การใช้สมุนไพรในการเลี้ยงสุกร ทดแทนสารเคมีและยาปฏิชีวนะ เพื่อให้สุกรแข็งแรงและไม่เป็นโรค

สมุนไพรในการเลี้ยงสุกร

ปัจจุบันการเลี้ยงสุกรในเชิงพาณิชย์มักนิยมใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะเพื่อให้สุกรแข็งแรงและไม่เป็นโรค หากเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรพบว่ามีสารเคมีและยาปฏิชีวนะตัวไหนที่มีสรรพคุณดีก็จะแสวงหามาใช้ในฟาร์มอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่การใช้ยามักจะใช้เกินความจำเป็น (Over dose) ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการทำลายความสมดุลของจุลชีพต่างๆที่มีประโยชน์ในธรรมชาติ และก่อให้เกิดการดื้อยาของจุลชีพ การกลายพันธุ์ของเชื้อส่งผลให้โรคระบาดมีความรุนแรงมากขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายครั้งใหญ่ในการเลี้ยงสุกร สารเคมีและยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการเลี้ยงสุกรของประเทศไทยมาจากการนำเข้าทั้งหมด ทำให้เงินตราไหลออกและเสียดุลการค้าเป็นจำนวนเงินมหาศาล สารเคมีที่ใช้อยู่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของสิ่งแวดล้อม และสารเคมีหรือสารพิษที่เกิดขึ้นจะตกค้างในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์

ในอุตสาหกรรมการผลิตสุกร จึงต้องหาแนวทางแก้ไขโดยหาสิ่งที่ทดแทนสารเคมีและยาปฏิชีวนะต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งคาดว่าสักวันหนึ่ง ถ้าประเทศไทยมีเนื้อสุกรที่ปลอดภัย และปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยประเทศไทยอาจเป็นผู้ผลิตสุกรเพื่อการส่งออกเนื้อสุกรไปต่างประเทศได้ด้วยประเทศไทยมีพืชที่มีสรรพคุณทางเภสัชกรรมที่เรียกว่าสมุนไพรมาก สมุนไพรจึงเป็นทางเลือกที่ควรนำมาพัฒนาเพื่อใช้ในการเลี้ยงสุกร ซึ่งนอกจากจะเป็นการพึ่งตนเองจากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศแล้ว ยังทดแทนการใช้สารเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศอีกด้วย ช่วยให้สารตกค้างที่ทำให้เกิดความเป็นพิษในเนื้อและผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรหมดไป เพิ่มความมั่นใจและสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค และที่สำคัญที่สุดเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนในการผลิตสุกรลดลงในสภาวะที่ปัจจัยการผลิตสุกรมีราคาสูงเช่นปัจจุบันการใช้สมุนไพรในการเลี้ยงสุกรเพื่อผลิตเนื้อสุกรอินทรีย์กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ทำให้สุกรมีมูลค่ามากขึ้น

การเลี้ยงสุกร
การใช้สมุนไพรเลี้ยงสุกร

การใช้สมุนไพรในฟาร์มสุกร

มีข้อดีหลายประการคือ

  1. สมุนไพรทุกชนิดมีแหล่งกำเนิดในประเทศไทย หาได้ตามธรรมชาติ หรือปลูกไว้ใช้เองราคาถูกกว่าสารเคมี เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในการผลิตสุกรได้
  2. สมุนไพรบางชนิดมีการวิจัยมาเป็นเวลานาน ผลการวิจัยตีพิมพ์ทางวิชาการยืนยันว่ามีความปลอดภัยในการใช้ในมนุษย์และสัตว์ ทำให้มั่นใจได้ในการใช้
  3. สมุนไพรส่วนใหญ่ มีคุณสมบัติในการปรับเปลี่ยนทางกายภาพที่ก่อให้เกิดความสมดุลและมีคุณสมบัติทางเคมีที่ปลอดภัยเหมาะสมต่อการใช้ในร่างกายสัตว์

การเกิดโรคในสุกรในฟาร์ม

เกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ

  1. เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากการขาดการจัดการฟาร์มที่ดีและสุกรได้รับอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ
  2. สุกรเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากจุลชีพได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสเชื้อรา และโปรโตซัว จึงมีการใช้ยาปฏิชีวนะยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ เพนนิซิลิน (Penicillins) สเตรปโตมัยซิน(streptomycin) แอมพิซิลิน (Ampicillin) กาน่ามัยซิน (Kanamycin) เทตร้าไซคลีน (Tetracycline)อ็อกซี่เทตร้าไซคลิน(Oxytetracycline) นีโอมัยซิน (neomycin) เป็นต้น ยาเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการเลี้ยงสุกรเพื่อแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยดังกล่าว แต่เกษตรกรที่ใช้ยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำให้มียาปฏิชีวนะที่ตกค้างในซากของสุกรซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค การใช้สมุนไพรสามารถลดปัญหาดังกล่าวได้

คุณสมบัติของสมุนไพร

  • สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของสัตว์คล้ายฮอร์โมนลดการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์
  • ออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียคล้ายยาปฏิชีวนะ
  • สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ได้
  • ก าจัดสารอนุมูลอิสระส่งเสริมสุขภาพของสัตว์
  • ลดความเครียด
  • ลดไขมันของซากสัตว์

สมุนไพรที่ใช้ในการผลิตสุกรเพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะ

  1. ฟ้าทะลายโจร ชื่อวิทยาศาสตร์ : (Andrographis paniculata (Burm. F) Wall. ex Nees)
    ข้อมูลทั่วไป ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชล้มลุก ลักษณะล าต้นเป็นสี่เหลี่ยม ลำต้นและใบบริเวณเหนือดินของต้นฟ้าทะลายโจร มีสาระส าคัญในกลุ่มฟาวานอยด์ที่สามารถนำมาใช้เป็นยา นอกจากนี้ยังมีสารจ าพวกไดเทอร์ปีนแลคโตน  (diterpene lactones) หลายชนิดซึ่งเป็นสารที่ให้รสขม ได้แก่แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) นีโอแอนโดกราโฟไลด์ (neoandrographolide) ดีออกซีแอนโดกราโฟไลด์ (deoxyandrographolide) ดีออกซีไดดีไฮโดรแอนโดร-กราโฟไลด์ (deoxy-didehydroandrographolide) ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะ ได้มีการทดสอบความเป็นพิษแล้ว พบว่าฟ้าทะลายโจรมีความปลอดภัยในการเลี้ยงสุกร ไม่มีสารพิษตกค้างในตัวสัตว์ในระยะยาว การใช้ฟ้าทะลายโจรยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคต่างๆในสัตว์ สามารถใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะได้เป็นอย่างดี เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งมีรสขมสามารถให้สุกรกินได้อย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สุกรโดยไม่มีสารพิษตกค้างสรรพคุณ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดไข้ ฆ่าเชื้อจุลชีพและไวรัสได้ดี แก้ไข้หวัด รักษาโรคบิดท้องร่วงและโรคท้องเสียชนิดเฉียบพลันวิธีใช้ ส่วนที่ใช้ ส่วนเหนือดิน หรือ ใบ ใช้ในรูปแบบผง ผสมในอัตรา 1-2กรัม ต่ออาหาร1กิโลกรัมในอาหารสุกร
ฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจร ใบเกลี้ยง แคบ โคนและปลายใบแหลม
  1. เปลือกมังคุด ชื่อวิทยาศาสตร์ : (Garcinia mangostana Linn.)
    ข้อมูลทั่วไป เปลือกผลมังคุดสีม่วงนั้น มีสารสำคัญ คือแทนนิน (tannin) มีรสฝาด มีฤทธิ์สมานแผลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและแซนโทน (xanthone) มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) บางครั้งก็เรียกสารสองตัวนี้รวมกันว่าเป็นสาร แมงโกสติน (mangostin) มีงานวิจัยตีพิมพ์มากมายที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของสารในกลุ่มแซนโทนที่มีในเปลือกมังคุด นอกจากนี้แซนโทนยังเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพทั้งชนิดแกรมบวกและแกรมลบ รวมทั้งเชื้อราได้ดีและยังสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสได้ดีกว่ายาในกลุ่มยาปฏิชีวนะบางชนิดที่ไม่สามารถจะออกฤทธิ์ไปครอบคลุมได้สรรพคุณ เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อไวรัส ต้านการเกิดมะเร็งต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียชนิดเฉียบพลัน นอกจากนี้ยังยับยั้งและท าลายเชื้อแบคทีเรีย และลดการอักเสบที่ผิวหนังวิธีใช้ ส่วนที่ใช้ คือ ส่วนเปลือกสีม่วงที่ตากแห้งบดละเอียดรูปแบบผง ให้สัตว์กินในปริมาณ 750-1000 มิลลิกรัม
ผลมังคุด
ผลมังคุด ผิวผลแข็ง ผลแก่สุกจะเป็นผลสีม่วงดำ

สมุนไพรที่ใช้ในการผลิตสุกรเพื่อทดแทนการใช้ยาใส่แผล

ยาเคมีที่ใช้กันมากในสุกรเมื่อสุกรเกิดอาการบาดเจ็บคือยาใส่แผล ยาที่ใช้ใส่แผลสดและแผลเรื้อรัง เช่นทิงเจอร์ไอโอดีน (tincture iodine) เจนเชียนไวโอเลต (Gentian violet) ซัลฟานิลาไมด์ (Sulfanilamide) เนกาซันท์ (negasunt) ขี้ผึ้งกำมะถัน (Sulphur) และแอลกอฮอล์ (alcohol) เป็นต้น สารเคมีดังกล่าวล้วนต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากและส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสุกรด้วย ผู้เขียนจะขอแนะน าสมุนไพรที่สามารถใช้ใส่บาดแผลสัตว์ได้โดยตรงและมีความปลอดภัย

  • เทียนกิ่งหรือเฮนน่า ชื่อวิทยาศาสตร์: (Lawsonia inermis L.)
    ข้อมูลทั่วไป ใบเทียนกิ่งมีสารประกอบส าคัญในกลุ่มnaphthoquinone ที่เรียกว่า ลอร์โซน (Lawsone) หรือ 2-hydroxy-1, 4-naphthoquinone เป็นองค์ประกอบในปริมาณ 2-4 เปอร์เซ็นต์ มีสมบัติในการต้านจุลชีพและเชื้อราได้มากมาย อาทิเช่น Micrococcus pyogenes var. aureus, Staphylococcus, Salmonella, Stereptococcus, Escherichia coli, Brucella แต่ไม่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ Candida albicans และ Pseudomonasaerugingosa. และสารในกลุ่มอื่นเช่น แซนโทน และแทนนิน ที่อยู่ในใบเทียนกิ่งมีคุณสมบัติในการสมานบาดแผลทั้งแผลสดและแผลเปื่อยสรรพคุณ ถอนพิษปวดแสบปวดร้อน แก้ท้องร่วง ใช้พอกแผลสด ห้ามเลือด สมานแผล แผลมีหนอง ฝี แผลฟกช้ำ ผิวหนังอักเสบ แก้โรคบิด ท้องร่วง

    เทียนกิ่ง
    เทียนกิ่ง ไม้พุ่มแตกกิ่งก้านเล็กเป็นพุ่มกว้าง ใบสีเขียว

สมุนไพรที่ใช้ในการผลิตสุกรเพื่อทดแทนการใช้สารเคมีไล่แมลงและยุง

สารเคมีที่ใช้กำจัดหรือไล่แมลงและยุงสมัยใหม่ มักมีระยะเวลาออกฤทธิ์นาน 8ชั่วโมง แต่เนื่องจากเป็นสารสังเคราะห์ทางเคมีเมื่อใช้เป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดอันตราย ผลการใช้สารเคมีติดต่อเป็นระยะเวลานานยังส่งผลทำให้ยุงลายสร้างความต้านทานขึ้นมา เป็นผลทำให้เมื่อใช้สารเคมีนั้นซ้ำก็ไม่ได้ผลอีกต่อไป ส่งผลต่อปัญหาการควบคุมและการระบาดโรคในฟาร์มที่มีแมลงและยุงเป็นพาหะ ดังนั้นการใช้สารสกัดจากสมุนไพรที่มีสรรพคุณไล่ยุงจึงเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้

  • ตะไคร้หอม ชื่อวิทยาศาสตร์ : (Cymbopogon nardus Rendle.)
    ข้อมูลทั่วไป น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลงได้ มีส่วนประกอบจากน้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ที่ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วยสารเจลานีออล (geraniol)ซิลทราเนลลา (citronellal) ยูเจนอล (eugenol) แคมเฟอร์ (camphor) และเมทิลยูเจนอล (methyleugenol.) น้ำมันหอมระเหยเหล่านี้ยังมีฤทธิ์ต้านจุลชีพได้อีกด้วยสรรพคุณ สามารถใช้ไล่ยุงลายและยุงรำคาญตัวเมียได้ดี ตะไคร้หอมยังมีฤทธิ์ไล่ผีเสื้อกลางคืนและพวกแมลงบินได้ มีความปลอดภัยสูงวิธีใช้ 
    1. ใช้ต้นตะไคร้หอม 6-10 ต้น นำมาทั้งต้นและใบ วางทิ้งไว้ในพื้นฟาร์ม ทำให้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา ยุง แมลงจะหนีหมด
    2. ปลูกต้นตะไคร้หอมไว้ในบริเวณโรงเรือนที่ทำการเลี้ยงสุกร
    3. ทำการสกัดน้ำมันตะไคร้หอมไว้ใช้เอง ทำการฉีดพ่นหรือทาบริเวณผิวหนังสุกรในฟาร์ม
ตะไคร้หอม
ตะไคร้หอม ลำต้นเป็นข้อ ใบรูปขอบขนานปลายแหลม ใบยาว

สมุนไพรที่ใช้ในการผลิตสุกรเพื่อทดแทนการใช้ยากลุ่มฮอร์โมน

การใช้ฮอร์โมนในสัตว์มีจุดประสงค์หลักเพื่อเร่งอัตราการเจริญของสัตว์ ลดปริมาณการกินอาหารสัตว์ลงซึ่งเป็นแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตสุกรได้ จะทำให้สามารถจำหน่ายเนื้อสุกรในราคาที่ถูกลงได้และยังช่วยลดปริมาณไขมันในเนื้อลงทำให้ปริมาณเนื้อแดงเพิ่มขึ้นอีกด้วย ปกติมักนิยมใช้ฮอร์โมนฉีด ฝังหรือผสมกับอาหารสุกรเพื่อทำให้สุกรโตเร็วและมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น 2-3 เท่าแต่การใช้ฮอร์โมนก็มีข้อเสีย คือ ท าให้ขาและข้อของสุกรเสื่อมได้ง่าย มีอาการบาดเจ็บเนื่องจากการรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลต่อสุขภาพของสุกรในระยะยาวด้วยเหมือนกัน ดังนั้นในการใช้ฮอร์โมนจึงต้องมีการควบคุมปริมาณและการใช้ให้ถูกวิธี ซึ่งองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุญาตให้ใช้ฮอร์โมนจากเคมีสังเคราะห์ในการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ เอสตราไดออล (estradiol) โปรเจสเตอโรน (progesterone) เซอรานอล (zeranol) เทรนโบโลนอะซีเตต (trenbolone acetate) การใช้สมุนไพรในการเลี้ยงสุกรและเทสโทสเตอโรน (testosterone) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะถูกใช้กับสัตว์โดยผ่านทางการกิน ฉีดหรือ 29ฝังใต้ผิวหนังสัตว์ซึ่งทุกรูปแบบล้วนมีโอกาสตกค้างในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์สูงเกิดเป็นสารก่อมะเร็งได้ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม

  • กวาวเครือขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pueraria candollei Grah. ex Benth var mirifica (Shaw &Suvat.) Niyomdham
    ข้อมูลทั่วไป กวาวเครือขาวจัดเป็นพืชสมุนไพรในตระกูลถั่วที่ประกอบด้วยสารธรรมชาติที่ออกฤทธิ์สำคัญคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง (phytoestrogens) ได้แก่ miroestrol และdeoxymiroestrol กลุ่มไอโซฟลาโวนอยด์ (isoflavones) ได้แก่ ดาอิเซอีน (daidzein),เจนิสเตอีน (genistein), ไดอะซีน (daidzin),เจนิสเตอีน (genistin), พูราลีน (puerarin), มิริฟิกา (mirificin), และ กวาคูริน (kwakhurin) สารกลุ่มโคมีน(chromene) ได้แก่ ไมโรเอสตรอล (miroestrol) เป็นสารมีฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน สารกลุ่มคูมารินส์ (coumarins) ได้แก่ คูเมสตรอล (coumestrol) มิริฟิคูเมสแทน (mirificoumestan) มิริฟิคูเมสแทนไกลคอล(mirificoumestan glycol) และ มิริฟิคูเมสแทนไฮเดรต (mirificoumestanhydrate) สารกลุ่มสเตอรอยด์ (steroids) ที่พบ ได้แก่บีตาซิโตสเตอรอล (b-sitosterol) สติกมาสเตอรอล(stigmasterol) และ พูราเรียมิริฟิกาสเตอรอล (pueraria mirifica sterol) ผลการวิจัยพบว่าถ้านำกวาวเครือขาวมาใช้ในระดับที่เหมาะสมสารต่างๆ ในกวาวเครือขาวจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต กล่าวคือฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยกระตุ้นการสร้างโปรตีนทำให้สุกรผลิตเนื้อแดงได้้มากขึ้น การใช้กวาวเครือช่วยทดแทนการใช้ฮอร์โมนจากเคมีสังเคราะห์และสารเคมีอื่นๆ เป็นการลดผลกระทบอันตรายให้ผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อมสรรพคุณ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสัตว์ให้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการเป็นสัดในสุกรตัวเมียให้เป็นปกติและสามารถผสมพันธุ์ให้ลูกได้วิธีใช้ ใช้ผงกวาวเครือขาวที่มีสารคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่น้อยกว่า 65ไมโครกรัม ต่อผงกวาวเครือขาว 100มิลลิกรัม ในอัตรา 400 ppm. ในสุกรระยะอนุบาล และ 200 ppm. ในสุกรระยะรุ่น-ขุน ซึ่งจะไม่พบการตกค้างของฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อสุกร
ผลด้านในกวาวเครือขาว
ผลด้านในกวาวเครือขาว เนื้อด้านในสีขาว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.wdoae.doae.go.th
https://www.flickr.com

Add a Comment