กุ๊ก อ้อยช้าง ไม้ยืนต้น มีสรรพคุณทางยา

กุ๊ก

ชื่ออื่นๆ :  อ้อยช้าง (ภาคกลาง) กอกกั๋น (อุบลราชธานี) กุ้ก (ภาคเหนือ) ตะคร้ำ (ราชบุรี) หวีด (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lannea coromandelica (Houtt.)

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE

ลักษณะของกุ๊ก

ต้น  ไม้ยืนต้นสูง 5-12 เมตร เปลือกนอกสีน้ำตาลปนเทาแตกเป็นสะเก็ดรูปสี่เหลียม

ใบ  ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่เรียงเวียนสลับ มีใบย่อย 5-11 ใบย่อย เรียงตรงข้ามรูปไข่หรือรู้ใบหอกปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือเฉียง ขอบใบเรียบ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 3-8 ซม.

ดอก  ดอกช่อแบบช่อกระจะออกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง มีทั่งดอกสมบูณูเพศและแยกเพศ กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ กลีบดอกมี 4 กลีบ สีเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้เป็นหมันมีขนาดสั้นมาก

ผล  ผลเล็ก สุกสีเหลืองหรือสีแดง

กุ๊ก
กุ๊ก ไม้ยืนต้น ใบประกอบแบบขนนก ผลสีเขียว

การขยายพันธุ์ของกุ๊ก

ใช้เมล็ด/โดยการใช้เมล็ด และการตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่กุ๊กต้องการ

ประโยชน์ของกุ๊ก

สรรพคุณทางยาของกุ๊ก

  • เปลือก ใช้ใส่แผล รักษาอาการปวดฟัน ใช้เป็นยาต้มรักษาธาตุพิการและอ่อนเพลีย ใช้ต้มอาบเมื่อเป็นฝี รักษาโรคเรื้อน และรักษาโรคผิวหนัง หรือใช้เปลือกบดเป็นผงใช้ใส่แผลโรคผิวหนัง น้ำที่ได้จากเปลือกสด ๆ ใช้หยอดตารักษาอาการตาเจ็บ
  • แก่น ใช้ปรุงเป็นยาแต่งรส เพราะมีรสหวาน บรรเทาอาการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ เกิดความชุ่มชื่นในอก

คุณค่าทางโภชนาการของกุ๊ก

การแปรรูปของกุ๊ก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9509&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment