การเลี้ยงปลาสลิด ปลาที่มีรสชาติดี เนื้ออร่อย

ปลาสลิด

ปลาสลิดหรือปลาใบไม้ เป็นปลานํ้าจืด ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านของประเทศไทย มีแหล่งกําเนิดอยู่ในที่ลุ่มภาคกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopodus pectoralis และนิยมเลี้ยงกันมาก บริเวณภาคกลางส่วนที่พบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ นั้นเป็นพันธุ์ปลาที่ส่งไปจากเมืองไทย เมื่อประมาณ 80-90 ปีที่ผ่านมา และเรียกว่า สยามหรือเซียมสำหรับแหล่งปลาสลิดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักว่ามีรสชาติดี เนื้ออร่อย คือ ปลาสลิดบางบ่อจังหวัดสมุทรปราการ แต่ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมได้ขยายตัวอย่างแพร่หลายทําให้น้ำธรรมชาติที่จะระบายลงสู่บ่อเลี้ยงปลาสลิดมี คุณสมบัติไม่เหมาะสม ส่วนพื้นที่ดินพรุทางภาคใต้ในเขตจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวก็สามารถใช้เป็นที่เลี้ยงปลาสลิดได้เพราะปลาสลิดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย อดทนต่อความเป็นกรด และนํ้าที่มีปริมาณออกซิเจนน้อยได้ดี มีห่วงโซ่อาหารสั้น คือ กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารต้นทุนการผลิตตํ่าโดยจะเลี้ยงอยู่ในนาคนเลี้ยงปลาสลิดเรียกว่า ชาวนาปลาสลิด และบ่อเลี้ยงปลาสลิดเรียก แปลงนาปลาสลิดหรือล้อมปลาสลิด กรมประมงจึงได้ส่งเสริมให้เลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่จังหวัดอื่น เช่น จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และส่งเป็นสินค้าออกในรูปผลิตภัณฑ์ปลาสลิดเค็มตากแห้ง

อุปนิสัย ปลาสลิดชอบอยู่ในบริเวณที่มีน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง ตามบริเวณที่มีพันธุ์ไม้น้ำ เช่น ผักและสาหร่าย เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยกําบังตัว และก่อหวอดวางไข่ เนื่องจากปลาชนิดนี้โตเร็วในแหล่งนํ้าธรรมชาติที่มีอาหารพวกพืช ได้แก่ สาหร่าย พืชและสัตว์เล็กๆ จึงสามารถนำปลาสลิดมาเลี้ยงในบ่อและนาข้าวได้เป็นอย่างดี

รูปร่างลักษณะ ปลาสลิดมีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ แต่ขนาดโตกว่า ลําตัวแบนข้างมีครีบ ท้องยาวครีบเดียวสีของลําตัวมีสีเขียวออกเทา หรือมีสีคล้ำเป็นพื้นและมีริ้วดําพาดขวางตามลําตัวจากหัวถึงโคนหาง เกล็ดบนเส้นข้างตัวประมาณ 42-47 เกล็ด ปากเล็กยืดหดได้ ปลาสลิดซึ่งมีขนาดใหญ่เต็มที่จะมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร

ปลาสลิดไม่ค่อยจะเป็นโรคร้ายแรง หากนํ้าในบ่อเสียจะสังเกตเห็นปลาขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเพราะออกซิเจนที่ละลายนํ้าไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขก็คือ ต้องถ่ายนํ้าเก่าออกและระบายนํ้าใหม่เข้าหรือย้ายปลาไปไว้ในบ่ออื่น โดยเฉพาะมักจะเกิดเห็บปลา ซึ่งมีลักษณะตัวแบน สีน้ำตาลใสเกาะติดตามตัวปลามาดูดเลือดของปลากินความเจริญเติบโตของปลาชะงักลง ทำให้ปลาผอมการกําจัดโดยระบายนํ้าสะอาดเข้าไปในบ่อให้มากๆ ตัวเห็บก็จะหายไปได้

การป้องกันโรคระบาดอีกประการหนึ่งก็คือปลาที่จะนํามาเป็นพ่อแม่พันธุ์ ถ้าปรากฏว่า มีบาด แผล ไม่ควรนําลงไปเลี้ยงรวมกันในบ่อ เพราะปลาที่เป็นแผลจะเป็นโรคราและติดต่อไปถึงปลาตัวอื่นได้

ปลาสลิด
ปลาสลิด ลำตัวแบนมีคลีบด้านข้าง ลำตัวสีเขียวออกเทา

การสืบพันธุ์

ลักษณะเพศ
ลักษณะเพศ ปลาสลิดตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถสังเกตความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ ปลาตัวผู้มีลำตัวยาวเรียว สันหลัง และสันท้องเกือบเป็นเส้นตรงขนานกัน มีครีบหลังยาวจรดหรือเลยโคนหางมีสีลําตัวเข้มและสวยกว่าตัวเมีย ส่วนตัวเมียมีสันท้องยาวมนไม่ขนานกับสันท้องและครีบหลังมนไม่ยาวจนถึงโคนหางสีตัวจางกว่าตัวผู้ ในฤดูวางไข่ท้องจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้างอัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด 1:1 เป็นปลาขนาดกลาง นํ้าหนัก 10-12 ตัวต่อกิโลกรัมดีที่สุด

การเพาะพันธุ์ปลา

ปลาสลิด สามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ยจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 6-7 นิ้ว หนัก 130-400 กรัม ปลาสลิดจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม หรือในฤดูฝน แม่ปลาตัวหนึ่งๆ จะสามารถวางไข่ได้หลายครั้ง แต่ละครั้งจะได้ปริมาณไข่ประมาณ 4,000-10,000 ฟอง ในฤดูวางไข่ ท้องแม่ปลาจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง ลักษณะของไข่ปลาสลิดมีสีเหลือง ทั้งนี้ควรจัดที่ให้ปลาสลิดวางไข่ภายในเดือนมีนาคม โดยหลังจากที่ได้กําจัดศัตรูระบายนํ้าเข้าและปล่อยพันธุ์ปลาลงบ่อแล้ว ควรปลูกผักบุ้ง รอบบริเวณชานบ่อ นํ้าลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ปลาสลิดจะเข้าไปก่อหวอดวางไข่ และลูกปลาวัยอ่อนจะสามารถเลี้ยงตัวหลบหลีกศัตรูตามบริเวณชานบ่อนี้ได้

การจัดการบ่อเพาะพันธุ์ปลาสลิดเพื่อให้ลูกปลามีอัตรารอดสูง

  1. ระบายนํ้าเข้าบ่อผ่านตะแกรงที่มีช่องตาขนาด 1 มิลลิกรัม จนท่วมชานบ่อโดยรอบให้มีระดับ สูง 20-30 เซนติเมตร ปลาจะเข้าก่อหวอดวางไข่มากขึ้นอาณาเขตบ่อก็จะกว้างขวางกว่าเดิมเป็นการเพิ่มที่วางไข่ และที่เลี้ยงตัวลูกปลามากขึ้น
  2. สาดปุ๋ยมูลโคและมูลกระบือแห้งบนบริเวณชานบ่อที่ไข่นํ้าท่วมขึ้นมาใหม่ ตามอัตราการใส่ปุ๋ย จะทําให้เกิดไรนํ้าและผักบนชานบ่อเจริญงอกงามขึ้นอีกด้วย
  3. ปล่อยให้ผักขึ้นรกในบริเวณชานบ่อ ผักเหล่านี้ปลาสลิดจะใช้ก่อหวอดวางไข่ และเป็นกําบังหลบหลีกศัตรูของลูกปลาในวัยอ่อนจนกว่าจะแข็งแรงเอาตัวรอดได้

การวางไข่
ก่อนปลาสลิดจะวางไข่ ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายเตรียมการเลือกสถานที่และก่อหวอดซึ่งเป็นฟองนํ้าละลายไว้ในระหว่างต้นผักบุ้งโปร่งไม่หนาทึบเกินไป เช่นเดียวกันปลากัดปลากริมและปลากระดี่ ปกติปลาสลิดตัวเมียจะชอบวางไข่ในที่ร่มมากกว่ากลางแจ้ง

เมื่อเตรียมหวอดเสร็จแล้ว ปลาก็จะเริ่ม ผสมพันธุ์กัน โดยตัวผู้จะเริ่มไล่ต้อนตัวเมียเข้าใต้บริเวณหวอด และรัดท้องตัวเมียให้ไข่ออกแล้วปล่อยนํ้าเชื้อเข้าผสมกับไข่ จากนั้น ปลาตัวผู้จะอมไข่เข้าใต้หวอดไข่จะลอยติดอยู่ที่หวอด

นอกจากการเพาะพันธุ์ปลาสลิดในบ่อแล้ว ยังเพาะในภาชนะได้อีกวิธีหนึ่ง คือ ใช้ถังทรงกลม ปากกว้าง 1.50 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร นํ้าลึกประมาณ 40 เซนติเมตร วางไว้กลางแจ้งโดยทําเป็นเพิงคลุมถังประมาณ 2 ใน 4 ของถัง เพื่อกําบังแดดใช้ผักบุ้งลอยไว้ 3 ใน 4 ของถัง แล้วปล่อยแม่ปลาที่กําลังมีไข่แก่ 10 ตัว ตัวผู้ 10 ตัว หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาเพียง 4-6 วัน ปลาสลิดจะเริ่มก่อหวอดวางไข่ ไข่ปลาจะฟักเป็นตัวและเติบโต เช่นเดียวกับการเพาะฟักในบ่อดิน จากนั้น ให้ช้อนพ่อแม่ปลาออกแล้วเลี้ยงลูกปลาไปแกนโดยให้ไข่ผงหรือไรนํ้าเป็นอาหาร 2 สัปดาห์ จึงให้รําผงละเอียดจนกว่าลูกปลาจะมีขนาดยาว 2 เซนติเมตร เพื่อปล่อยลงบ่อเลี้ยงต่อไป หรือจะนําหวอดไข่จากบ่อเพาะเลี้ยงมาฟักในถังทรงกลมก็จะช่วยให้ลูกปลาสลิดมีชีวิตรอดเป็นจํานวนมากกว่าที่จะปล่อยให้เจริญเติบโตในบ่อเพาะเลี้ยงเองเพราะในบ่อมักมีศัตรูปลาสลิดอยู่ เช่น แมลงในนํ้า กบ งู ปลากินเนื้อ ซึ่งจะคอยทําลายไข่และลูกปลา อัตราลูกปลาจะรอดน้อยกว่าการนําพ่อแม่พันธุ์มาเพาะในภาชนะ

การฟักไข่
ไข่ปลาสลิดจะเริ่มฟักเป็นตัวภายในเวลา 24 ชั่วโมง และทยอยฟักเป็นตัวภายในเวลา 48 ชั่วโมง ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะเป็นราสีขาว ไม่ออกเป็นตัว ลูกปลาที่ออกจากไข่ใหม่ๆ จะมีถุง อาหารติดอยู่ที่ท้องและยังไม่กินอาหารโดยจะไม่กินประมาณ 7 วัน เมื่อถุงอาหารยุบหมด ลูกปลาจึงเริ่มกินอาหาร ซึ่งจะสังเกตเห็นลูกปลาขึ้นเหนือนํ้าในตอนเช้าตรู่ ลักษณะคล้ายฝนตกลงนํ้าหยิมๆ

บ่อเลี้ยงปลาสลิด
บ่อเลี้ยงปลาสลิดเป็นบ่อดินธรรมชาติ

การจัดการบ่อเพาะเลี้ยงหรือแปลงนา

ขนาดแปลงนาหรือบ่อปลาสลิด
ถ้าเลี้ยงปลาเป็นอาชีพเสริมเนื้อที่ 1 ไร่ แต่ถ้าเป็นอาชีพหลัก ควรมีเนื้อที่ตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป ในกรณีแปลงนาขนาดเล็กก็สามารถใช้แรงคนได้ โดยปักหลักและขึงเชือกเป็นแนวเขตคันดินและแนวเขตของคู (แนวเขตคันดิน คือ ฐานของดิน ซึ่ง อย่างน้อยต้องกว้างเท่ากับคูและควรห่างแนวเขตคู 1 ศอกถากหน้าดิน หญ้า และกิ่ง ไม้ที่เป็นคันออกให้หมด)

ต่อจากนั้นใช้พลั้วขุดแทงลงดินแล้วดึงขึ้น แทงลงอีกข้างหนึ่งแล้วงัดขึ้นดินจะติดพลั่วขึ้นมา โยนดินไปไว้ในแนวเขตที่จะเป็นคันดิน ซึ่งจะพูนสูงขึ้นเรื่อยๆ และได้คูลึกตามที่ต้องการ ถ้าขุดล้อมนา 1 ไร่จะเป็นความยาวคู 284 เมตร (7 เส้น 2 วา) คูกว้าง 1 วา ลึกครึ่งขา (75 เซนติเมตร) จะเป็นดินที่ขุดขึ้นมา 336 นิ้ว(ลูกบาศก์เมตร) หากขุดคนเดียววันละคิว จะใช้เวลา 168 วัน หรือจ้างคนขุดต้องใช้เงิน 16,800 บาท (ถ้าค่าแรงวันละ 100 บาท) ทั้งนี้ต้องระมัดระวัง คือ อย่าพยายามขุดให้ลึกกว่าครึ่งขาและอย่าเปิดหน้าดินให้มากนัก เพราะถ้า (ดินเปรี้ยว)เปิดหน้าดินมากและลึก นํ้าจะเปรี้ยวมากและเปรี้ยวนานพร้อมกับทําทางนํ้าเข้าออกด้วย

การเตรียมบ่อเลี้ยงหรือแปลงนา
บ่อเลี้ยงปลาสลิดหรือแปลงนาปลาสลิด จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูล้อมทุกด้านหรืออย่างน้อย 2 ด้าน คูต้องกว้างอย้างน้อย 1 วา และลึกอย่างน้อยครึ่งขา (75 เซนติเมตร) ความสูงของคันต้องกันนํ้าท่วมได้ และฐานต้องกว้างกว่าหรือเท่ากับความกว้างของคู ควรมีชานบ่อกว้างอย่างน้อย 1 เมตร สําหรับให้ปลาวางไข่บ่อขนาดเล็กที่สุด มีความกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ลึก 1.50 เมตร ถ้าอยู่ติดกับแม่น้ำลําคลอง ซึ่งมีทางระบายถ่ายเทนํ้าได้สะดวกนับว่าเป็นทําเลดี โดยมีวิธีการเตรียมบ่อ ดังนี้

  1. การใส่ปูนขาว บ่อที่ขุดใหม่โดยทั่วไปแล้ว ดินมักจะมีสภาพเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อ 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร เพื่อแก่ความเป็นกรดของดินให้เจือจางลง นํ้าก็จะเปลี่ยนแปลงสภาพไปจากธรรมชาติ คือ รักษาความเป็นกลางหรือเป็นด่างเล็กน้อยไว้ได้ ซึ่ง เป็นนํ้าที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะใช้เลี้ยงปลา คือ มีพีเอชอยู่ระหว่าง 6-7 การตรวจสอบนํ้าจะชิมหรือตรวจด้วยกระดาษลิตมัส
  2. การกําจัดสิ่งรกถ้าเป็นบ่อเก่าที่ไม่เคยใช้เลี้ยงปลา ควรกําจัดวัชพืชต่างๆ ที่รกรุกรังในบ่อปลาให้หมด หากบ่อตื้นเขินไม่เหมาะแก่การเลี้ยงปลาควรสูบนํ้าออกลอกเลนและตกแต่งพื้น บ่อให้มั่นคงแข็งแรง แล้วตากบ่อให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อให้แสงแดดช่วยฆ่าและกําจัดเชื้อโรคต่างๆ

สําหรับบ่อเก่าที่ไม่จําเป็นจะต้องลอกเลน หลังจากได้กําจัดสิ่งรกต่างๆ ในบ่อหมดสิ้นแล้ว ถ้ามีนํ้าอย่างพอเพียงก็สามารถใช้เลี้ยงปลาได้แต่ก่อนจะปล่อยพันธุ์ปลาลงเลี้ยง ควรใช้โลติ๊นฆ่าศัตรูต่างๆ ของปลาในบ่อให้หมดสิ้นเสียก่อน โดยใช้โล่ติ๊นสดหนัก 1 กิโลกรัมต่อนํ้า 100 ลูกบาศก์เมตร ทุบโล่ติ๊นให้ละเอียดแช่นํ้าไว้ โล่ติ๊นสดหนัก 3 กิโลกรัม ใช้น้ำประมาณ 2 ปี๊บ ขยําเอานํ้าสีขาวออกหลายๆ ครั้งจนหมด แล้วนําไปสาดให้ทั่วๆ บ่อปลาต่าง ๆ ที่เป็นศัตรูจะเริ่มตายหลังจากที่ใส่โล่ติ๊นลงไปประมาณ 30 นาที จากนั้นจะตายต่อไปจนหมดบ่อที่ใส่โล่ติ๊นแล้วปล่อยทิ้ง ไว้ประมาณ 7-8 วัน เพื่อให้พิษของโล่ติ๊นสลายตัวหมดเสียก่อน จึงนําพันธุ์ปลาสลิดปล่อยลงเลี้ยงต่อไป

การเตรียมเพาะตะไคร่น้ำ
เนื่องจากตะไคร่น้ำเป็นอาหารจําเป็นสําหรับลูกปลาสลิดขนาดใหญ่ ดังนั้นในขณะที่กำลังตากบ่ออยู่เพื่อมิให้เสียเวลาควรจะเตรียมการเพาะอาหารธรรมชาติสำหรับปลาไปด้วยวิธีการเพาะอาหารธรรมชาติ โดยใช้ปุ๋ยคอกโรยให้ทั่วบ่อ อัตราส่วนปุ๋ยคอก 100 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ไร่ แล้วระบายนํ้าเข้าบ่อให้มีระดับสูงจากพื้นบ่อ 10-20 เซนติเมตร ปล่อยไว้ 7-10 วัน จะเกิดตะไคร่น้ำหรือที่เรียกว่าขี้แดดจากนั้นจึงค่อยระบายนํ้าเข้าบ่อตามระดับที่ต้องถ้าเป็นบ่อใหม่ ภายหลังที่ใส่ปุ๋ยและปล่อยนํ้าเข้าแล้วควรนําเชื้อตะไคร่น้ำที่หาได้จากนํ้าที่มีสีเขียวจัดโดยทั่วไปมาใส่ลงในบ่อเพื่อเร่งให้เกิดตะไคร่น้ำเร็วยิ่งขึ้น

การปลูกพันธุ์ไม้นํ้าในบ่อปลา
เนื่องจากตะไคร่น้ำเป็นอาหารจําเป็นสําหรับลูกปลาสลิดขนาดใหญ่ ดังนั้นในขณะที่กำลังตากบ่ออยู่เพื่อมิให้เสียเวลาควรจะเตรียมการเพาะอาหารธรรมชาติสําหรับปลาไปด้วยบ่อปลาสลิด ควรปลูกพันธุ์ไม้นํ้า เช่น ผักบุ้ง แพงพวย และผักกระเฉด เพื่อให้เหมาะสมกับนิสัยและความเป็นอยู่ของปลาสลิดกล่าวคือ พันธุ์ไม้น้ำแหล่งนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ปลา โดยใช้เป็นอาหารและร่มเงาแล้วยังเป็นที่สําหรับปลาได้วางไข่ในฤดูฝน (ระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม) ปลาจะหาทําเลที่วางไข่ตามที่ตื้นและมีพันธุ์ไม้นํ้าเพื่อก่อหวอดวางไข่กิ่งใบและก้านจะเป็นสิ่งสําคัญในการยึดเหนี่ยวมิให้หลุดพลัดแตกกระจัดกระจายไป และเมื่อไข่ปลาฟักออกเป็นตัวแล้วก็จะเป็นที่ให้ลูกปลาได้อาศัยเลี้ยงตัวกําบังร่มเงาและหลบหลีกศัตรูได้เป็นอย่างดี สําหรับการปลูกพันธุ์ไม้น้ำดังกล่าว ควรจะปลูกตามบริเวณชานบ่อที่มีน้ำตื้นๆ ซึ่งเหมาะสมที่จะเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นที่วางไข่ของปลาสลิดมากกว่าผักที่ขึ้นอยู่กลางบ่อ

การใส่ปุ๋ย
บ่อปลาบางแห่ง ปุ๋ยธรรมชาติในดินไม่เพียงพอที่จะทําให้เกิดจุลินทรีย์ ซึ่ง เป็นสัตว์ที่มีชีวิตเล็กๆ ในนํ้าที่ลูกปลาใช้เป็นอาหารจําเป็นต้องใส่ปุ๋ยคอก ได้แก่ มูลโค มูลกระบือที่ตากแห้งแล้ว โรยปุ๋ยตามริมบ่อในอัตรา10 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 160 ตารางเมตร โดยปกติ ควรใส่ปุ๋ยคอก 2-3 เดือนต่อครั้งการที่จะให้บ่อปลามีอาหารธรรมชาติอยู่เสมอนั้นให้นำปุ๋ยหมักไปกองไว้บริเวณริมบ่อด้านใดด้านหนึ่ง (ปุ๋ยหมักนี้จะใช้หญ้าสดที่ดายทิ้ง กองอัดให้แน่นแล้วใส่ปุ๋ย คอกผสมลงไปด้านใดด้านหนึ่ง (ปุ๋ยหมักนี้จะใช้หญ้าสดที่ดายทิ้งกองอัดให้แน่นแล้วใส่ปุ๋ยคอกผสมลงไปด้วย เพื่อให้หญ้าสดสลายตัวเร็วขึ้นจะช่วยเร่งให้เกิดจุลินทรีย์และไรนํ้าต่างๆ เพื่อใช้เป็นอาหารของปลาสลิดต่อไป

สําหรับการใส่ปุ๋ยต้องระวัง อย่าใส่มากเกินกว่าที่กําหนดไว้ เพราะอาจจะเกิดนํ้าเขียวจัดหรือนํ้า เสีย ถ้าเป็นช่วงที่ฟ้าครึ้ม ไม่มีแดดติดต่อกันหลายวันหรือมีการฟันหญ้าเพิ่มด้วย ทั้งนี้ให้หมั่นตรวจดูสีน้ำ ซึ่งมีกรรมวิธีทดสอบง่ายๆ คือ ถ้าใช้มือกำแล้วหย่อนลงไปในนํ้าระดับข้อศอก แล้วมองไม่เห็นกํามือควรรีบเติมน้ำเข้าหรือสูบน้ำในบ่อพ่นไปในอากาศหากลูกปลายังมีขนาดเล็ก ต้องป้องกันมิให้ลูกปลาเข้าปลายท่อสูบนํ้า วิธีนี้เป็นการเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ในนํ้า

ตารางใส่ปุ๋ย
ตารางใส่ปุ๋ยในแปลงเพาะพันธุ์

การปล่อยปลาสลิดลงเลี้ยง
เวลาที่เหมาะสมสําหรับการปล่อยปลาก็ คือ เวลาเช้าตรู่หรือเวลาเย็น เพราะเวลาดังกล่าวนํ้าในบ่อไม่ร้อนจัดปลาที่ปล่อยลงไปจะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้และไม่ตายง่าย อัตราส่วนของปลาที่ปล่อยลงเลีี้ยงประมาณ 5-10 ตัว ต่อเนื้อที่ผิวน้ำ 1 ตารางเมตร เป็นอย่างมาก

การให้อาหาร

อาหารที่ปลาสลิดชอบกิน คือ ตะไคร่น้ำ รําละเอียด หรือปลายข้าวต้ม ปนกับผักบุ้งที่หั่นแล้ว แหนสดและปลวกอาหารของลูกปลาวัยอ่อนซึ่งมีอายุ 7-12 วัน ให้ตะไคร่น้ำและไรนํ้าเป็นอาหาร เมื่อลูกปลามีอายุ 21วัน -1 เดือน ให้รําข้าวละเอียดต้มปนกับผักบุ้งที่หั่นละเอียด แหนสด และปลวกบ้าง (ผัก 1 ส่วน รํา 2 ส่วน) ทั้งนี้ต้มผักให้เปื่อยเสียก่อน แล้วจึงเอารําลงไปเคล้าปั้นนเป็นก้อนให้กินเพียงวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้าระหว่าง 7.00-8.00 น. และเย็น ประมาณ 3-5% โดยใสอาหารบนแป็นซึ่งอยู่ใต้ระดับนํ้า 1 คืบ อย่าให้อาหารเหลือข้ามวัน จะทําให้น้ำเน่าเสียได้ ควรดีดนํ้าให้เป็นสัญญาณ ปลาจะได้เคยชินและเชื่องด้วย

การเพิ่มอาหารธรรมชาติโดยการใส่ปุ๋ยได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้วัว ปุ๋ยขี้ไก่ ฯลฯ ต้องใส่ปุ๋ยก่อน ปล่อยปลาอย่างน้อย 3 วัน ในอัตรา 2 ปี๊บต่อไร่ต่อ 7 วัน โดยตัดหญ้าบนแปลงในระดับยอดหญ้าที่โผล่พ่นนํ้า แล้วทิ้งกระจายไว้บนแปลงนาตัดเพียงครึ่งหนึ่งของแปลง ครบ 15 วัน ตัดอีกครึ่งหนึ่งสลับไปมาและรักษาระดับนํ้าให้ท่วมหญ้าบนนาประมาณครึ่งเข้าตลอดเวลาหลังจากใส่ปุ๋ยคอก 4-5 ครั้งแล้วตัดหญ้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ถ้านํ้าในแปลงมีสีใสมาก ให้ใส่ปุ๋ยคอกต่อปลาขนาด 5 เซนติเมตร ใช้เวลาเพียง 7-8 เดือน ถ้าปลาขนาด 10 เซนติเมตร ใช้เวลาเลี้ยง 5-6 เดือน ส่วนการเลี้ยงลูกปลาจากพ่อแม่ปลาจะใช้เวลา 10-11 เดือน จับขายได้

สูตรอาหาร
สูตรอาหารพ่อแม่ปลาสลิด

หมายเหตุ ถ้าใช้แป้งจะได้อาหารในลักษณะเป็นผง แต่ถ้าใช้ปลายข้าวต้ม ก็จะได้อาหารเปียกต้องตากแดดจึงจะเก็บไว้ได้นานหากไม่ต้องการใช้แป้งหรือปลายข้าวให้เพิ่มรําเป็น 26 กิโลกรัม

การจับปลาสลิด

เมื่อมีความต้องการจะจับลูกปลาสลิดวัยอ่อนไปแยกเลี้ยง ควรใช้กระชอนผ้าช้อนตัก และใช้ขันหรือถังตักลูกปลาทั้งนํ้าและตัวปลาเพื่อมิให้ปลาชํ้า ถ้าเป็นปลาที่โตแล้วโดยสวิงตาถี่ช้อน แล้วใช้ขันตักขึ้นจากสวิงอีกชั้นหนึ่ง หรือลดระดับนํ้าลงทีละน้อยเพื่อให้ปลารู้สึกตัว และหนีลงไปอยู่ในคูโดยเดินตรวจบนแปลงนาว่าไม่มีปลาค้างบนแปลงนาเอาอวนเปลวางไว้ในคูตรงจุดที่ ลึกที่สุด สูบนํ้าออกจากคูทีละน้อย ปลาจะหนีลงไปอยู่ในคูและในอวนจึงรวบหูอวนขึ้น ปลาจะติดอยู่ในอวน

ในกรณีที่ต้องการจับปลาเพื่อใช้ประกอบอาหารประจําวัน ควรใช้ลอบยืนวางไว้ตามมุมบ่อ ถ้าใช้แหทอดหรือสวิงตักที่แป้นอาหารปลาจะเข็ดไม่มากินอาหารหลายวัน

ระยะเวลาที่ควรจับปลาให้หมดทั้งบ่อเพื่อจําหน่าย คือ เดือนมีนาคม เพราะเป็นฤดูที่ปลาไม่วางไข่ โดยใช้เฝือกล้อมและสวิงตักออกจากเฝือกที่ล้อมนั้นแล้วคัดปลาเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงรุ่นต่อไป โดยใช้สูตรอาหาร สปช. 12 วันละ 2% ของนํ้าหนักปลาเป็นเวลาอย่างน้อย 1เดือน ก่อนเพาะฟักวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น

การจับปลา
การจับปลา ควรใช้เฝือกล้อมและสวิงตักออก

การลำเลียง

  1. ก่อนการลําเลียง ควรพักปลาไว้ในที่กว้าง เช่น พักในถัง ขนาดใหญ่ และไม่ต้องให้อาหาร
  2. ใช้ภาชนะปากกว้าง เช่น ปี๊บหรือถัง บรรจุน้ำ 3 ใน 4 ของภาชนะบรรจุ ปลาขนาดใหญ่ในอัตราปี๊บละ 4 ตัว หรือขนาดกลาง 80 ตัว ถ้าเป็นลูกปลาขนาดเล็กก็เพิ่มจํานวนได้มากขึ้นตาม ความเหมาะสม 
  3. ลอยผักบุ้งในภาชนะที่ใช้ลําเลียง และควรมีฝาทีมีช่องตาโปร่ง หรือตาข่ายคลุมภาชนะไม่ให้ปลากระโดดออก
  4. ระหว่างเดินทางพยายามเปลี่ยนนํ้าทุก 12 ชั่วโมง โดยระวังอย่าให้ปลาบอบชํ้า
  5. ให้ภาชนะที่บรรจุปลาอยู่ในร่มเย็นเสมอ
  6. ภาชนะลําเลียงปลา ควรตั้งให้สนิทอย่าให้โคลงเคลง เพราะอาจทําให้ปลาเมานํ้าได้
  7. เมื่อถึงปลายทาง ต้องรีบย้ายปลาไปอยู่ในภาชนะที่กว้างใหญ่แต่ถ่ายเทนํ้าใหม่ หรืออาจ ปล่อยลงบ่อเลี้ยงเลยก็ได้

การป้องกันและกำจัดศัตรู

ศัตรูของปลาสลิด มีหลายประเภท ดังนี้คือ

  1. สัตว์ดูด นม เช่น นาก
  2. นกกินปลาย เช่น นกกระเต็น นกยาง นกกานํ้า และเหยี่ยว 
  3. สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู เต่า ตะพาบนํ้า ฯลฯ
  4. กบ เขียด 
  5. ปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาไหล จะกินปลาสลิดขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ส่วนปลากริม ปลากัด ปลาหัวตะกั่ว ปลาหมอ มวนวน แมงดาสวน จะกินไข่ปลาสลิดและลูกปลาในวัยอ่อน

ตามธรรมชาติของปลาสลิดย่อมจะรู้จักหลบหลีกศัตรูได้ดี แต่เมื่อนํามาเลี้งงไว้ในบ่อ ปลาสลิด ยากที่จะหาทางหลบหลีกศัตรูได้ จึงจําเป็นจะต้องช่วยโดยการป้องกันและกําจัด

การป้องกันและกําจัดพวกสัตว์ดูด นม สัตว์เลื้อยคลาน โดยทํารั้วล้อมรอบก็เป็นการป้องกันได้ดี ส่วนสัตว์จําพวกนกต้องทําเพิงคลุมแป้นอาหาร เพื่อป้องกันนกโฉบปลาในขณะที่ปลากินอาหารอยู่เป็นกลุ่ม สําหรับปลากินเนื้อชนิดต่างๆ นั้นต้องระวังผักที่จะเก็บลงมาปลูกในบ่อ เพราะอาจจะมีไขปลาติดมาด้วย โดยเฉพาะท่อระบายนํ้าเข้าต้องพยายามใช้ลวดตาข่ายที่มีช่องตาขนาดเล็กกรองนํ้าที่จะผ่านลงในบ่อ และหมั่นตรวจตะแกรงถ้าชํารุดควรรีบเปลี่ยนใหม่

อนึ่ง การล้อมรอบคันบ่อใช้ตาข่ายไนล่อนให้สูง จากพื้นดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร ส่วนล่าง ของตาข่ายให้ฝั่งดินลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ถ้าเป็นที่ลุ่มควรต่อตาข่ายไนลอน 2 ผืน หรือเสริมเฝือกสูงประมาณ 2 เมตร พร้อมทั้ง หมั่นตรวจสอบ หากชํารุดต้องรีบซ่อมแซม

การคำนวณหาจำนวนพ่อแม่พันธุ์

การคำนวณหาจำนวนพ่อแม่พันธุ์
การคำนวณหาจำนวนพ่อแม่พันธุ์

แนวโน้มในอนาคต

ปลาสลิดมีแนวโน้มด้านการตลาดในอนาคตแจ่มใส เพราะปลาสลิดเป็นผลผลิตที่ตลอดต้องการสูง สามารถนํามาประกอบอาหารทั้งในรูปสดและทําเค็ม ตากแห้ง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ปลาสลิดตากแห้งเป็นที่นิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้ส่งเป็นสินค้าออกของประเทศอีกชนิดหนึ่งดังนั้น หากมีพื้นที่ที่เหมาะสมและทําการปรับปรุง เพื่อการเลี้ยงปลาสลิดจะช่วยเพิ่มปริมาณอาหารโปรตีน และเสริมรายได้ให้แก่ครอบครัวเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

การแปรรูปปลาสลิด

ราคาขายปลาสลิด

ราคาขาย ณ วันที่  15 เมษายน 2565 

  • ปลาสลิดตากแห้ง (ใหญ่สวย) ราคากิโลกรัมละ 150 บาท

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www4.fisheries.go.th
https://th.wikipedia.org
https://www.simummuangmarket.com
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment