การป้องกันกำจัดแมงวันผลไม้เพื่อไม่ให้ผลไม้เสียหายหนัก

แมลงวันผลไม้

ปัจจุบัน ผลไม้เป็นสินค้าส่งออกที่ทำเงินให้กับประเทศปีละนับพันล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปีแต่ปัญหาและอุปสรรคสําคัญในการเพิ่มผลผลิตผลไม้ และการขายตลาดต่างประเทศขณะนี้คือ “แมลงวันผลไม้” จนถึงกับบางประเทศไม่ยอมรับผลไม้ไทยเนื่องจากเป็นแหล่งที่มีแมลงวันผลไม้ระบาดมาก

แมลงวันผลไม้หรือแมลงวันทอง ทําลายผลไม้โดยการวางไข่ในผลไม้นั้นๆ เมื่อไข่ฟักเป็น ตัวหนอน จะชอนไชกัดกินเข้าไปในผลไม้ทําให้เน่าและร่วงหรือผิดรูปร่างไปจากเดิมเป็นที่รังเกียจของผู้บริโภค การระบาดของแมลงวัน ผลไม้หากไม่ป้องกันกําจัดจะทําให้ผลไม้เสียหายอย่างหนัก

แมลงวันผลไม้
แมลงวันผลไม้ มักมาวางไข่เพื่อทำลายผลไม้

การใช้สารล่อทำลายแมลงวันผลไม้เพศผู้

สารที่ใช้ล่อแมลงวันผลไม้เพศผู้มีหลายชนิดทัั้งที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ดอกว่านเดหลี ใบกะเพราและที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ คือ สารเมทธิลยูจินอล หยดสารเมทธิลยูจนิ อลลงบนด้ายดิบหรือสําลีในกับดัก 10 – 15 หยด แล้วหยดสารเคมีฆ่าแมลง เช่น มาลาไธออน หรือไดคลอวอร์ส ลงด้วย 5 – 8หยด เพื่อฆ่าแมลงวันผลไม้ที่เข้ามาในกับดัก

สําหรับกับดัก ชาวสวนอาจทําได้เอง โดยใช้ขวดน้ำมันพืชหรือขวดนํ้าพลาสติกใช้แล้วล้างให้สะอาด ตัดปลายด้านหนึ่งออกแล้วหุ้มด้วยพลาสติค เจาะรูขนาด 1 นิ้ว ด้านบนเจาะรูตรงกลางสําหรับผูกด้วยลวดหรือเชือกสําหรับแขวนภายในกับดักตรงกลาง เจาะรูแขวนแท้งด้วยด้ายดิบหรือสําลี เพื่อไว้หยดสารล่อ แขวนกับดักไว้บริเวณกึ่งกลางทรงพุ่มให้อยู่ในร่มเงา เนื่องจากสารนี้ถูกทําลายได้ง่ายถ้าโดนแสงแดดและความร้อนแขวนกับดักห่างกัน 20 เมตร ไร่ละ 5 จุด แล้วเติมสารทุกๆ 3 – 5 อาทิตย์ การใช้สารล่อและกับดักให้ได้ผลควรติดตั้งกับดักก่อนการระบาด คือในราวเดือนกุมภาพันธ์ เป็นต้นไปและควรใช้ เป็นบริเวณกว้างให้ทั่วถึงกันวิธีนี้จะช่วยลดจํานวนแมลงวันผลไม้ ในธรรมชาติลงได้มาก

การล่อแมลง
การทำกับดักล่อแมลงวันผลไม้

2. การใช้เหยื่อพิษ

ในช่วงที่แมลงวันผลไม้ระบาดเข้าทําลาย การใช้เหยื่อพิษจะต้องระมัดระวังถึงความปลอดภัย ต่อตัวชาวสวนเองและผู้บริโภคด้วย

วิธีใช้เหยื่อพิษที่ใช้คือสารโปรตีนไฮโดรไลเสท (Protein hydrolysate)
จํานวน 20 ช้อนแกงผสมกับสารฆ่าแมลง มาลาไธออน 83% 7 ช้อนแกง และน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นบนใบแก่ของพืชเป็นจุดๆ รัศมีการพ่น 50 เซนติเมตร พ่นทุกต้น ต้นละ 1 จุด แมลงวันผลไม้ ทั้งเพศผู้และเพศเมีย จะมากินเหยื่อพิษนี้แล้วตาย

ข้อควรระวังในการพ่นเหยื่อพิษ
อย่าพ่นให้เปียกโชกเกินไป จะสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นและ อย่าพ่นให้ถูกใบอ่อนจะทําให้ใบไหม้ นอกจากนี้ ควรใช้เหยื่อพิษร่วมกับการใช้สารล่อและกับดัก ก่อนที่แมลงวันผลไม้จะระบาด ขณะที่ผลไม้ยังเล็กอยู่ตรวจดูจํานวนแมลงในกับดัก ถ้าพบว่ามีแมลงวันผลไม้มากกว่า 10 ตัวต่อกับดักต่อสัปดาห์ ให้ใช้เหยื่อพิษได้เลย

3. การทำหมันแมลง

วิธีนี้ทำได้โดยนําดักแด้แมลงวันผลไม้ชนิดเดียวกับ ในพื้นที่จำนวนมากมาฉายรังสี ทําให้แมลงเหล่านี้เป็นหมัน แล้วปล่อยแมลงที่เป็นหมันนี้เข้าไปในสวนมีผลไม้ผสมพันธุ์กับ แมลงในธรรมชาติเพื่อลดการขยายพันธุ์ทําให้แมลงวัน ผลไม้ในธรรมชาติลดลงจนไม่ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอีกต่อไป

4. การเขตกรรม

การเขตกรรม โดยการเก็บผลที่ถูกทําลายเผาหรือ ขุดหลุมฝัง เพื่อเป็นการลดการ แพร่ขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไป และตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้โปร่ง กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดให้มีการรณรงค์เพื่อป้องกันและกําจัดแมลงวันผลไม้โดยให้มีการแข่งขัน ดักจับแมลงวันเพศผู้ให้ได้มากที่สุด ในช่วงเดือนที่มีการระบาดของแมลงวันผลไม้ เป็นประจําทุกปีและนอกจากนี้ยังจัดให้มีโครงการทําหมันแมลงวันผลไม้ซึ่งดําเนินการโดยเจ้าหน้าที่ ของกรมเพื่อร่วมกันกําจัดแมลงวันผลไม้ จึงขอให้เกษตรกรชาวสวนร่วมมือกําจัดโดยพร้อมเพรียงกันเพื่อรักษาผลผลิต และคุณภาพของผลไม้ไทย

การทำเขตกรรม
การทำเขตกรรม โดยนำผลที่ถูกทำลายไปเผาหรือฝัง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://secreta.doae.go.th
https://www.farmkaset.org
https://www.flickr.com

Add a Comment