การปลูกข้าวและวิธีการดูแลหลังปลูกข้าว

ข้าว

ชื่ออื่นๆ : ข้าว, ข้าวเจ้า, ข้าวเหนียว, ข้าวไร่, ลำซา(ลั้วะ), หย่อซิ(เมี่ยน) – ข้าวเจ้า (ทั่วไป) ข้าวไข่แมงดา, ข้าวคอแร้ง, ข้าวเหนียวปิ้ง (อ่างทอง) ข้างนึ่ง (เหนือ) ข้าวเหนียว (กลาง) มือตู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หรือข้าวกล้อง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Rice

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryza sativa L.

ชื่อวงศ์ : POACEAE

ลักษณะของต้นข้าว

ลักษณะข้าว เป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าที่สามารถกินเมล็ดได้ ถือเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นเดียวกับหญ้า ต้นข้าวมีลักษณะภายนอกบางอย่าง เช่น ใบ กาบใบ ลำต้น และรากคล้ายต้นหญ้า

ราก รากเป็นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ใช้ยึดลำต้นกับดินเพื่อไม่ให้ต้นล้ม แต่บางครั้งก็มีรากพิเศษเกิดขึ้นที่ข้อซึ่งอยู่เหนือพื้นดินด้วย ต้นข้าวไม่มีรากแก้ว แต่มีรากฝอยแตกแขนงกระจายแตกแขนงอยู่ใต้ผิวดิน

ลำต้น มีลักษณะเป็นโพรงตรงกลางและแบ่งออกเป็นปล้องๆ โดยมีข้อกั้นระหว่างปล้อง ความยาวของปล้องนั้นแตกต่างกัน จำนวนปล้องจะเท่ากับจำนวนใบของต้นข้าว ปกติมีประมาณ 20-25 ปล้อง

ใบ ต้นข้าวมีใบไว้สำหรับสังเคราะห์แสง เพื่อเปลี่ยนแร่ธาตุ อาหาร น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแป้ง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและ สร้างเมล็ดของต้นข้าว ใบประกอบด้วย กาบใบและแผ่นใบ ต้นข้าวขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ลักษณะที่สำคัญเกี่ยวกับการ

ดอกข้าว หมายถึง ส่วนที่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่นประสานกัน เพื่อห่อ หุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกใหญ่แผ่นนอก เรียกว่า เลมมา ส่วนเปลือกนอกใหญ่แผ่นใน เรียกว่า พาเลีย ทั้งสองเปลือกนี้ ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้

เมล็ดข้าว หมายถึง ส่วนที่เป็นแป้งที่เรียกว่า เอ็นโดสเปิร์ม และส่วนที่เป็นคัพภะ ซึ่งห่อหุ้มไว้โดยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่น เอ็นโดสเปิร์มเป็นแป้ง คัพภะเป็นส่วนที่มีชีวิต และงอกออกมาเป็นต้นข้าวเมื่อเอาไปเพาะ

ขยายพันธุ์ ได้แก่ รวง ดอกข้าวและเมล็ดข้าว รวง รวงข้าว หมายถึง ช่อดอกของข้าว ซึ่งเกิดขึ้นที่ข้อของปล้องอันสุดท้ายของต้นข้าว ระยะระหว่างข้ออันบนของปล้องอันสุดท้ายกับข้อต่อของใบธง เรียกว่า คอรวง

ข้าว
ข้าว พืชล้มลุกตระกูลหญ้าที่สามารถกินเมล็ดได้

การขยายพันธุ์ของต้นข้าว

ใช้เมล็ด/วิธีการปลูกข้าว การทำนาโดยทั่วไปมี 3 วิธี คือ นาหว่าน นาหยอด และ นาดำ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ เช่น ที่สูง ที่ลุ่ม ที่น้ำลึก สภาพน้ำ เช่น เขตน้ำฝน เขตชลประทาน สภาพสังคม เช่น มีแรงงานหรือไม่มีแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ เช่น มีเงินทุนมาก หรือ น้อย

มีรายละเอียด คือ
1. นาหว่าน ส่วนมากนิยม เนื่องจากขาดแคลนแรงงานสภาพน้ำจำกัด ยากแก่การปักดำข้าว หรือพื้นที่อยู่ในเขตน้ำฝนไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ เป็นการปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหว่านลงไปในนาที่เตรียมดินไว้แล้ว มี 2 วิธี คือ หว่านข้าวแห้งหรือหว่านสรวย และ หว่านข้าวตมหรือข้าวงอกหรือหว่านเพาะเลย

การหว่านข้าวแห้ง หรือ หว่านสรวย มักใช้วิธีนี้ในเขตนาน้ำฝนหรือในพื้นที่ที่ควบคุมน้ำไม่ได้ โดยเมล็ดพันธุ์ที่หว่านไม่ได้เพาะให้งอกเสียก่อน เรียกอีกอย่าง คือ หว่านสำรวย เป็นการหว่านคอยฝนในสภาพดินแห้ง โดยหว่านหลังจากไถแปร เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หว่านไว้จะได้งอก บางกรณีเพื่อป้องกันการทำลายของศัตรูข้าว จะมีการคราดกลบเมล็ดหลังการหว่าน ซึ่งอาจเรียกว่าหว่านคราดกลบอีกกรณีหนึ่งเป็นการหว่านในสภาพดินเปียก คือ มีฝนตกเมื่อไถแปรแล้ว ก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวตามทันทีแล้วคราดกลบ วิธีนี้เรียกว่า “หว่านหลังขี้ไถ” การหว่านข้าวแห้งจะใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณไร่ละ 10 – 15 กก.
การหว่านข้าวตม หรือ หว่านข้าวงอก หรือ หว่านเพาะเลย เป็นการหว่านโดยการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีการเพาะให้งอกกล่าว คือ แช่น้ำสะอาด 12 – 24 ชั่วโมง แล้วนำไปหุ้ม 30 – 48 ชม. จนมีรากงอกยาวประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตร ที่เรียกว่า ตุ่มตา แล้วหว่านลงในพื้นที่นาที่เตรียมไว้อย่างดี คือ ไถดะ ไถแปร และทำเทือกจนราบเรียบ วิธีนี้บางกรณีในเขตนาน้ำฝนควบคุมน้ำได้ยาก จำเป็นต้องหว่านในเทือกที่มีน้ำขัง แต่ในเขตชลประทาน ควรระบายน้ำให้เทือกนุ่มพอดี สังเกตจากเมล็ดข้าวที่หว่านจะจมในเทือกประมาณครึ่งหนึ่งของเมล็ดแนวนอนเมื่อข้าวงอกแล้วค่อยๆระบายน้ำเข้านา แต่ไม่ให้ท่วมยอดต้นข้าว การหว่านน้ำตม ถ้าเตรียมดินดีวัชพืชน้อยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ไร่ละ 10-15 กก. แต่ถ้าเตรียมดินไม่ดี มีวัชพืชมากในอัตราเมล็ดพันธุ์ไร่ละ 15 – 20 กก.

2. นาหยอด นิยมในสภาพพื้นที่สูง พื้นที่ไร่ หรือในสภาพนาที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ใช้เมล็ดข้าวแห้งที่ไม่ได้เพาะให้งอก หยอดลงไปในหลุมที่เตรียมไว้โดยใช้จอบเสียม หรือใช้ไม้กระทุ้ง ตลอดจนใช้เครื่องหยอด หรืออีกวิธี โดยการโรยเป็นแถว ในร่องที่ทำเตรียมไว้แล้วกลบดินฝังเมล็ดข้าว เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หยอดจะงอก ในสภาพไร่หรือที่สูง อาจทำเป็นหลุมลึก 4-5 เซนติเมตร หยอดเมล็ดข้าวหลุมละ 5-6 เมล็ด

3. นาดำ เป็นวิธีการปลูกข้าว โดยแบ่งการปลูกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการตกกล้า และ ขั้นตอนการปักดำ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปักดำน้อยลง เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ดี การปักดำ เป็นวิธีการปลูกข้าวที่สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีกว่านาหว่าน

หากแบ่งตามนิเวศน์การปลูก จะแบ่งได้ 7 ประเภท คือ
1.ข้าวนาสวน ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร ข้าวนาสวนมีปลูกทุกภาคของประเทศไทย แบ่งออกเป็น ข้าวนาสวนนาน้ำฝน และข้าวนาสวนนาชลประทาน

2.ข้าวนาสวนนาน้ำฝน ข้าวที่ปลูกในฤดูนาปี และอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การกระจายตัวของฝน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝนประมาณ 70% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด

3.ข้าวนาสวนนาชลประทาน ข้าวที่ปลูกได้ตลอดทั้งปีในนาที่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ โดยอาศัยน้ำจากการชลประทาน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทาน 24% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด และพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลาง

4.ข้าวขึ้นน้ำ ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขังในระหว่างการเจริญเติบโตของข้าว มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ลักษณะพิเศษของข้าวขึ้นน้ำคือ มีความสามารถในการยืดปล้อง

5.ข้าวน้ำลึก ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร

6.ข้าวไร่ ข้าวที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ

7.ข้าวนาที่สูง ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังบนที่สูงตั้งแต่ 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป พันธุ์ข้าวนาที่สูงต้องมีความสามารถทนทานอากาศหนาวเย็นได้ดี

ต้นข้าว
ต้นข้าว มีลักษณะเป็นโพรงตรงกลางและแบ่งออกเป็นปล้องๆ

การดูแลหลังการปลูกต้นข้าว

  1. การใส่ปุ๋ยเคมี
    การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านหลังข้าวงอก 30 วัน หากไม่มีปุ๋ย 16-16-8 ให้ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตสูตรต่างๆ เช่น 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 และ 18-46-0 แทนได้โดยใส่อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่

    การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) หรือแอมโมเนียมคลอไรด์ (28-0-0) อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยยูเรีย อัตราประมาณ 7 กิโลกรัมต่อไร่ที่ระยะกำเนิดช่อดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกดอก

  2. การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
    ควรไถกลบตอซังข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว

    ก่อนการไถดะควรใส่วัสดุอินทรีย์เพื่อบำรุงดิน เช่นมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น อัตราที่แนะนำคือ 600 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่ หรือใช้เศษใบไม้ในอัตราประมาณ 250 กิโลกรัม น้ำหนักแห้งต่อไร่ โดยใส่ในแปลงนา เมื่อไถดะก็จะเป็นการไถกลบวัสดุอินทรีย์ไปด้วย

  3. ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว
    ข้าวไร่ส่วนใหญ่ไม่ปลูกในดินเหนียว จึงไม่มีคำแนะนำการจัดการปุ๋ย
ต้นกล้า ใบข้าว
ต้นกล้า ใบข้าว ใบสีเขียว เรียวยาว

ประโยชน์ของข้าว

อาหารครบถ้วนบริบูรณ์ ทั้งคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีแป้งในปริมาณที่สูงมาก จึงเป็นแหล่งให้พลังงานที่ดีที่สุด นอกจากนั้น ข้าวยังมีสารอาหารอื่นๆ เช่น โปรตีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนหลายชนิด มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัว มีวิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินบีรวมจะมีมากเป็นพิเศษ มีแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เช่น แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ไนอาซีน ซีลีเนี่ยม แม็กนีเซี่ยม โครเมี่ยม เป็นต้น

  • ข้าวเจ้าลอยหรือข้าวหนีน้ำ  มีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำทาก เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไต ซึ่งเป็นที่ต้องการของกลุ่มแพทย์
  • ข้าวเหลือง  มีปริมาณโฟเลตสูง เหมาะสำหรับส่งเสริมให้คนท้องทาน ช่วยป้องกันโรคปากแหว่งเพดานโหว่ และป้องกันภาวะสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
  • ข้าวแดง  เป็นข้าวสีแดงที่นุ่มหอมและมีดัชนีน้ำตาลปานกลาง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคความจำเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ แก่เร็ว
  • Rice Husk (แกลบ) ชั้นนอกสุดเป็นแกลบมีหน้าที่ป้องกันเมล็ดข้าวซึ่งประกอบด้วย เซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส มีปริมาณซิลิกา (SiO2) สูงถึงประมาณ 90%
  • Rice Germ (จมูกข้าว) เป็นส่วนที่จะเจริญเติบโตไปเป็นต้นข้าว มีโปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ อีกมากมาย
  • Rice bran (รำข้าว) คือส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว มีหลายชั้นโดยเฉพาะเยื่ออลูโรน (Aleurone layer) หรือชั้นรำละเอียดซึ่งเป็นชั้นในสุดที่ติดกับเอนโดสเปริร์ม มีโปรตีน และไขมันสูง มีสารอาหารมากถึง 65% รำข้าวจึงเป็นแหล่งของสารอาหารที่อุดมสมบูรณ์
  • Endosperm (เอนโดสเปิร์ม) เป็นส่วนของเมล็ดข้าวที่นำมารับประทาน มีสารอาหารหลักคือ คาร์โบไฮเดรต และสารอาหารอื่นๆ มากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดของข้าว
เมล็ดข้าว
เมล็ดข้าว เมล็ดดิบสีเขียว เมล็ดแก่สีเหลือง

สรรพคุณทางของข้าว

  1. ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ฟื้นฟูกำลัง ป้องกันอาการอ่อนเพลีย (วิตามินบี 2)
  2. ช่วยเสริมสร้างการเจริญโตของร่างกาย
  3. ข้าวกล้องมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ชรา (ข้าวกล้องงอก)
  4. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส (วิตามินอี)
  5. ข้าวกล้องมีวิตามินบี 3 ซึ่งบำรุงสุขภาพผิวหนังและลิ้นได้
  6. ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท (โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวกล้อง)
  7. ข้าวกล้องงอกช่วยป้องกันและลดโอกาสการเกิดโรคความจำเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์
  8. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหารได้ (วิตามินบี 2)
  9. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ฟอสฟอรัส)
  10. ช่วยป้องกันและเสริมสร้างการสึกหรอของร่างกาย (โปรตีน)
  11. ลูทีนในข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคต้อกระจก จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ทำงานในออฟฟิศหรือต้องใช้สายตาอย่างหนักในการนั่งหน้าคอมพ์นาน ๆ (ลูทีน, เบตาแคโรทีน)
  12. ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง (ธาตุเหล็ก, ธาตุทองแดง)
  13. ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (เบตาแคโรทีน, วิตามินอี)
  14. ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง ส่งออกซิเจนในเลือดไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย (ธาตุเหล็ก)
  15. ประโยชน์ของข้าวหอมมะลิ ใยอาหารของข้าวหอมมะลิกล้องจะช่วยดูดซับของเสียและสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกายได้ (ข้าวหอมมะลิกล้อง)
  16. เส้นใยอาหารของข้าวหอมนิลมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (ข้าวหอมนิล)
  17. ช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำ (น้ำข้าว)
  18. ชช่วยรักษาอหิวาตกโรค (น้ำข้าว)
  19. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด (น้ำข้าว)
  20. ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน (ข้าวหอมมะลิกล้อง)
  21. ข้าวหอมมะลิแดงช่วยป้องกันโรคคอหอยพอก (ไอโอดีน)
  22. ช่วยแก้ตาแดง (น้ำข้าว)
  23. ช่วยแก้เลือดกำเดา (น้ำข้าว)
  24. ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก (แผลที่มุมปาก) และริมฝีปากบวม (วิตามินบี 2)
  25. ช่วยเสริมการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ (โดยเฉพาะข้าวกล้อง)
  26. ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (น้ำข้าว)
  27. การรับประทานข้าวกล้องจะได้กากอาหารมากเป็นพิเศษ ซึ่งจะช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูกและมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี
  28. ช่วยรักษาโรคท้องร่วง (ข้าวผัวไม่ลืม)
  29. ข้าวประโยชน์ช่วยแก้พิษต่าง ๆ (น้ำข้าว)
  30. ช่วยลดการเกิดหรือลดอาการของการเป็นตะคริวได้ (แคลเซียม)
  31. ช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี เพราะจะมีวิตามินบี 1 สูง
  32. ประโยชน์ข้าวกล้องงอกช่วยให้ผ่อนคลายและหลับสบายมากยิ่งขึ้น (ข้าวกล้องงอก)
  33. ข้าวกล้องช่วยลดอาการผิดปกติต่าง ๆ ของหญิงวัยทอง (ข้าวกล้องงอก)
  34. ช่วยรักษาอาการตกเลือดหลังคลอดได้ (ข้าวผัวไม่ลืม)
เมล็ดข้าว
เมล็ดข้าว เมล็ดสีม่วง แดง

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดข้าว

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวขาวดิบต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 365 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 80 กรัม
  • น้ำตาล 0.12 กรัม
  • เส้นใย 1.3 กรัม
  • ไขมัน 0.66 กรัม
  • โปรตีน 7.13 กรัม
  • น้ำ 11.61 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.0701 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี 2 0.0149 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 3 1.62 มิลลิกรัม 11%
  • วิตามินบี 5 1.014 มิลลิกรัม 20%
  • วิตามินบี 6 0.164 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุแคลเซียม 28 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุเหล็ก 0.80 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุแมงกานีส 1.088 มิลลิกรัม 52%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 115 มิลลิกรัม 16%
  • ธาตุโพแทสเซียม 115 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุสังกะสี 1.09 มิลลิกรัม 11%
เมล็ดข้าวกล้อง
เมล็ดข้าวกล้อง เม็ดสีน้ำตาลอ่อน

การแปรรูปของต้นข้าว

  • เมล็ดข้าว สามารถนำมาทำเป็นเครื่องประดับได้
  • รำข้าวสามารถนำมาใช้ทำเป็น น้ำมันรำข้าว ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ ทำลิปสติก ทำยาหม่อง ทำแวกซ์ หรือทำเป็นโลชันบำรุงผิว ฯลฯ
  • ฟางข้าวสามารถใช้ทำเป็นปุ๋ย ปลูกเห็ด ทำเป็นของเล่น กระดาษ ทำเป็นแกลบหรือขี้เถ้า ผสมทำเครื่องปั้นดินเผา ถ่านกัมมันต์หรือถ่านดูดกลิ่น ใช้เป็นส่วนผสมของยาขัดรถ ฯลฯ
  • ประโยชน์ข้าวนอกจากจะใช้บริโภคเป็นอาหารหลักแล้วยังใช้ทำเป็นของหวานชนิดต่าง ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ขนมไทย เช่น ลอดช่อง ขนมตาล ขนมกล้วย ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ขนมหม้อแกง ปลากริมไข่เต่า ทำเป็นแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ฯลฯ
เมล็ดข้าวสีม่วง
เมล็ดข้าวสีม่วงดำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11300&SystemType=BEDO
http:// www.ricethailand.go.th
http:// www.rspg.rmutt.ac.th
https:// www.opsmoac.go.th
https://www.flickr.com

Add a Comment