การปลูกนุ่น นิยมปลูกไว้ใช้สอยในครัวเรือน

แหล่งปลูก

นุ่น เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่ให้ผลผลิตเส้นใยจากผล หรือฝักสำหรับประเทศไทยผลผลิตส่วนใหญ่ใช้สนองความต้องการภายใน ประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนิยมปลูกไว้ใช้สอยในครัวเรือนตามหัวไร่ปลายนา ส่วนในภาคกลางและภาคใต้บางจังหวัด เช่น ประจวบคีรีขันธุ์ กาญจนบุรี และนครศรีธรรมราช จะปลูกกันเป็นแบบการค้า ในแต่ละปีไทยจะผลิตนุ่นได้ประมาณ 35,000-40,000 ต้น ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น ปัจจุบันการผลิตนุ่นของไทยมี แนวโน้มลดลงเพราะเกษตรกรให้ความสําคัญน้อยลง หากไม่ส่งเสริมอย่างจริงจัง ในอนาคตคาดว่าไทยอาจต้องนําเข้านุ่นจากต่างประเทศ

ผลนุ่นแห้ง
ผลนุ่นแห้งจะแตกออกมีเส้นใยสีขาวคล้ายเส้นไหม

การใช้ประโยชน์

  • ปุยนุ่น ทําไส้เบาะ ที่นอน หมอน ฯลฯ
  • เมล็ด สกัดเป็นนํ้ามันพืช กากที่เหลือใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
  • ไส้นุ่น ใช้เพาะเห็ดฟาง
  • เนื้อไม้นุ่น ทํากระสวนทอผ้า เยื่อกระดาษ ส้นรองเท้า
  • ราก ใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์

การจำแนกนุ่น

  1. แยกตามลักษณะการแตกกิ่ง
    1.1 นุ่น ทรงฉัตร แตกกิ่ง และเจริญเติบโตในแนวระดับขนานกับพื้นดิน เติบโตเร็ว ลําต้นสูง มี การแตกกิ่งเป็นระยะ แต่ละระยะมี 2-3 กิ่ง
    1.2 นุ่น ทรงพุ่ม แตกกิ่ง และกิ่ง จะเจริญเป็นมุมแคบกับลําต้นหรือเกือบขนานกับลําต้น แตกกิ่ง มาก และติดฝักตามกิ่งย่อยทําให้ติดฝักมากและกิ่ง หักง่าย
  2. แยกตามขนาดและความยาวของฝัก
    2.1 นุ่นขนาดเล็ก ความยาวฝักต่ำกว่า 15 ซม. ฝักอ้วนป้อมแกนไส้ใหญ่ มีเปอร์เซ็นต์ปุ๋ยน้อย จัดเป็นนุ่น พื้นเมือง พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น นุ่นขี้นก นุ่นกระจิบ หรือนุ่นพวง
    2.2 นุ่นขนาดกลาง ความยาวฝัก 15-24 ซม. มีทั้งทรงฉัตรและทรงพุ่มเปลือกบาง เปอร์เซ็นต์ปุยสูงปลูกมากในภาคกลาง มีกลุ่มพันธุ์ต่างๆ มากที่สุด เช่น นุ่นสำลี นุ่นตองต้น นุ่นพวง เป็นต้น
    2.3 นุ่นขนาดใหญ่ความยาวฝักตั้งแต่ 25 ซม. ขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นนุ่น ทรงพุ่ม จึงมีความ ยาวฝักประมาณ 40-50 ซม. ถ้าเป็นทรงฉัตร จะมีความยาว 30-40 ซม. พบมากในจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากมีฝักขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก จึงทําให้กิ่งหักง่าย ฝักเสียหายมาก เช่น นุ่นเขมร นุ่นเกษตร นุ่นโตโก นุ่นญีปุ่น เป็นต้น

การปลูกสภาพแวดล้อม

นุ่นเจริญได้ดีในเขตร้อนทั่วไป ทนทานต่อสภาพดินเลวและแห้งแล้งได้ดี สภาพแวดล้อมโดย ทั่วๆ ไปทุกภาคในประเทศไทยสามารถปลูกนุ่นได้โดยไม่มีปัญหา

การเตรียมดิน

มีการไถพรวนและปรับพื้นที่เช่นเดียวกับการปลูกไม้ผลอื่นๆ โดยเตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ระยะปลูก 6×6 เมตร จนถึง 8×8 เมตร เมื่อนุ่นยังเล็กอาจปลูกพืชไร่อายุสั้นแซมระหว่างแถวนุ่น

การเตรียมวัสดุปลูก

  • ปลูกด้วยกล้าจากเมล็ดเพาะกล้าในกระบะเพาะ หรือในถุงพลาสติก จนกล้ามีความสูง 80-150 ซม. (หรือ 6-12 เดือน) จึงย้ายลงปลูกในไร่
  • ปลูกด้วยกิ่งปักชํา เลือกตัดกิ่งแขนงของกิ่งใหญ่ไปปักชําในแปลงปักชําที่เตรียมดินอย่างดี ห่างกันประมาณ 10-15 ซม. หมั่นรดนํ้าดูแลให้ดี ประมาณ 2-4 เดือนก็นําไปปลูกในแปลงได้
ต้นกล้านุ่น
ต้นกล้านุ่น เป็นต้นกล้าจากเมล็ด

การเก็บเกี่ยว

นุ่นที่ปลูกจากเมล็ด จะเริ่มให้ผลผลิตเส้นใยเมื่อมีอายุ 3 ปีขึ้นไปถ้าดูแลรักษาดีอาจให้ผลเร็วขึ้นนุ่นที่ปลูกจากกิ่งปักชําจะให้ผลเร็วกว่า 1-2 ปี ควรทยอยเก็บเฉพาะฝักที่แก่เต็มที่ อย่าเก็บพร้อมกันทั้งหมดเพราะนุ่น จะออกดอกและแก่ไม่พร้อมกัน นุ่นอายุ 3 ปี จะให้ผลผลิต 200-350 ฝักต่อต้น ถ้าอายุ 4-5 ปี จะให้ผลผลิต 400-500 ฝักต่อต้น และจะเก็บได้อย่างน้อย 600 ฝักต่อต้น เมื่อนุ่นมีอายุปีที่ 10 ซึ่งเป็นระยะที่ให้ผลผลิตสูงสุด ต่อจากนั้น ผลผลิตจะลดลง จึงควรโค่นทําลายต้นนุ่น และปลูกทดแทนใหม่เมื่อ มีอายุ 13-15 ปี

การดูแลและกำจัดศัตรูนุ่น

กําจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยควรหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงเสมอ มีการดายหญ้าพรวนดินรอบหลุมปลูก จะช่วยให้ต้นนุ่นเติบโตเร็ว ควรมีการใส่ปุ๋ยนุ่นทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยวิทยาศาสตร์ อย่างน้อยปีละครั้ง โดยโรยปุ๋ยคลุกดินรอบๆ ต้น อย่าให้ปุ๋ยที่โคนโดยตรง ควรใส่ปุ๋ยหลังเก็บเกี่ยว หรือก่อนเข้าฤดูฝนนับว่าเหมาะที่สุดควรหมั่นกําจัดวัชพืชในแปลงเสมอ มีการดายหญ้า พรวนดินรอบหลุมปลูก จะช่วยให้ต้นนุ่นเติบโตเร็ว ควรมีการใส่ปุ๋ยนุ่นทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยวิทยาศาสตร์ อย่างน้อยปีละครั้งโดยโรยปุ๋ย คลุกดินรอบๆ ต้น อย่าให้ปุ๋ยที่โคนโดยตรง ควรใส่ปุ๋ยหลังเก็บเกี่ยว หรือก่อนเข้าฤดูฝนนับว่าเหมาะที่สุดศัตรูนุ่น

ศัตรูนุ่น

โรคไม่ค่อยร้ายแรง ส่วนใหญ่ที่พบเกิดจากเชื้อราที่ใบ เช่น โรคใบเหลือง ส่วนโรคใบจุดและโรครากเน่าเกิดจากสภาพดินที่มีการระบายนํ้าไม่ดี แมลงศัตรู ที่สําคัญคือ หนอนของด้วงหนวดยาวเจาะลําต้น พบมากกับต้นนุ่นที่มีอายุมาก นุ่นทรงพุ่ม จะพบมากกว่าทรงฉัตร เพราะมีกิ่งหนาทึบกว่า และยังมีหนอนของด้วงหนวดยาวอีก 2-3 ชนิด เข้าทําลายกิ่ง ทําให้กิ่งหักแต่ไม่ร้ายแรงมากนัก แก้ไขโดยการอัดหรือกรอรสารฆ่าแมลงชนิดผงหรือนํ้าเข้าไปในรู เมื่อถูกตัวหนอนจะตายได้ หนอนผีเสื้อเจาะฝักนุ่นทําลายฝักนุ่นทําให้ปุยนุ่นสกปรก พบระบาดทั่วไปในจังหวัดกาญจนบุรี และระบาดรุนแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แก้ไขโดยพ่นเซพวินในระยะที่นุ่นติดฝักแล้ว 7-15 วัน และหลังจากเก็บฝักแล้วควรขุดดินรอบโคนต้นลึก 3-4 นิ้ว เพื่อ เก็บดักแด้ของหนอนทําลายทิ้งเสีย

ผลนุ่นดิบ
ผลนุ่นดิบ ผลเป็นสีเขียวรูปยาวรี เปลือกแข็ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment