ลิ้นกระบือ มีแผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีม่วงแดงหรือม่วงน้ำตาล

ลิ้นกระบือ

ชื่ออื่นๆ : กำลังกระบือ, ลิ้นกระบือ (ภาคกลาง) ใบท้องแดง (จันทบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กระบือเจ็ดตัว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Excoecaria cochinchinensis Lour. var.cochinchinensis

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะของลิ้นกระบือ

ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงได้ถึง 1.5 ม.  ลำต้นตั้งตรงเองได้ เปลือกลำต้นสีเขียวอมเหลือง ผิวเรียบ ไม่มียาง แตกกิ่งก้านสาขามาก

ใบ  ใบเดี่ยว มีทั้งเรียงตรงข้ามและเรียงสลับ รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 4-12 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีม่วงแดงหรือม่วงน้ำตาล เส้นแขนงใบข้างละ 7-12 เส้น ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม.

ดอก  ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกตามง่ามใบ ข้างใบ หรือปลายยอด ยาว 1-2 ซม. ช่อดอกเพศผู้มีดอกเล็กๆ จำนวนมาก โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยง 3 กลีบ เล็กมาก เกสรเพศผู้เล็กมาก มี 3 อัน ช่อดอกเพศเมียสั้นกว่าช่อดอกเพศผู้และมีดอกเล็กๆ 3-6 ดอก ก้านดอกยาว 2-5 มม. โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ และมีต่อมเล็กๆ สีเหลือง กลีบเลี้ยงเล็ก มี 3 กลีบ รูปไข่ รังไข่เล็ก สีเขียวอมชมพู มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 3 อัน

ผล  ผลเล็ก ค่อนข้างกลม มี 3 พู

ต้นลิ้นกระบือ
ต้นลิ้นกระบือ ลำต้นตั้งตรงเองได้ เปลือกลำต้นสีเขียวอมเหลือง ผิวเรียบ

การขยายพันธุ์ของลิ้นกระบือ

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักลิ้นกระบือต้องการ

ประโยชน์ของลิ้นกระบือ

สรรพคุณทางยาของลิ้นกระบือ

  • ใบ – ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด เป็นยาขับเลือดเน่าสำหรับสตรีในเรือนไฟ
  • ยางจากต้น – เป็นพิษ ใช้เบื่อปลา

วิธีใช้ : นำใบมาตำกับสุรา คั้นเอาน้ำรับประทาน

ใบลิ้นกระบือ
ใบลิ้นกระบือ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีม่วงแดงหรือม่วงน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของลิ้นกระบือ

การแปรรูปของลิ้นกระบือ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11656&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment