กำลังควายถึก ยอด ใบอ่อน มีรสมัน เจือฝาดและเปรี้ยวเล็กน้อย กินเป็นผักเหนาะ

กำลังควายถึก

ชื่ออื่นๆ : ก้ามกุ้ง (อุตรดิตถ์), กำลังควายถึก (นครศรีธรรมราช), เขืองปล้องสั้น (นครราชสีมา), เครือเดา เดาน้ำ สะเดา (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Smilax perfoliata Lour.

ชื่อวงศ์ : SMILACACEAE

ลักษณะของกำลังควายถึก

ต้น  ไม้เถา เถากลม หรือเป็นเหลี่ยมมนเกลี้ยง หรือมีหนามโค้งประปราย

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่แกมรี ปลายแหลม โคนมนหรือค่อนข้างแหลม มีบ้างที่โคนใบเว้าตื้นๆ แผ่นใบหนา ก้านใบตอนโคนแผ่ออกเป็นกาบ โคนกาบรูปหัวใจเว้าลึกโอบรอบลำต้น ปลายแหลม มีมือพัน

ดอก  ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกตามโคนหรือตอนกลางกิ่ง เป็นช่อกระจะรวมที่มีช่อย่อยๆ แบบช่อซี่ร่ม ส่วนมากมีช่อซี่ร่ม 1-3 ช่อ ในช่อดอกเพศผู้ ที่โคนของแกนช่อดอกมีใบประดับย่อย รูปไข่ปลายแหลม ก้านช่อดอกแข็ง ช่อซี่ร่ม มีดอกย่อย 20-70 ดอก วงกลีบรวม 6 กลีบ แยกจากกัน เรียงเป็น 2 วง ดอกเพศผู้เมื่อดอกบานกลีบโค้งลง กลีบรวมวงนอกรูปขอบขนาน ปลายมน กลีบรวมวงในแคบกว่าเกสรเพศผู้ 6 อัน ดอกเพศเมียกลีบรวมรูปไข่แกมรูปใบหอก เมื่อดอกบานกลีบกางตรง กลีบรวมวงในแคบกว่า รังไข่รูปรี อยู่เหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียมี 3 แฉก มีเกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์รูปคล้ายเข็ม 3 อัน

ผล  ผลเนื้อนุ่ม รูปกลม  เมล็ดสีแดงเข้ม รูปไข่กลับเกือบกลม

กำลังควายถึก
กำลังควายถึก ไม้เถา แผ่นใบหนา ปลายแหลม

การขยายพันธุ์ของกำลังควายถึก

เถาติดราก

ธาตุอาหารหลักที่กำลังควายถึกต้องการ

ประโยชน์ของกำลังควายถึก

ยอด ใบอ่อน มีรสมัน เจือฝาดและเปรี้ยวเล็กน้อย กินเป็นผักเหนาะ และแกงเลียง ผลเป็นผักเหนาะหรือใช้แกงส้ม

สรรพคุณทางยาของกำลังควายถึก

  • ใช้น้ำจากยอดที่หักหยดลงบริเวณที่เป็นหูด ทำประมาณ 7 วันจะหาย
  • เปลือก เป็นยาบำรุงโลหิต ทำให้ธาตุนสมบูรณ์ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย และบำรุงกำลัง
ผลกำลังควายถึก
ผลกำลังควายถึก ผลเนื้อนุ่ม รูปกลม  เมล็ดสีแดงเข้ม

คุณค่าทางโภชนาการของกำลังควายถึก

การแปรรูปของกำลังควายถึก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11690&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment