่วยผสม เพราะใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นต้นแตงโมมากไปและไม่เลือกเวลาฉีด ทําให้แมลงที่ช่วยผสมเกสรเช่น ผึ้ง ถูกสารฆ่าแมลงตายหมด จึงเกิดปัญหาไม่มีผึ้งช่วยผสมเกสร จึงต้องใช้คนผสมแทน เราสามารถผสมพันธุ์แตงโมได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 10.00 น. หลังจากเวลา 10.00 น.ไปแล้วดอกตัวเมีย จะหุบและไม่ยอมรับการผสมเกสรอีกต่อไป การผสมด้วยมือทําได้โดยเด็ดดอกตัวผู้ที่บานมาปลิดกลีบดอกสีเหลืองของดอกตัวผู้ออกเสียก่อน จะเหลือแต่อับเรณู ซึ่ง มีละอองเกสรตัวผู้เกาะอยู่ทั่วไป จากนั้นจึงคว่ำดอกตัวผู้ลงบนดอกตัวเมียให้อับเรณูของดอกตัวผู้ แตะสัมผัสกับเกสรตัวเมียโดยรอบ ให้ละอองเกสรตัวผู้สีเหลืองจับอยู่บนเกสรตัวเมียทั่วกันทั้งดอก ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการผสมซึ่งวิธีนี้ชาวบ้านเรียกว่า “การต่อดอก”

การปลิดผลทิ้ง

แตงโมผลแรกที่เกิดจากเถาหลักส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและคุณภาพตํ่าเราควรปลิดทิ้งตั้งแต่ลูกยังเล็กๆและแตงที่มีลักษณะผลบิดเบี้ยวก็ควรปลิดทิ้งด้วย ขนาดที่ปลิดทิ้งไม่ควรปล่อยให้โตเกินลูกปิงปอง หรือผลฝรั่ง แตงที่ปลิดทิ้งนี้สามารถขายเป็นผลแตงอ่อนได้ และตลาดยังนิยมอีกด้วย ควรเลี้ยงต้นแตงโมไว้เถาละลูกจะดีที่สุด เถาแตงโมเถาหนึ่งๆ อาจติดเป็นผลได้หลายผล ให้เลือกผลที่มีด้านขั้วผลขนาดใหญ่และรูปทรงผลได้รูป สมํ่าเสมอทั้งผลไว้ ซึ่งจะทําให้ผลแตงโมมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูงเพราะ ขนาดก้านขั้วผลมีความสัมพันธ์กับขนาดของผล ถ้าก้านขั้วผลใหญ่ ผลก็จะใหญ่ ถ้าก้านขั้วผลเล็กก็จะเล็ก

การปลิดผลทิ้ง
การปลิดผลทิ้ง ควรปลิดทิ้งตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ
และผลบิดเบี้ยวก็ควรปลิดทิ้งด้วย

การปฏิบัติต่อผลแตงโมภายหลังผสมติดเป็นผลแล้ว

ดอกตัวเมียของแตงโม ที่ได้รับการผสมเกสรอย่างสมบูรณ์ก็จะเจริญเติบโตอย่างสมํ่ำเสมอติดต่อกันไปวันต่อวัน เมื่อผลแตงโมมีขนาดเท่ากับกะลามะพร้าวควรเอาฟางรองใต้ผล เพื่อไม่ให้ผิวผลสัมผัสฟางถูกแสงแดดก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน เพื่อ ให้ผลแตงมีสีสม่ำเสมอทั่วทั้งผล จะทําให้แตงโมมีรสหวานมากขึ้นอีก

การเก็บผลแตงโม

แตงโมเป็นพืชชนิดหนึ่ง ที่ผลแก่แล้วไม่แสดงอาการว่าสุกงอกให้เห็นเหมือนผลมะเขือเทศ หรือพริก ซึ่งจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดง หรือไม่เหมือนกับผลมะม่วง ซึ่งทั้งเปลี่ยนสีแล้วยังมีกลิ่น หอมด้วย ฉะนั้น การดูว่าแตงโมแก่เก็บได้หรือยัง จึงต้องพิถีพิถันมากกว่าปกติอีกเล็กน้อยคือ 

  1. คาดคะเนการแก่ของผลแตงโมด้วยการนับอายุ ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ของแตงโมและอุณหภูมิของอากาศ
    1.1 แตงโมพันธุ์เบา (ชูการ์เบบี้ ผลกลมสีเขียวคล้ำ)จะแก่ เก็บได้ภายหลังดอกบาน ประมาณ 35-42 วัน
    1.2 แตงโมพันธุ์หนัก (ชาร์ลสตันเกรย์ผลยาวสีเขียวอ่อนมีลาย) จะแก่เก็บได้ภายหลังดอก บานประมาณ 42-45 วัน
  2. คาดคะเนการแก่ของผล ด้วยการดูลักษณะที่พบได้ทั่วไปเมื่อแตงโมแก่
    2.1 มือเกาะที่อยู่ใกล้กับขั้วของผลมากที่สุดเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้งเป็นบางส่วนจากปลายมาหาโคน
    2.2 วัดความแก่อ่อนของผลแตงโมได้จากการดีดฟังเสียง หรือตบผลเบาๆ ฟังเสียงดูถ้ามีเสียงผสมกันระหว่างเสียกังวานและเสียงทึบ แตงจะแก่พอดี (แก่ 75%) มีเนื้อเป็นทรายถ้าดีดแล้วเป็นเสียงกังวานใส แสดงว่าแตงยังอ่อนอยู่ ถ้าดีดแล้วเสียงทึบเหมือนมีลมอยู่ข้างใจ แตงจะแก่จัดเกินไปที่ชาวบ้านเรียกว่า “ไส้ล้ม ” (แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับผลแตงที่เป็นโรคเถาตาย) ควรเก็บผลตอนบ่ายไม่ควรเก็บผลตอนเช้าเพราะจะทําให้ผลแตงแตกได้
  3. สังเกตนวลของผล ถ้าจางลงกว่าปกติแสดงว่าแตงเริ่มแก
การเก็บแตงโม
การเก็บแตงโม ทำการเก็บหลังดอกบาน

โรคที่สำคัญ

  1. โรคเถาเหี่ยว (ที่กิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม) แตงโมที่เป็นโรคนี้สีใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยวจริงบริเวณโคนเถาที่ใกล้กับดินจะแตกตามยาวและมีนาเมือกซึมออกมา เมื่อผ่าไส้กลางถาดูจะเห็นภายในเป็นสีน้ำตาล โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมออกดอก การปลูกซํ้าที่เดิม โรคนี้จะระบาดรุนแรงมาก
    สาเหตุ
    1. เชื้อรานี้เจริญและทําลายแตงโมได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 24-28 องศาเซลเซียส
    2. ขณะแตงกําลังเจริญเติบโตมีฝนตกติดต่อกันยาวนาน
    3. ดินมีธาตุไนโตรเจนอยู่สูง แต่มีธาตุฟอสฟอรัส (P2O5) และโปแตสเซี่ยม (K2O) อยู่ต่ำ
    4. ดินเป็นกรดจัด
    การป้องกัน
    1. อย่าปลูกแตงโมซ้ำที่เดิม
    2. เริ่มคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีไดเทนเอ็ม – 45 อัตรา 15 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ก่อนนําไปปลูก
    3. ใช้ปูนขาวใส่ดินเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน ในอัตราไร่ละ 500 กิโลกรัม
    4. ใช้สารเคมีไดเทน ที่มีความเข้มข้น 1 : 5 ฉีดที่ ต้นพืชจะช่วยทําให้เชื้อโรคชะงักลง
    5. สารเคมีกลุ่มพีซีเอ็นบี เช่น เทอราคลอร์ ในอัตรา 60 ซีซี. ผสมนํ้า 20 ลิตร ราดลงในหลุม แตงโมที่เกิดโรคและบริเวณข้างเคียงทุก 7 วัน
  2. โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย) ลักษณะที่มองเห็นในครั้ง แรก คือ ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ การเหี่ยวจะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น แต่ใบยังคงเขียวอยู่ และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งต้นสาเหตุของการเหี่ยวก็คือเชื้อแบคทีเรียไปอุดท่อส่งนํ้าเลี้ยงในต้นแตงโม ถ้าเอามีดเฉือนเถาตามยาวดูจะเห็นว่ากลางลําต้นในเถาฉ่ำนํ้ามากกว่าปกติเชื้อแบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ในตัวของแมลงเต่าแตงต้นแตงโมได้รับเชื้อโรคจากการกัดกินใบของแมลงเต่าแตงนี้เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ต้นแตงโมทางแผลที่แมลงเต่ากัดกิน ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วก็กระจายตัวเข้าสู่ท่อนําและอาหารของแตงโม เราอาจป้องกันกันและรักษาได้โดยฉีดสารเคมีเซวิน 85 ป้องกันแมลงเต่าแตงและใช้ยาปฏิชีวนะสเตรปโตมัยซิน เช่น อะกริมัยซิน ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ใช้อัตราส่วนผสมตามที่แจ้งไว้ในซองบรรจุสารเคมีที่จำหน่ายเมื่อพบว่าต้นแตงโมบางส่วนเริ่มเป็นโรคนี้ สารเคมีนี่ช่วยรักษาและป้องกันได้ แต่มีข้อ เสียคือ เสื่อมคุณภาพเร็วจึงต้องซื้อ แต่สารเคมีใหม่ใช้เท่านั้น ถ้าสารเคมีอะกริมัยซินเก่าเกิน 1 ปี ขึ้นไป จะฉีดไม่ได้ผล
  3. โรครานํ้าค้าง ลักษณะที่มองเห็นได้ คือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญ่ขึ้น จํานวนจุดสีเหลืองเพิ่ม ปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตําแหน่งเดียวกัน จะมีกลุ่ม ของเชื้อราสีม่วงอมเทาเกาะกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็วเมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทําลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแ้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยคุณภาพผลแก่ก็ตํ่าด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง สารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นได้ผลดี คือ แคปแทน ไซเน็บ มาเน็บ ชนิดใดชนิดหนึ่งอัตราผสมใช้ 1 กรัม ผสมนํ้า 500 ซีซี. (หรือครึ่งลิตร) หรือ 35-40 กรัมผสมนํ้า 20 ลิตร (1 ปี๊บ)
โรคเถาเหี่ยว
โรคเถาเหี่ยว ใบแลเถาจะเหี่ยว

แมลงศัตรูที่สำคัญ

  1. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีตัวขนาดเล็กมากตัวอ่อนจะมีสีแดงตัวแก่จะเป็นสีดำมีขนาดเท่าปลายเข็ม จะดูดน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อนของแตงโม และใต้ใบอ่อนของแตงโม มีผลทําให้ใบแตงโมไม่ขยายยอดหดสั้นลง ปล้องถี่ยอดชูตั้งขึ้นชาวบ้านเรียกโรคนี้ว่าโรคยอดตั้งบางแห่งก็เรียก โรคไอ้โต้งเพลี้ยไฟ จะบินไปเป็นฝูง มีลกั ษณะเล็กละเอียดคล้ายฝุ่น สภาพฤดูแล้งความชื้นในอากาศต่ำลมจะ ช่วยพัดพาเพลี้ยให้เคลื่อนที่เข้าทําลายพืชผลในไร่ได้รวดเร็วขึ้นในพืชผักที่ปลูกด้วยกันเช่น ฟักทอง แตงโม แฟง ฟัก ในไร่ของเกษตรกรถูกเพลี้ยไฟทำลายเสียหายหนัก มีมะระพืชเดียวที่สามารถ เพลี้ย ไฟทําให้แตงโมใบหงิกและยอดตั้ง (ไอ้โต้ง) ต้านทานเพลี้ยไฟได้ และเมื่อสวนใดสวนหนึ่งฉีดพ่นยา เพลี้ยไฟจะหนีเข้ามายังสวนข้างเคียงที่ไม่ได้ฉีดสารเคมี การป้องกันและกําจัดใช้สารเคมีหลายชนิด เช่น แลนเนท ไรเนต เมซูโรล หรือ อาจปลูกพืชเป็นกันชน เช่น ปลูกมะระจีนล้อมที่ไว้สัก 2 ชั้นแล้วภายในจึงปลูกแตงโม เพราะมะระขึ้นค้างจะช่วยปะทะการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟให้ลดลงได้ และมะระที่โดนเพลี้ยไฟเข้าทําลายจะต้านทานได้ และเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 
  2. เต่าแตง เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่งที่ชอบกัดกินใบแตงขณะยังอ่อนอยู่ ลักษณะตัวยาว ประมาณ 1 เซนติเมตร ปีกสีเหลืองปนส้ม จะกัดกินใบแตงขาดเป็นวงๆ ตามปกติเต่าแตงลงกินใบอ่อนต้นแตงโมหรือพืชพวกฟัก แฟง แตงกวาอื่นๆ มักจะไม่ทําความเสียหายให้กับพืชมากนัก แต่จะเป็นพาหะนําเชื้อโรคเถาเหี่ยวของแตงโมซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียมาสู่แตงโมของเราจึงต้องป้องกันกําจัดโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เซวิน 85 ในอัตรา 20-30 กรัม ผสมนํ้า 20 ลิตร ฉีดในระยะทอดยอด ฉีดคลุมไว้ก่อนสัปดาห์ละครั้งโดยไม่ต้องรอให้แมลงเต่าแตงลงมากินเสียก่อนแล้วค่อยฉีดในภายหลัง ซึ่งจะทําให้ป้องกันโรคเถาเหี่ยวของแตงโมไม่ทัน
  3. แมลงวันแตง เข้าทําลายตั้ง แต่ระยะติดดอกถึงเก็บเกี่ยวใช้พอสซ์ หรือ อโซดริน ฉีดพ่น

ราคาขายแตงโม

ราคา ณ วันที่ 7 เมษายน 2565

  • แตงโมตอปิโด ใหญ่สวย ราคากิโลกลัมละ 20 บาท / กลางสวย ราคากิโลกลัมละ 18 บาท/ เล็กสวย ราคากิโลกลัมละ 16 บาท  ราคา ณ วันที่ 6 เมษายน 2565
  • แตงโมน้ำผึ้ง ใหญ่สวย ราคากิโลกลัมละ 20 บาท / กลางสวย ราคากิโลกลัมละ 18 บาท/ เล็กสวย ราคากิโลกลัมละ 16 บาท
  • แตงโมซอนญ่า ใหญ่สวย ราคากิโลกลัมละ 18 บาท / กลางสวย ราคากิโลกลัมละ 16 บาท/ เล็กสวย ราคากิโลกลัมละ 14 บาท
  • แตงโมกินรี ใหญ่สวย ราคากิโลกลัมละ 18 บาท / กลางสวย ราคากิโลกลัมละ 16 บาท/ เล็กสวย ราคากิโลกลัมละ 14 บาท
  • แตงโมจินตรา ใหญ่สวย ราคากิโลกลัมละ 18 บาท / กลางสวย ราคากิโลกลัมละ 16 บาท/ เล็กสวย ราคากิโลกลัมละ 14 บาท
  • แตงโมอ่อน ใหญ่สวย ราคากิโลกลัมละ 18 บาท / เล็กสวย ราคากิโลกลัมละ 16 บาท

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.simummuangmarket.com
https://www.flickr.com

Add a Comment