กำลังอนุมาน มีประโยชน์ด้านสมุนไพร และมีสรรพคุณทางยา

กำลังอนุมาน

ชื่ออื่นๆ : กำลังหนุมาน (ภาคใต้) กำลังขุนมาน (นครศรีธรรมราช) สะลีกี่บูโต๊ะ (มลายู-นราธิวาส)

ต้นกำเนิด : ไทย-มาเลเซีย

ชื่อสามัญ : กำลังอนุมาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaena conferta Ridl

ชื่อวงศ์ : AGAVACEAE

ลักษณะของกำลังอนุมาน

ต้น  ไม้พุ่ม สูง 2-3 ม.

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปแถบ กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 60-70 ซม. ปลายเรียวแหลม

ดอก  ช่อดอกเป็นช่อโปร่ง ออกตามปลายยอด ช่อแขนงยาวประมาณ 1 ซม. มี 3-4 ดอก ก้านดอกสั้น กลีบรวม 6 กลีบ สีขาว โคนติดกันเป็นรูปทรงกระบอก ปลายแยกเป็นกลีบแคบๆ 6 กลีบ เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดอยู่ที่โคนหลอดดอก อับเรณูติดกับก้านชูอับเรณูตรงกลางทางด้านหลัง แกว่งได้ รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียคล้ายเส้นด้าย ยอดเกสรเพศเมียเป็น

ผล  ผลกลม เมล็ดกลม

กำลังอนุมาน
กำลังอนุมาน ไม้พุ่ม ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ ปลายเรียวแหลม

การขยายพันธุ์ของกำลังอนุมาน

การปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่กำลังอนุมานต้องการ

ประโยชน์ของกำลังอนุมาน

ประโยชน์ด้านสมุนไพร แก้น้ำดีพิการ บำรุงกำลังกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นให้แข็งแรง เป็นยาอายุวัฒนะ  ต้มหรือดองเหล้าเป็นยาบำรุงกำลัง

สรรพคุณทางยาของกำลังอนุมาน

เนื้อไม้และราก รสขมชุ่ม แก้น้ำดีพิการ นอนสะดุ้งผวาหลับๆตื่นๆ ร้อนหน้า น้ำตาไหล บำรุงกำลัง ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเจริญแข็งแรงเป็นยาอายุวัฒนะ

คุณค่าทางโภชนาการของกำลังอนุมาน

การแปรรูปของกำลังอนุมาน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11560&SystemType=BEDO
https://sc.sci.tsu.ac.th

One Comment

Add a Comment